ทักษะใหม่! ที่คนวัยทำงานต้องมี ไม่พลาดงานในอนาคต
โลกทำงานในยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย ทักษะทางวิชาการ (Hard Skills) เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ต้องมีทักษะทางสังคมและอารมณ์ (Soft Skills) ร่วมด้วย เพราะจำเป็นต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ
KEY
POINTS
- การจะเป็นพนักงานที่องค์กรต้องการนั้น ต้องหมั่นพัฒนาทักษะ และพร้อมเปิดรับความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา
- 3 ทักษะใหม่สุดปังที่ต้องมีในยุคการเปลี่ยนแปลง คือ ทักษะชำนาญการเฉพาะตัวที่ยังขาดไม่ได้ มนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศคือสิ่งที่พึงมี และ ทัศนคติดี พร้อมเรียนรู้
- เรียนรู้ ปรับตัว มีความรู้ด้านดิจิทัล การคิดเชิงคำนวณ ความเป็นผู้นำ ความฉลาดทางอารมณ์ การเข้าสังคม และความคิดสร้างสรรค์ ล้วนเป็นทักษะที่คนทำงานในอนาคตต้องมีติดตัว
การเตรียมพร้อมสำหรับงานและหน้าที่ใหม่ๆ รวมถึงพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัลที่ทุกสิ่งทุกอย่างก้าวไปข้างหน้าทุกวินาที นั่นก็เพราะทักษะแห่งอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่คนทำงานทุกคนควรเรียนรู้
รายงาน Future of Jobs ของ World Economic Forum ระบุว่า ภายในปี 2025 จะมีพนักงานกว่า 50% ที่จำเป็นต้องได้รับฝึกฝนทักษะใหม่ ทว่าแบบสำรวจของ PwC ที่สอบถามผู้นำธุรกิจและหัวหน้าฝ่ายบุคลากรกลับเผยให้เห็นว่า มีเพียง 26% เท่านั้นที่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าพวกเขาสามารถระบุทักษะที่จำเป็นต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน
ถึงระบบอัตโนมัติจะค่อยๆ ลดความจำเป็นในการทำงานที่ซ้ำซากจำเจและต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากลง ทว่านอกเหนือจากการนำแรงงานที่เป็นหุ่นยนต์มาแทนที่แรงงานมนุษย์แล้ว ปรากฏการณ์นี้กลับต้องอาศัยทักษะด้านอารมณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกมองว่าไม่สำคัญมาอย่างยาวนานด้วยเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
10 อาชีพมาแรงในอนาคต ควรมีทักษะแบบไหน?
ก่อนจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจถึงทักษะทั้งหมดที่จำเป็นต่อการทำงานในยุคดิจิทัลนั้น มาทำความรู้จัก 10 อาชีพที่จะมาแรงในอนาคต มีดังต่อไปนี้
1. Software Developer
เริ่มต้นที่อาชีพที่เป็นที่ต้องการในอนาคตอันดับแรก ๆ คงหนีไม่พ้น Software Developer เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในทุก ๆ ธุรกิจหรือทุกองค์กรต่างก็มีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของตัวเอง เพื่อสร้างความสะดวกสบายและการใช้งานที่ราบรื่นให้กับลูกค้าของตนเองแทบทั้งสิ้น ดังนั้นอาชีพนี้จึงถือเป็นอาชีพที่มั่นคงลำดับต้น ๆ และเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างสูง
โดยอาชีพนี้ต้องอาศัยความเข้าใจและความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเรื่องของ Information Technology ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นฝั่งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และแอปพลิเคชัน ให้ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรหรือบริษัท รวมไปถึงการตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคในธุรกิจนั้น ๆ ด้วย เพราะการมีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ถือเป็นช่องทางในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และสามารถวัดผลความก้าวหน้าทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
