'มหิดล' ทรานส์ฟอร์มรับมือ 6 Mega Trend ยกระดับคุณภาพชีวิต

ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวน 83 แห่ง และมีนักศึกษาระดับปริญญาตรีมากกว่า 1.7 ล้านคนทั่วประเทศ
KEY
POINTS
- มหิดลเร่ง “ทรานส์ฟอร์ม” สู่ยุคใหม่ในทุกมิติ รับมือ 6 Mega Trend ได้แก่ สังคมสูงวัย เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ความผันผวนของภูมิรัฐศาสตร์ วิกฤตสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายของคนรุ่นใหม่ และการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบองค์กร
- เดินหน้าเป็นผู้นำในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science) และสุขภาวะแบบองค์รวม (Holistic Wellbeing) ในระดับโลก โดยมีเป
ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวน 83 แห่ง และมีนักศึกษาระดับปริญญาตรีมากกว่า 1.7 ล้านคนทั่วประเทศ แต่ท่ามกลางตัวเลขที่ดูมั่นคง กลับมีแรงสั่นสะเทือนบางอย่างที่กำลังกระทบต่อระบบการศึกษาในทุกระดับ โดยเฉพาะ “มหาวิทยาลัย” ที่กำลังเผชิญแรงกดดันจากความเปลี่ยนแปลงรอบด้าน ซึ่งไม่ใช่แค่ในระดับประเทศ แต่เป็นแรงกระเพื่อมระดับโลกที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออนาคตของการเรียนรู้และการผลิตบุคลากรเพื่อสังคม
ภายใต้ 6 กระแสใหญ่ (Mega Trend) ได้แก่ สังคมสูงวัย เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ความผันผวนของภูมิรัฐศาสตร์ วิกฤตสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายของคนรุ่นใหม่ และการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบองค์กร ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังกำหนดทิศทางใหม่ที่มหาวิทยาลัย ทั้งหมดไม่ใช่แค่ “กระแส” ที่ควรรู้ แต่ต้องปรับตัว เพื่อให้การศึกษาไทยก้าวทันโลก และสร้างผลกระทบเชิงบวกได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
‘รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล จงเจตน์เมธีวิชญ์’เฟ้นหานักวิจัย ชิงเงิน 5 ล้านบาท
'มหิดล' เดินหน้าผลักดันสร้างกิจกรรมเชิงเรียนรู้ 'สู่ความยั่งยืน'
มหิดลทรานส์ฟอร์มสู่ Real World Impact
ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับกระแสความเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ใน 6 มิติ
1. สังคมสูงวัย (Aging Society) ในอีก 8 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super Aging) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างประชากรและระบบการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมาก
2. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Digital Disruption) ที่ขับเคลื่อนโดย AI และเทคโนโลยีดิจิทัล
3. ภูมิรัฐศาสตร์โลก (Geopolitics) ที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจและนวัตกรรม
4. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อความอยู่ดีมีสุขของคนทั่วโลก
5. การเปลี่ยนแบบแผนระหว่างช่วงชีวิต (Generation Change) การเปลี่ยนแปลงของคนรุ่นใหม่ที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่หลากหลายมากขึ้น
6. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร (Organization Change) ที่เน้นการทำงานแบบ Data-Driven และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทั้งหมดนี้เป็นความท้าทายที่มหาวิทยาลัยต้องรับมือและปรับตัวตามให้ทัน และต้องเร่ง “ทรานส์ฟอร์ม” สู่ยุคใหม่ในทุกมิติ มหิดลไม่ต้องการมุ่งสร้าง Academic Impact อย่างเดียวแต่ต้องการใช้ความรู้สร้าง “Real World Impact” ที่ช่วยแก้ปัญหา พัฒนาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีกว่าเดิม
มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเป้าสู่การเป็น "World-Class University" และเป็นผู้นำในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science) และสุขภาวะแบบองค์รวม (Holistic Wellbeing) ในระดับโลก โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของประชาชน ตามเป้าหมาย SDGs ผ่าน 3 กลไกหลัก ได้แก่ From Research Lab to Commercialization,From Education to Real World Impact และ From Community Engagement to Real World Impact
From Research Lab to Commercialization : งานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง
From Research Lab to Commercialization เป็นการผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลมีผลงานวิจัยที่ได้รับการจดสิทธิบัตรกว่า 2,557 รายการ และผลงานที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในเชิงพาณิชย์กว่า 415 รายการ มูลค่ากว่า 123.6 ล้านบาท มีการนำผลการวิจัยไปต่อยอดที่สำคัญ
หนึ่งในผลงานของนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คือ CAR T-cell Therapy ที่เปลี่ยนเม็ดเลือดขาวที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ โดยใช้เม็ดเลือดขาวมาดัดแปลงลักษณะพันธุกรรมด้วยไวรัส ซึ่งไวรัสดังกล่าวจะตายไปเองเมื่อมีการฉีดเซลล์กลับไปที่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นวิธีที่ลดค่าใช่จ่ายให้กับผู้ป่วยและเข้าถึงการรักษาได้มากยิ่งขึ้น
