จุดไฟฝัน นศ. 24 มหา'ลัย ค่ายผลิตภาพยนตร์สั้น 'แม่กลองที่รัก' เวทีรุ่นใหม่
สร้างเด็กฟิล์ม จุดไฟฝันนิสิตนักศึกษา 24 มหาวิทยาลัย สถาบัน และวิทยาลัย ค่ายผลิตภาพยนตร์สั้นศิลปะวัฒนธรรม 'แม่กลองที่รัก' เวทีรุ่นใหม่
ความรู้แท้เกิดจากการฝึกปฏิบัติจริง เช่นเดียวกับโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตภาพยนตร์สั้นจากศิลปะและวัฒนธรรมสองฝั่งโขง ครั้งที่ 8 หนังกลางคลอง แม่กลองที่รัก จัดขึ้นที่วัดภุมรินทร์กุฎีทอง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เมื่อช่วงวันที่ 25-30 มิถุนายน 2567 ซึ่งจะกลายเป็นแรงหนุน soft power ของประเทศไทย
ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแม่งานสำคัญ ซึ่งจัดมา 8 ครั้งแล้ว ครั้งนี้ออกจากอีสานและลาว มาบุกเมืองกรุงพื้นที่สมุทรสาครครั้งแรก
จากความร่วมมือจาก สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน และจังหวัดสมุทรสงคราม แม่งานหลักจัดงานขึ้นในครั้งนี้ และภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัย
ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษาในไทย 20 สถาบัน 23 ทีม และจากประเทศ สปป.ลาว 9 ทีม รวมทั้งสิ้น 33 ทีม
1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
4. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
5. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
6. มหาวิทยาลัยนครพนม
7. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
8. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
9. มหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
10. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
11. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
12. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
13. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
14. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
15. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
16. สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
17. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
18. มหาวิทยาลัยทักษิณ
19. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
20. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
21. มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
22. มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์
23. สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งชาติ สปป.ลาว
24. วิทยาลัยสุดสะกะ
25. Filmmaker จาก เวียงจันทน์
26. Filmmaker จาก หลวงพระบาง
27. Filmmaker จาก ปากเซ จำปาสัก
สำหรับ ค่ายผลิตภาพยนตร์สั้นฯนี้มี รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ เป็นประธานค่ายฯ , ผศ.ดร.ปรีชา สาคร และ บัณฑิต ทองดี เป็นรองประธานค่ายฯ
กิจกรรมค่ายหนังสั้นครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้กำกับภาพยนตร์ผู้มากประสบการณ์ที่มีชื่อเสียงทั้งของประเทศไทย และ ประเทศ สปป.ลาว ดังนี้
- ธนิตย์ จิตนุกูล
- ปรัชญา ปิ่นแก้ว
- บัณฑิต ทองดี
- ไพโรจน์ สังวริบุตร
- โกวิฐ วัฒนกุล
- ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล
- วิชิต วัฒนานนท์
- พูมชนะ สิริวงสา
- อานีไซ แก้วลา
- ภานุมาศ ดีสัตถา
- บุญส่ง นาคภู่
- บุญศรี ยินดี
โดยผู้กำกับและนักแสดงได้ให้ความรู้ ถ่ายทอดเทคนิคการกำกับ การแสดง และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นประโยชน์กับน้อง ๆ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนี้
ซึ่งโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตภาพยนตร์สั้นจากศิลปะและวัฒนธรรมสองฝั่งโขง ครั้งที่ 8 ครั้งนี้ จะเป็น “พื้นที่แห่งการเรียนรู้” เพื่อสร้างพลังปัญญาให้เกิดแก่คนรุ่นใหม่ และเป็น “พื้นที่สร้างสรรค์” ที่หลอมรวมผู้คนที่มีใจรักในการผลิตภาพยนตร์สั้น
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ที่วัดภุมรินทร์กุฎีทอง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม การเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตภาพยนตร์สั้นจากศิลปะและวัฒนธรรมสองฝั่งโขง ครั้งที่ 8 นำโดย
- ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
- รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- รนัสถ์ชัย พุ่มเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
- ผู้มีเกียรติทั้งหัวหน้าส่วนราชการ ทั้งภาครัฐและเอกชน
“โครงการนี้ ทำให้เราได้นักแสดงรุ่นใหม่ ผู้กำกับรุ่นใหม่ นักสร้างภาพยนตร์สั้นรุ่นใหม่ และเป็นพื้นฐานในการก้าวเข้าสู่การเป็นกำลังสำคัญด้านภาพยนตร์ของชาติในอนาคต ที่เป็นการสร้างสรรค์ต่อยอดในตลาดอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศ” รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ ระบุ
กิจกรรมการจัดอบรมคลาสการแสดงจาก บุญส่ง ภาคภู่ นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ , ไพโรจน์ สังรริบุตร ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักแสดงภาพยนตร์ , โกวิฐ วัฒนกุล แอดติ้งโค้ช และนักแสดงภาพยนตร์ และบุญศรี ยินดี นักแสดงภาพยนตร์
โดยมีชาวอัมพวามากกว่า 100 คน และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนักเรียน เยาวชน และผู้สูงอายุ ซึ่งการจัดอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อฝึกฝนทักษะและพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านการแสดงให้กับนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจ และจะได้นำมาใช้ประโยชน์ในการแสดงภาพยนตร์สั้น
รวมถึง การอบรมพิเศษในการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เนื้อหาสำคัญการอบรมประกอบด้วย ความหมายความสำคัญของการกำกับภาพยนตร์ การวิเคราะห์และ การตีความบทภาพยนตร์ และการกำกับนักแสดงและตัวละคร โดยวิทยากรผู้กำกับแนวหน้าของประเทศ อย่าง ปรัชญา ปิ่นแก้ว , ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล , วิชิต วัฒนานนท์ และ พูมชะนะ สิริวงสา
ผศ.ดร.ปรีชา สาคร จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอาจารย์ณัฐพงศ์ เขียวศรี จากมหาวิทยาลัยนครพนม นำนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตภาพยนตร์สั้นจากศิลปะและวัฒนธรรมสองฝั่งโขง ครั้งที่ 8 หนังกลางคลอง แม่กลองที่รัก เผยความรู้สึกจากกิจกรรมครั้งนี้ไปในทำนองเดียวกันว่า การออกนอกภูมิภาคครั้งแรก ร่วมกับกว่า 30 มหาวิทยาลัย ทั่วประเทศ และ สปป.ลาว ในฐานะคนทำค่าย การออกนอก เซฟโซนครั้งนี้ถือว่ายาก แต่ก็ผ่านไปได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
ทั้งนี้ บรรดาวิทยากรและอาจารย์มหาวิทยาลัย ยังถือเป็นรวมรุ่นพบปะ ศิษย์เก่าปริญญาโท สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้จำนวนหลายราย