ส่วนทักษะที่ต้องมีติดตัวไว้สำหรับอาชีพนี้ เช่น Coding Language, Machine Learning, Analytical Skills และ Mathematics และ Statics หากทำงานไปสักระยะอาจต่อยอดไปสู่สายงานอย่าง Programmer Analysts ได้เช่นกัน
ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 25,000-140,000 บาท/เดือน
ทักษะพร้อม เข้าสู่อาชีพฐานเงินเดือนสูง
2. AI & Machine Learning Engineer
หากพูดถึงเรื่องราวของโลกอนาคต ณ เวลานี้คงหนีไม้พ้นเรื่องของ AI ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทกันมากพอสมควรแล้ว และมั่นใจได้เลยว่า AI Engineer และ Machine Learning Engineer จะเป็นอาชีพมาแรงที่ต้องการในอนาคตอย่างสูงแน่นอน โดยอาชีพนี้จะอาศัยความเชี่ยวชาญในการด้านการผลิตและการเรียนรู้เครื่องจักรกล เพื่อเป็นการร่วมกันผลิตผลงานโดยมนุษย์และ AI ให้ออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยทักษะที่อาชีพนี้จำเป็นต้องมี เช่น Coding และ Computer Skill, Marketing Skill, Machine Learning หรือ Mathematics และ Statics ฯลฯ ส่วนการต่อยอดในสายอาชีพนั้นสามารถเติบโตไปสู่การเป็น Machine Learning Engineer หรือ Data Engineer ได้
ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 60,000-80,000 บาท/เดือน
3. Data Analysts
ในตอนนี้ต้องบอกเลยว่าเราอยู่ในยุคที่เต็มไปด้วยเรื่องราวของข้อมูลที่จะคอยขับเคลื่อนให้การทำการตลาด หรือการดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยวางแผนในการดำเนินด้านกลยุทธ์ให้บริษัทนั้น ๆ มีชัยเหนือคู่แข่ง ดังนั้นอาชีพ Data Analysts จึงถือเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญขององค์กรและเป็นที่ต้องการในตลาดงาน และเป็นอาชีพมาแรงซึ่งเป็นที่ต้องการในอนาคตไม่แพ้อาชีพอื่น ๆ
โดยหน้าที่ของ Data Analyst คือต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็น Insights เพื่อตอบรับเรื่องของการวางกลยุทธ์ วิเคราะห์เรื่องของยอดขาย ผสานกับการดูแลเรื่องต้นทุนในธุรกิจของบริษัท รวมไปถึงการรวมรวมข้อมูลต่างๆ ที่มี เพื่อนำมาใช้ส่งเสริมการทำงานของฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดการธุรกิจ หรือแผนกที่เกี่ยวข้องกับ Supplier
สำหรับทักษะของสายอาชีพนี้ที่ต้องมีก็เช่น Mathematics และ สถิติ, Analytical Skill, Communication Skill, Storytelling, Microsoft Excel และ SQL ตลอดไปถึงการเข้าใจเรื่องของกระบวนการธุรกิจ หากเติบโตขึ้นก็สามารถพัฒนาไปยังตำแหน่ง Business Development หรือ Static Analysis ได้
ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 40,000-80,000 บาท/เดือน
นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล- Digital Marketing ไม่มีตกงาน
4. Data Scientists
สำหรับอาชีพ Data Scientists อีกหนึ่งอาชีพมาแรงที่มองเผิน ๆ อาจคล้ายกับ Data Analyst แต่จริง ๆ แล้วมีความแตกต่างกันอยู่ ซึ่งตัวของ Data Scientists จะเปรียบเหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล ก่อนที่จะนำข้อมูลนั้นมาสรุปผลออกมาเป็นรายงานที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปต่อยอดในส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจ เช่น การทำตลาด หรือการวางแผนธุรกิจ ซึ่งหลัก ๆ อาชีพนี้จะทำหน้าที่ 2 ส่วนก็คือ การวิเคราะห์ผสานโมเดลการทำนายผล และวิเคราะห์เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังต้องคอยให้คำปรึกษาและการให้ข้อมูลที่แม่นยำแก่ฝ่ายบริหาร ฝ่ายจัดการ หรือฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้นำไปต่อยอดในการกระตุ้นยอดขาย หรือสร้างแคมเปญโปรโมตสินค้าและบริการ ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ลงทุนไปมากที่สุด
