รมว.สุชาติ สั่งติวเข้มครูภาษาอังกฤษ ดัน "แรงงานไทย" ทำงานเรือสำราญ
"กระทรวงแรงงาน" โดย "กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน" ติวเข้มครูต้นแบบด้านสาขา "ภาษาอังกฤษ" สำหรับการ สอบ Marlins Test เพิ่มโอกาสให้แรงงานหนุ่มสาวได้ไป ทำงานบน "เรือสำราญ" หลายอัตรา มีรายได้ กว่าครึ่งแสน
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า อาชีพบน เรือสำราญ หรือ Shipboard อาจจะเป็นอาชีพที่หลายๆ คนยังไม่คุ้นเคย แต่ในปัจจุบันนั่นขาดแคลนแรงงานเป็นจำนวนมาก การ ทำงานบนเรือสำราญ เป็นการทำงานที่ต้องใช้ชีวิตบนเรือ เหมาะสำหรับแรงงานที่จบใหม่ และต้องการ หาประสบการณ์และโอกาสที่ท้าทาย ด้วยรูปแบบของงาน และระยะเวลาการจ้างงานนั้นก็จะแตกต่าง กับสายงานอื่น คือ การทำสัญญาจ้างเป็นระยะเวลา 6-9 เดือน และรองรับรายสูงสุดกว่า 50,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งจำนวนเงินนี้จะสามารถเก็บไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้หลังหมดสัญญาจ้างได้ดีเลยทีเดียว
สำหรับการทำงานบนเรือสำราญนั้นมีอาชีพหลากหลายอาชีพที่น่าสนใจ ได้แก่
- พนักงานดูแลต้อนรับ
- พนักงานเสิร์ฟบนเรือ
- แม่บ้าน
- พ่อครัวหรือแม่ครัว
- บาร์เทนเดอร์
- ช่างภาพ
- พนักงานนวดในสปา
- ช่างเครื่อง เป็นต้น
การทำงานดังกล่าวต้องผ่านการสอบ Marlins Test และทักษะทางด้านภาษา ซึ่ง แรงงานไทยยังขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทำให้แรงงานเพิ่งจบใหม่ขาดโอกาสในการทำงานบนเรือ สำราญ จึงมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดฝึกอบรมครูต้นแบบด้านภาษาอังกฤษ สำหรับการ สอบ Marlins Test สำหรับผู้ทำงานบนเรือสำราญ เพื่อให้ความรู้แก่วิทยากรต้นแบบ หรือครู ก. ให้ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดแก่แรงงานที่สนใจไปทำงานบนเรือสำราญ รวมทั้งให้มีการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะเฉพาะด้านในอาชีพต่างๆที่สามารถ ทำงานบนเรือสำราญได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการจัดการด้านอาหารและโภชนาการบนเรือ บาร์ เทนเดอร์ พนักงานนวด และอีกมากมาย เพื่อให้มีความพร้อมในการพัฒนาทักษะ และเพิ่มศักยภาพ การพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงาน เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับแรงงานไทยไปทำงานบนเรือสำราญ และ ผลักดันแรงงานไทยมีงาน มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวต่อว่า ในแต่ละปี กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จะดำเนินการพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานในสาขาการจัดการด้านอาหารและโภชนาการบนเรือปีละไม่ น้อยกว่า 100 คน และจัดอบรมให้ความรู้แก่วิทยากรต้นแบบอีกปีละ 40 คน เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ วิทยากรและชี้แจงกฎระเบียบที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงพัฒนาวิทยากรต้นแบบคนใหม่ให้ได้เรียนรู้ ข้อกำหนดต่างๆ
กรมจึงมีการจัดอบรมในหลักสูตร วิทยากรต้นแบบภาษาอังกฤษสำหรับการสอบ Marlins Test สำหรับผู้ทำงานบนเรือสำราญ การฝึกอบรมในครั้งนี้มีทั้งสิ้น 22 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของกรม บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกเป็นวิทยากรของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-9 กันยายน 2565 ณ ราชพฤกษ์ สมุย รีสอร์ท อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
การฝึกอบรมในครั้งนี้เน้นการทำแบบทดสอบ Marlins Test ซึ่งเป็นแบบทดสอบภาษาอังกฤษออนไลน์ ที่ต้องสอบผ่านทางอินเตอร์เน็ต สำหรับใช้วัด ระดับความเข้าใจและความสามารถในการเขียน ฟัง อ่าน และพูด รวมถึงการใช้ประโยคต่าง ๆ ใน ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่จะทำงานเรือสำราญ จึงเป็นอีกหลักสูตรที่วิทยากรจะต้องมีความรู้และสามารถ ถ่ายทอดให้แก่แรงงาน โดยผู้ที่จะไปทำงานบนเรือสำราญได้นั้นจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 80% จึง จะถือว่าสอบผ่าน
นายชาคริต จิตสร้างบุญ รองหัวหน้าหน่วยการศึกษา โรงเรียนมารุ (Maru CHOT ) สอนอาชีพการเรือสำราญ และการโรงแรม และเป็นอาจารย์ประจำวิชาภาษาอังกฤษและการบริการ เป็นหนึ่งในผู้เข้าอบรมวิทยากร ต้นแบบ เล่าว่า ภาษาอังกฤษ มีความจำเป็นมากสำหรับแรงงานที่จะไปทำงานบนเรือสำราญ รวมถึง แรงงานไทย มีจุดอ่อนในด้านนี้มาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แรงงานต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ โดยการอบรมในครั้งนี้เน้น ทักษะภาษาอังกฤษที่แรงงานต้องสามารถสื่อสารได้ ด้วยการนำแบบทดสอบมาเป็นตัวกำหนดหัวข้อในการ อบรม
ชาคริตยังบอกอีกด้วยว่า อาชีพนี้ยังขาดกำลังแรงงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งการไปทำงานบนเรือจะมีรายได้เริ่มต้นประมาณ 500 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 18,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 6 กันยายน 2565) เป็นรายได้ที่ไม่สูง แต่รับเงินเต็มๆ ไม่ถูกหักอะไรเลย และยังมีรายได้อื่นอีก ซึ่งคนไทยที่ไปทำงานบน เรือสำราญจะได้ค่า offer จึงทำให้มีรายได้มากกว่าครึ่งแสน นอกจากนี้ บนเรือสำราญมีหลายตำแหน่งงาน ทั้งคนครัว พนักงานบริการและพนักงานทั่วไป เป็นต้น และรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-45 ปีเท่านั้น จึงเป็นอีกหนึ่ง ทางเลือกของแรงงานที่สนใจทำงานในด้านนี้