มหาวิทยาลัยมหิดลได้ศึกษาเกี่ยวกับการนำสเต็มเซลล์จากไขกระดูก มาใช้รักษากระดูกหักที่ไม่สามารถต่อได้ โดยรักษาสำเร็จในผู้ป่วย 5 ราย นอกจากนี้ยังมีการรักษาพาร์กินสัแนวทางของประเทศญี่ปุ่นร่วมมือกับประเทศไทย โดยการนำไวรัสเจาะฉีดเข้าไปตัดต่อยีนในเซลล์สมองเพื่อกระตุ้นการสร้างเอนไซม์ โดยอยู่ในระหว่างทำการศึกษาด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง 3 รพ. ได้แก่ จุฬาฯ รามาฯ และศิริราช
ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าวต่อว่าอุตสาหกรรมยาไทยที่มีการใช้ยากว่า 2 แสนล้านบาท โดยมาจากผู้ผลิตยาภาครัฐ 50% ภาคเอกชน 50% ซึ่ง 90% จะใช้ในประเทศ ส่วนอีก 10% จะส่งออก สำหรับโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันที่ผ่านมาตรฐาน GMP ในไทยจำนวน 144 แห่ง แต่ประเทศไทยยังคงพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบทางยา (API) สูงถึง 90% สำหรับการผลิตยาสำเร็จรูป แม้แต่ยาสามัญ เช่น พาราเซตามอล ซาร่า และทิฟฟี่ ก็ต้องนำเข้า API จากอินเดียและจีน เพื่อนำมาขึ้นรูปในประเทศ
โดยมหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นผู้นำในการสร้าง Ecosystem ของการรักษาแบบเซลล์บำบัดและยืนบำบัดในประเทศไทยตั้งแต่การส่งเสริมพัฒนางานวิจัย การพัฒนาบุคลากร การส่งเสริมการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ไปจนถึงการผลักดันนโยบายและความร่วมมือระดับนานาชาติ พร้อมการปรับปรุงโรงงานยาที่มีอยู่เดิมให้เป็นโรงงานยาที่มีชีวิต (MU-Bio Plant)
สำหรับผลิตยากลุ่ม Advanced Therapy Medicinal Product (ATMP) เป็นตัวกลางในการขยายผลการวิจัย เพื่อให้สามารถขึ้นทะเบียนยาได้อย่างเป็นทางการ โดยร่วมมือกับ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ที่กำหนดให้มาตรฐานการผลิตของทั้งสองแห่งเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รองรับกระบวนการผลิตทำให้ยาที่ผลิตสำเร็จไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนใหม่ ซึ่งนอกจากจะทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งและโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ในราคาที่ถูกลงอย่างมากแล้วยังผลักดันโรงงานยาที่ผลิตจากสมุนไพรอีกด้วย
“ที่ผ่านมาสมุนไพรไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักเท่าไหร่ เราเองพยายามผลักดันในสมุนไพรไทยเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ เราเชื่อว่าถ้าสามารถเบิกได้มันจะทำให้ความต้องใช้เยอะขึ้นคนไม่ต้องเสียเงิน เราทำการวิจัยเพื่อให้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าสมุนไพรดีและพร้อมผลักดัน ซึ่งหน้าที่ของเราคือทำให้ภูมิปัญญาชาวบ้านเกิดหลักฐานเชิงประจักษ์และเอาไปใช้ได้จริง” ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าว
From Education & Community Engagement to Real World Impact
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การศึกษาไม่ควรถูกจำกัดแค่ภายในรั้วมหาวิทยาลัย แต่ต้องออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนพร้อมรับมือกับความจริงที่ซับซ้อนและหลากหลาย มหาวิทยาลัยมหิดลจึงทรานส์ฟอร์มระบบการเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด โดยเน้นแนวทาง Outcome-Based Education ที่ไม่ได้เน้นเพียงความรู้เชิงวิชาการ แต่สร้างให้ผู้เรียนเป็น World Citizenship ที่มีทักษะพร้อมทำงานจริง มีความยืดหยุ่น และสามารถอยู่รอดได้ในโลกอนาคต
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างจริงจัง ทั้งการวินิจฉัยโรค การประเมินความเสี่ยงสุขภาพ และการดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล โดยร่วมมือกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อยกระดับการศึกษาและบริการทางสุขภาพให้ตอบโจทย์อนาคต และพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในสาย AI & Health Tech อย่างรอบด้าน
รวมถึงการเดินหน้าขับเคลื่อนสังคมในระดับนโยบาย ภายใต้แนวคิด From Community Engagement to Real World Impact ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างคือ Policy Lab โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติที่ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาสังคม เช่น การลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเริ่มทดลองในพื้นที่ศาลายา และวางแผนขยายผลไปยังพื้นที่อื่น พร้อมผลักดันเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน โครงการ “9 to Zero” ก็เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวสำคัญ ที่ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่มหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดลยังต้องการผลักดันประเทศไทยให้มี Health Tech Startup ที่สามารถเติบโตระดับโลก โดยจัดตั้งระบบบ่มเพาะ Startup แบบครบวงจร และร่วมมือกับเครือข่ายอย่าง Silicon Valley และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(FTI) เพื่อสนับสนุนตั้งแต่การพัฒนาเทคโนโลยี การเข้าถึงแหล่งทุน ไปจนถึงการขยายตลาดสู่สากล เป้าหมายสำคัญคือการสร้าง Unicorn Startup ด้านสุขภาพที่ขับเคลื่อนโดยคนไทยและเติบโตอย่างยั่งยืน