ด้านทักษะที่ต้องมีติดตัวไว้ก็คือ Mathematics และ Statics, Machine Learning, Software Engineering, Data Analysis, Data Visualizations รวมไปถึงการเข้าใจด้านการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น ส่วนการต่อยอดในอาชีพสามารถพัฒนาไปยังอาชีพ Data Engineer หรือ Programmer ก็ได้เช่นกัน
ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 35,000-80,000 บาท/เดือน
5. Digital Marketing
เมื่อเราอยู่ในยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว จะเห็นได้ว่าเรื่องของการทำการตลาดก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จนกลายเป็นอาชีพ Digital Marketing ที่เทคโนโลยีเข้ามาบทบาทในการช่วยทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นอาชีพนี้จึงถือเป็นอีกอาชีพมาแรงและเป็นอาชีพยอดฮิตติดเทรนด์ทั้งในปัจจุบันนี้และในอนาคตนั่นเอง
โดยผู้ที่ทำอาชีพนี้ จะต้องมีความรู้ด้าน Digital Marketing รวมไปถึงสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นได้ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดหรือโปรโมตธุรกิจให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น สื่อออนไลน์ และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อีกทั้งยังต้องทำหน้าที่ในการคิดคอนเทนต์ คำโฆษณา หรือเนื้อหาต่าง ๆ ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้กลายมาเป็นกลุ่มลูกค้าของธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลต่าง ๆ ด้วย
ในส่วนของทักษะที่ต้องมี ได้แก่ Marketing Skill, Technical Skill, Creative Data Analytic Skill, Digital Presentation Skill, Content Creator Skill, E-Commerce, SEO/SEM, Graphic Designer รวมไปถึงความรู้ในการใช้ Tools หรือเครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อโปรโมตและดึงข้อมูลด้านการตลาดออนไลน์ ฯลฯ
ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 30,000-80,000 บาท/เดือน
6. Digital Marketing Analyst
สำหรับอาชีพนี้อาจจะมีความคล้ายคลึงกับ Digital Marketing แต่จะแตกต่างกันตรงที่ Digital Marketing Analyst จะเป็นการผสมผสานระหว่าง Data Analyst และ Digital Marketing เข้าไว้ด้วยกัน โดยหน้าที่หลักก็คือ จะต้องหาข้อมูล Insight เกี่ยวกับตัวผู้บริโภคและลูกค้าของธุรกิจ รวมไปถึงการทำรีเสิร์ชเกี่ยวกับ เทรนด์การตลาด ในธุรกิจที่ดูแล จากนั้นก็นำข้อมูลตรงนั้นมาวิเคราะห์ ก่อนการทำ การตลาดออนไลน์ เช่น การลงแอดโฆษณา, การทำ A/B Testing นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่เสนอแผนงานให้ฝ่าย Sales & Marketing หรือ ฝ่าย Business Development ของบริษัท เพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น
ด้านทักษะที่ควรมี ได้แก่ Data Analytical Skill, Data Visualization, Marketing Skill, Communication Skill, Presentation Skill รวมไปถึงการใช้ Tools ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Digital Marketing
ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 50,000-80,000 บาท/เดือน
สื่อสาร ดูแลพัฒนาองค์กร ทักษะอาชีพที่ต้องการ
7. Business Operations
สำหรับอาชีพ Business Operations จะเน้นการสื่อสารและพัฒนาภายในองค์กรเป็นหลัก โดยจะทำหน้าที่ในการดูแลระบบการทำงานภายในองค์กร คอยจัดการขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด ซึ่งจะเป็นเริ่มต้นดูแลตั้งแต่ระดับทีม แผนก ไล่ยาวไปจนภาพใหญ่อย่างระดับองค์กร ทั้งนี้ก็เพื่อให้การทำงานต่าง ๆ ภายในบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีระเบียบแบบแผน ป้องกันการเกิดปัญหาภายในองค์กรให้น้อยที่สุด เพราะหากภายในบริษัทมีระบบรากฐานที่ดี ก็จะช่วยให้ผลิตงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนถึงมือลูกค้านั่นเอง อาชีพ Business Operations จึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพมาแรงและเป็นที่ต้องการในอนาคต
