ครอบครัวไทยเพียง 1% เท่านั้น ที่ส่งลูกเรียนโรงเรียนนานาชาติได้
ปัจจุบันมีครอบครัวไทยเพียง 1% เท่านั้น ที่ส่งลูกหลานเรียนต่อในโรงเรียนนานาชาติทั้งในประเทศและต่างประเทศได้เนื่องจากค่าเล่าเรียนที่สูง ซึ่งจัดได้ว่าเป็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจากการเก็บค่าเล่าเรียนสูงของโรงเรียนนานาชาติ
KEY
POINTS
- การลงทุนด้านการศึกษาเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างรากฐานที่ดีให้กับลูกหลานให้เติบโตในภายภาคหน้าอย่างแข็งแกร่งและมั่นคง
- แต่ยังมีผู้ปกครองส่วนหนึ่งมีความพยายามเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตให้กับลูกหลาน ดังนั้นโรงเรียนนานาชาติสองภาษาจึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ด้วยค่าเล่าเรียนที่ย่อมเยากว่าโรงเรียนนานาชาติประมาณ 30 – 50 %
- ล่าสุดกลุ่มโรงเรียน AOI ปรับโครงสร้างธุรกิจการศึกษาเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล และแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ปัจจุบันมีครอบครัวไทยเพียง 1% เท่านั้น ที่ส่งลูกหลานเรียนต่อในโรงเรียนนานาชาติทั้งในประเทศและต่างประเทศได้เนื่องจากค่าเล่าเรียนที่สูง ซึ่งจัดได้ว่าเป็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจากการเก็บค่าเล่าเรียนสูงของโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งผู้ปกครองไทยส่วนใหญ่เอื้อมไม่ถึง แต่ยังมีผู้ปกครองส่วนหนึ่งมีความพยายามเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตให้กับลูกหลาน ดังนั้นโรงเรียนนานาชาติสองภาษาจึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์
ดังนั้นการที่มีโรงเรียนที่มีหลักสูตรอินเตอร์สองภาษา คุณภาพการศึกษามาตรฐานนานาชาติ แต่มีความเหมาะสมสำหรับเด็กไทยและสังคมไทย จึงตอบโจทย์ผู้ปกครองทั่วไปที่พยายามหาสร้างต้นทุนที่ดีให้กับลูกสามารถเข้าถึงได้ ด้วยค่าเล่าเรียนที่ย่อมเยากว่าโรงเรียนนานาชาติประมาณ 30 – 50 % จัดการเรียนการสอนได้ครอบคลุมหลากหลาย ออกแบบตามความต้องการและจุดแข็งเป็นรายบุคคล และมีกระบวนการเตรียมนักเรียนให้สำหรับการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในไทย และทั่วโลกได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปเรียนกวดวิชาและเรียนพิเศษเพิ่มเติมจากภายนอก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ปี67 ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเพิ่ม เช็ก 10 โรงเรียนนานาชาติค่าเทอมแพงสุดในไทย
เหตุใด? เด็กต่างชาติ -เด็กไทย แห่เรียนโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย
ยกระดับการศึกษาไทย เทียบเท่ามาตรฐานสากล
"สถาบันอาทิตย์ อุไรรัตน์" จึงปรับการเรียนการสอนในโรงเรียนทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนนานาชาติบริติช ภูเก็ต (BISP) โดยส่วนใหญ่นักเรียน 80 % จะเป็นชาวต่างชาติจากหลายประเทศ เช่น รัสเซีย อเมริกา อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต (SBS รังสิต), โรงเรียนสาธิตนานาชาติทวิภาษาแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต เชียงใหม่ (SIBS เชียงใหม่)ให้เหมาะสม ตอบสนองความต้องการของนักเรียนในท้องถิ่นนั้น ๆ และอยู่ภายใต้การบริหารของ (Arthit Ourairat Institution)หรือAOI
"อภิรมณ อุไรรัตน์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสถาบันอาทิตย์ อุไรรัตน์(Arthit Ourairat Institute) หรือ AOI เชนโรงเรียนสัญชาติไทยแห่งแรก กล่าวว่าปีนี้กลุ่ม AOI จะปรับโครงสร้างธุรกิจการศึกษาเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี เป้าหมายหลักคือการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล และแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
โดยรวมโรงเรียนต่างๆ มาอยู่ภายใต้องค์กรเดียวกันนี้เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร คณาจารย์ โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นสูงร่วมกัน
เอื้อประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียนทุกคน
ไม่ว่าจะเป็น ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Medical Science Center) ศูนย์นวัตกรรม (Innovation Center) และสิ่งอำนวยความสะดวกทางกีฬาเฉพาะทาง สิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมประสบการณ์การศึกษา และเป็นการสร้างเครือข่าย เชื่อมความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
โดยนักเรียนทั้ง 3,000 พันคน จากโรงเรียนทั้งหมด จะสามารถเลือกเรียนวิชาเดียวกันในต่างพื้นที่ได้โดยปีการศึกษา 2568 โรงเรียนสาธิตเอสบีเอส กรุงเทพ (SBS กรุงเทพ) ที่ลาดกระบังบนพื้นที่ 10 ไร่ จะเปิดรับนักเรียน 800 คน เนื่องจากเมืองมีการขยายตัว มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ยังโรงเรียนนานาชาติสองภาษา
ทั้งนี้ การลงทุนด้านการศึกษาเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างรากฐานที่ดีให้กับลูกหลานให้เติบโตในภายภาคหน้าอย่างแข็งแกร่งและมั่นคง สามารถแข่งขันได้และอยู่รอดได้ท่ามกลางความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์และภาวะเศรษฐกิจที่โตต่ำ เยาวชนไทยจำเป็นต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงมาตรฐานนานาชาติ ทักษะภาษาและการสื่อสารมีความจำเป็นตามสภาพแวดล้อมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม: สถาบันอาทิตย์ อุไรรัตน์