ผู้ที่อาชีพนี้จะต้องมีทักษะ ได้แก่ Business Development, Project Management, Communication Skill หรือ Presentation Skill ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดด้านอาชีพไปเป็น Project Manager และ Business Development ได้
ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 30,000-50,000 บาท/เดือน
8. Organization Development
แม้ AI กำลังจะเข้ามามีบทบาทในโลกการทำงานมากขึ้น แต่บอกเลยว่าเรื่องของการบริหารมนุษย์นั้น ยังไงมนุษย์ด้วยกันเองก็สามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่า AI แน่นอน ดังนั้นสายงานด้าน Organization Development ยังไงก็ไม่มีทางตกเทรนด์ และเป็นอาชีพที่ต้องการในอนาคตต่อไป
โดยตำแหน่งนี้เปรียบเสมือนผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กร ซึ่งจะทำหน้าที่ในการดูและปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งยังต้องประเมินการทำงานของแต่ละแผนก เพื่อสร้างฟีดแบ็คให้แต่ละฝ่ายนำกลับไปพัฒนาตนเอง ต่อยอดให้องค์กรดำเนินงานได้อย่างไหลลื่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่ในการเพิ่มเติมความรู้ จัดหา คอร์สอบรม พิเศษให้แก่พนักงาน เพื่อพัฒนาทักษะของตนเองอีกด้วย
โดยทักษะที่จำเป็นต้องมี ได้แก่ Human Resources, Project Management, Communication Skill, Training Skill หรือ Business Development ฯลฯ
ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 40,000-60,000 บาท/เดือน
9. Cybersecurity
ในยุคนี้นอกจากจะเจอการระบาดของโรคภัยแล้ว หลายคนยังต้องเผชิญกับการระบาดของมิจฉาชีพออนไลน์หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์อีกด้วย ยิ่งโลกของเราพัฒนาไปไกล มิจฉาชีพก็ไม่หยุดพัฒนาตัวเองในการหลอกผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ดังนั้น อาชีพ Cybersecurity จึงถือเป็นอาชีพมาแรงทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างแท้จริง แถมยังขาดแคลนในตลาดแรงงานทั่วโลกในตอนนี้อีกด้วย เพราะแม้แต่คนทั่วไปยังมีมิจฉาชีพโทรศัพท์หรือส่ง SMS เข้ามาป่วนไม่เว้นแต่ละวัน เช่นเดียวกันกับองค์กรใหญ่ ที่ก็เจอกับเหล่ามิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ จนเกิดความเสียหาย อาชีพ Cybersecurity จึงเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ
อาชีพด้าน Cybersecurity จะต้องคอยดูแลระบบความปลอดภัยด้านดิจิทัลให้แก่องค์กร ไม่ว่าจะเป็น ความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์ ความปลอดภัยของเครือข่าย ความปลอดภัยด้านโปรแกรมและระบบปฏิบัติการ ความปลอดภัยของโปรโตคอล ความปลอดภัยด้านรหัสหรือข้อมูล ฯลฯ เพื่อให้ข้อมูลบริษัทปลอดภัยจากเหล่ามิจฉาชีพมากที่สุด
โดยทักษะที่จำเป็นที่ต้องมี ได้แก่ ทักษะ Programming หรือ Coding ความรู้ด้านระบบอินเทอร์เน็ต วิศวกรคอมพิวเตอร์ ทักษะด้านซอฟแวร์และการใช้เครื่องมือ Cybersecurity ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฯลฯ
ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 60,000-100,000/เดือน
10. Content Creator
ปิดท้ายด้วยกันด้วยอาชีพมาแรงแห่งยุค ต้องขอบอกเลยว่าอาชีพนี้ก็คงมาแรงต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน เพราะเราจะสังเกตเห็นได้ว่าในปัจจุบันมี Content Creator ในช่องทางต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งคนที่หันมาทำอาชีพนี้กันอย่างจริงจัง หรือคนที่ทำเป็นอาชีพเสริม หากทำแล้วปัง สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ก็สามารถหารายได้แบบเป็นกอบเป็นกำได้ไม่ยาก
หน้าที่หลัก ๆ ของอาชีพ Content Creator จะต้องถ่ายทอดเรื่องราวหรือสิ่งที่จะสื่อออกมาได้อย่างเป็นดี ทั้งในเรื่องของการเขียน การคิดแคปชันสำหรับ Content Writer การผลิตคอนเทนต์วิดีโอ ตลอดไปจนถึงการเรียนรู้ด้านการตลาดเบื้องต้น ต้องรู้ว่าเทรนด์ ณ ขณะนั้นเป็นอย่างไร ผู้บริโภคกำลังสนใจสิ่งไหนและต้องการอะไร ยิ่งหากใครที่ทำคอนเทนต์วิดีโอด้วยแล้ว อาจต้องอาศัยความกล้าแสดงออกเข้ามาผสม ในการรับบทเป็นพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการ มีการพูดที่ฉะฉาน สามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจชัดเจนและให้ผู้ชมคล้อยตามมากที่สุด
ทักษะหลัก ๆ ที่จำเป็นต้องมี ได้แก่ Writing Skill, Copywriting Skill, การพูด, การดำเนินรายการ, การทำกราฟิก, การตัดต่อวิดีโอ, Motion Effect, Marketing Skill, Communication Skill ฯลน โดยสามารถต่อยอดอาชีพไปเป็น Content Manager, Content Marketing หรือ Creative Director ได้
ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 25,000-50,000 บาท/เดือน
3 ทักษะใหม่สุดปัง ที่คนวัยทำงานต้องมีในอนาคต
1.ทักษะชำนาญการเฉพาะตัวที่ยังขาดไม่ได้
ก่อนที่เราจะพัฒนาตัวเองไปสู่ทักษะ Meta Skill สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำงาน ยังคงเป็น ทักษะพื้นฐานสำหรับการทำงานที่ทุกคนต้องมี หรือที่เรียกว่า Hard Skill เป็นทักษะทางด้านความรู้และด้านเทคนิค ตลอดจนความชำนาญเฉพาะทาง หรือความสามารถด้านวิชาชีพที่เราร่ำเรียนมานั่นเอง เช่น ความถนัดทางด้านภาษา สามารถสื่อสารได้หลายภาษา ความถนัดด้านการเขียนโค้ด เป็นโปรแกรมเมอร์เป็นต้น
แม้จะเป็นทักษะความชำนาญเฉพาะทางแต่เราในฐานะพนักงานก็ควรต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองตลาดเวลาเพื่อให้เข้ากับความต้องการและเทรนด์ของตลาด ด้วยการหมั่นศึกษาและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่ยึดติดแต่กับงานหรือความรู้เดิม ๆ ที่เรียนมา และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
2.มนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศคือสิ่งที่พึงมี
นอกจากทักษะจำเป็นพื้นฐานอย่าง Hard Skill แล้ว ความสามารถด้านสังคมก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะในการสื่อสาร การโน้มน้าวใจคน การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การทำงานเป็นทีม การรู้จักแก้ปัญหา ที่มีอยู่ในทักษะ Soft Skill ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานและการช่วยให้องค์กรมีความก้าวหน้า ซึ่งทักษะ Soft Skill ไม่ใช่ทักษะที่ทุกคนจะพึงมีติดตัวเหมือนกับ Hard Skill แต่เราสามารถที่จะเรียนรู้ ฝึกฝนให้ชำนาญการได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง นอกจากช่วยองค์กรแล้ว ยังสามารถช่วยให้ตัวเองมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อีกด้วย
3.ทัศนคติดี พร้อมเรียนรู้สำคัญที่สุด
ภายใต้แนวคิดที่ว่า เราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong Learning คือที่มาของทักษะ Meta Skill ความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา มีความกระหายใคร่รู้ เพื่อพัฒนาตัวเองและพัฒนาองค์กร และสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ พร้อมต่อยอดไอเดียเก่า ถือว่า Meta Skill คือทักษะที่คนทำงานควรมีในอนาคต เลยก็ว่าได้ หากแบ่งเป็นข้อ ๆ แล้ว Meta Skill ที่พนักงานควรมีนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
- Self-Awareness เป็นความตระหนักรู้ได้ด้วยตัวเอง รู้จักและเข้าใจตัวเอง และเข้าใจความเป็นจริงของโลก จะทำให้เรายอมรับและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี เพราะปัจจุบันเทรนด์ของงานมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทั้งจากการ Rotate งาน หรือการต้องทำงานได้แบบ Multi-tasking เป็นต้น
- Creativity มีความคิดสร้างสรรค์ ฉลาด รู้จักแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ด้วยตัวเอง สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้เสมอ งานในปัจจุบันแทบทุกสาขาวิชาต้องการความคิดสร้างสรรค์ เข้ามาช่วย เพื่อให้เหนือกว่าคู่แข่งทั้งสิ้น ไม่ใช่แค่เพียงงานด้านโฆษณาอีกต่อไปแล้วที่ต้องการไอเดียบรรเจิด การนำเสนอไอเดียที่แตกต่าง อาจนำมาซึ่งผลกำไรมหาศาลให้กับองค์กรก็เป็นได้
- Resilience มีความยืดหยุ่นทางความคิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก แต่หากทำได้แล้วนั้นจะสามารถพัฒนาตัวเอง และช่วยพัฒนาองค์กรได้ดีมาก ถือเป็นทักษะขั้นสูงสุดเลยก็ว่าได้ คล้าย ๆ กับการปล่อยวางกับปัญหา ไม่มองว่ามันคือปัญหา แต่เป็นโจทย์หนึ่ง ที่รอให้เราแก้ไขให้ได้มากกว่า
การจะเป็นพนักงานที่องค์กรต้องการนั้น ต้องหมั่นพัฒนาทักษะ และพร้อมเปิดรับความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าคุณต้องเป็นพนักงานที่มีความสามารถรอบได้ ทั้งความสามารถด้านวิชาชีพ ความสามารถทางสังคม และความสามารถทางความคิด
5 ทักษะที่ไม่ควรพลาด มีไว้ไม่ตกงาน
แม้ไม่มีใครรู้ว่าทักษะแห่งอนาคตที่ผู้ประกอบการในยุคปี 2030 ต้องการให้บุคลากรมีนั้นคืออะไรบ้าง แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เปิดเผยโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งทั่วโลก ได้ระบุถึง 5 ทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคตไว้ดังนี้
1. ทักษะการเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ๆ
เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา มีข้อดีที่ช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตหรือทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่การจะใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด คุณจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในกระบวนการทำงานของสิ่งนั้นเสียก่อน
ลองสำรวจตัวเองดูว่าคุณมีความสามารถในการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเข้ามา รวมถึงรับมือกับการทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้หรีอไม่ ถ้าคุณตอบว่าใช่ นั่นก็แปลว่าคุณมีทักษะแห่งอนาคตที่เหมาะกับการทำงานในตำแหน่งสูงๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการตัวจากทั้งบริษัท หัวหน้า และเพื่อนร่วมงานของคุณ
2. ทักษะความรู้ด้านดิจิทัลและการคิดเชิงคำนวณ
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีเครื่องมือต่างๆ มากมายที่ใช้สำหรับการทำงาน เช่น การเขียนโปรแกรม จัดการระบบฐานข้อมูล รวมถึงอะไรก็ตามที่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงในการดำเนินงาน นั่นทำให้ความต้องการบรรดาคนที่มีทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับ STEM มาจากที่ไหนสักแห่ง แต่เราไม่แน่ใจว่าคุณพอจะเห็นเรื่อง SMAC (social, mobile, analytics และ cloud) ผ่านตาบ้างไหม เจ้าสิ่งนี้คือเรื่องที่คุณควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้คุณเข้าใจว่าบรรดาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), machine learning, Internet of Things (IoT) และ data science คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรในอนาคต
3. ทักษะความเป็นผู้นำและความสามารถในการตัดสินใจ
แม้ว่าหุ่นยนต์และเทคโนโลยีอัตโนมัติต่างๆ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำงานแทนที่มนุษย์ในหลายๆ ด้าน เช่น การคำนวณ และการตรวจสอบปัญหา ถึงอย่างนั้น มนุษย์เราก็ยังเป็นผู้ที่คอยจัดการข้อมูล และทำการวิเคราะห์เพื่อหาทางออกหรือผลลัพธ์ที่ต้องการอยู่ดี
ตอนนี้พวกเราทุกคนกำลังอยู่ในจุดสิ้นสุดของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นั่นหมายความว่างานทุกสิ่งทุกอย่างที่มีการดำเนินงาน ยังคงต้องการใครสักคนมาคอยตัดสินใจและชี้ทิศทางที่เหมาะสมในการทำงาน จากการวิเคราะห์เรื่องตัวเลขและรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจได้ว่าสิ่งนั้นมีความสำคัญอย่างไร รวมถึงจะนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วไปพัฒนาอะไรต่อได้บ้าง
4. ทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์และการเข้าสังคม
ทุกคนคาดการณ์ไว้ว่าในอนาคตทุกสิ่งจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่อาจเข้ามาแทนที่ความฉลาดทางอารมณ์และความสามารถในการเข้าสังคมของมนุษย์อย่างพวกเราได้ เพราะนี่คือหนึ่งในทักษะแห่งอนาคตสุดแสนพิเศษที่มีอยู่ในตัวพวกเราทุกคน
ทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์และการเข้าสังคมมีความสำคัญมากในงานหลายประเภท เช่น งานด้านสุขภาพมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยคนที่เข้าใจเพื่อนมนุษย์ในการทำงานนี้ หากงานของคุณในอนาคตจำเป็นต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับคนอื่น ความเห็นอกเห็นใจจึงเป็นสิ่งที่ควรมีอย่างยิ่ง รวมถึงการมีทักษะการสื่อสารที่ยอดเยี่ยม ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น
5.ทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรม
World Economic Forum ได้เปิดเผยรายงานในปี 2018 ว่าอนาคตอันใกล้ หุ่นยนต์อัตโนมัติจะสามารถทำงานและสร้างผลผลิตได้มากกว่าตำแหน่งงานเดิมที่มนุษย์อย่างพวกเราทำอยู่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณควรกังวลมากเกินไป หากคุณมีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถนำไปใช้คิดค้นไอเดียหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้
เช่นเดียวกับการมีทักษะเข้าสังคมที่ยอดเยี่ยม การมีความคิดสร้างสรรค์ยังคงเป็นทักษะแห่งอนาคตที่ไม่สามารถแทนที่ได้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลล่าสุด เพราะตราบใดที่คุณยังคงคิดนอกกรอบจากโจทย์ที่มีอยู่ได้ อนาคตของคุณก็ยังเต็มไปด้วยสิ่งดีๆ ที่รออยู่อย่างแน่นอน
ทำอย่างไร เมื่อมีความเครียดในการทำงาน
ก่อนจะแก้ปัญหา ต้องมาดูถึงสาเหตุกันก่อนว่าอะไร ที่ทำให้เกิดความเครียดในการทำงานได้ ซึ่งถ้าหากวิเคราะห์ได้อย่างถี่ถ้วน ก็จะสามารถขจัดความเครียดในการทำงานได้อย่างตรงจุดมากขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่เครียดจากการทำงาน มักเกิดจากสภาพแวดล้อมภายในออฟฟิศ การกังวลว่างานที่ทำจะออกมาไม่ดีพอ หรือวัฒนธรรมขององค์กรที่ไม่ตอบโจทย์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคนก็จะเผชิญกับปัญหาที่แตกต่างกันไป
นอกจากนี้สาเหตุอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียดในการทำงานได้ดังนี้
- งานหนักเกินไป
- ทำงานเกินหน้าที่
- เจอหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่ Toxic
- เงินเดือนไม่สอดคล้องกับปริมาณงานที่ทำ
- มีการจัดการในองค์กรที่บกพร่อง
- บรรยากาศการทำงาน เต็มไปด้วยความกดดัน
- รู้สึกความไม่มั่นคงของบริษัท
รวม! วิธีทำงานอย่างไรไม่ให้เครียด
ได้รู้ถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด รวมไปถึงผลเสียในระยะยาวที่จะตามมาแล้ว คราวนี้มาดูทริคเด็ดโดนใจมนุษย์เงินเดือนกันบ้าง ว่าควรทำงานอย่างไร ไม่ให้เกิดความเครียด ซึ่งวิธีที่เราแนะนำ ขอบอกเลยว่านำไปปรับใช้ตามกันได้ทุกข้อ โดยเฉพาะใครที่กำลังเครียดกับการทำงานอยู่ ต้องรีบจัดการโดยด่วน
- ปรับสภาพจิตใจ
การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะความเครียดเกิดขึ้นจากเรื่องของจิตใจ ดังนั้นควรเริ่มจากการปรับสภาพจิตใจของเราก่อน เพราะหากเรามีสภาพจิตใจที่เข้มแข็ง ก็จะสามารถรับมือกับปัญหาหรือความเครียดในการทำงานที่เกิดขึ้นได้ โดยต้องหัดมองให้เห็นถึงความจริงว่า ในโลกนี้ไม่ใครที่ไม่เคยเจออุปสรรค ทุกคนล้วนต้องผ่านจุดนี้มาแล้วด้วยกันทั้งสิ้น หากคุณมีความคิดแบบนี้ได้ ก็จะช่วยให้รับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น
- พยายามเปลี่ยนความคิด
ความคิดในแง่ลบก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดได้ ลองค่อยๆ ปรับตัวเองให้มองโลกในแง่บวกมากขึ้น เราไม่ได้หมายความว่าในคุณมองทุกอย่างเป็นสีพาสเทล แต่ให้ลองมองทุกอย่างด้วยเหตุและผล ค่อยๆ ปรับตัวเองไปเรื่อยๆ ปัญหาอะไรที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ปล่อยให้มันผ่านไป อย่านำกลับมาคิดโดยเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นเรื่องเก่าปนเรื่องใหม่ ทำให้ความเครียดพอกพูนขึ้นแบบทวีคูณ
- บริหารเวลาให้ดี
ความเครียดในการทำงานที่หลายคนต้องเจอ คือเรื่องของปริมาณงานที่ถาโถมมาแบบไม่หยุดหย่อน ดังนั้นจึงต้องอาศัยการบริหารจัดการให้ดี พยายามจดบันทึกทุกอย่างที่ต้องทำ โดยอาจทำเป็น To-Do List เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน พิจารณาว่างานไหนที่เร่งด่วน หรืองานไหนที่รอได้ ไม่จำเป็นต้องอัดทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว หรือหอบงานกลับไปทำที่บ้าน
- หาเวลาพักระหว่างทำงาน
ในระหว่างวันทำงาน ด้วยปริมาณที่เยอะอยู่แล้ว บางคนอาจต้องบรรยากาศชวนอึดอัดของออฟฟิศอีกต่างหาก ดังนั้นควรหาเวลาลุกออกจากโต๊ะทำงานหรือพักเบรกจากการทำงานเป็นช่วงสั้นๆ ดูบ้าง เช่น ลุกไปเข้าห้องน้ำ เดินไปหาเครื่องดื่มหรือของหวานทาน หรือคุยเล่นกับเพื่อน เป็นต้น
- กำหนดขอบเขตการทำงานที่ชัดเจน
การทำอะไรได้หลายอย่าง หรือเริ่มต้นทำอะไรที่ไม่ถนัด อาจดูเป็นความท้าทายใหม่ๆ หรือได้เป็นฝึกฝนทักษะให้ตัวเองก็จริง แต่ถ้าทำแล้วมันก่อให้เกิดความเครียดมากกว่าเกิดประโยชน์แก่ตัวเอง บางครั้งก็ควรทำงานให้พอดีและตรงกับหน้าที่ของเราเท่านั้น ควรมีการพุดคุยตกลงกับหัวหน้าให้ชัดเจนว่าขอบเขตการทำงานของเรามากน้อยแค่ไหน ไม่ควรทำอะไรที่เกินหน้าที่มากจนเกินไป
- ปฏิเสธให้เป็น
การเป็นคนมีน้ำใจหรือชอบช่วยเหลือคนอื่นถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าความช่วยเหลือนั้นกลับมาเล่นงานตัวคุณเอง ก็จะแปรเปลี่ยนเป็นความเครียดได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนที่จะรับปากในการช่วยเหลืองานใคร ควรพิจารณาหน้าที่หรือปริมาณงานของตัวเองให้ถี่ถ้วยเสียก่อน
- พักผ่อนให้เพียงพอ
ก่อนจะตื่นไปทำงานในแต่ละวัน ควรมีการพักผ่อนที่เพียงพอ เพราะการนอนน้อยถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นได้ แถมยังส่งผลในเรื่องของสมาธิในการทำงานอีกด้วย ซึ่งนั่นก็จะให้การทำงานล่าช้าหรือเสร็จไม่ตรงตามกำหนดเวลา หากใครที่รู้ตัวว่าตัวเองพักผ่อนน้อย ลองจัดตารางเวลาชีวิตตัวเองดูใหม่ เพื่อให้ตื่นไปออฟฟิศได้อย่างสดใส และทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้านอนไม่หลับจริงๆ จนทำให้พักผ่อนน้อย อาจต้องหาเวลาไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญดู เพราะนั่นแปลว่าความเครียดได้สะสม และเริ่มส่งผลต่อร่างกายแล้ว
- หากิจกรรมอื่นๆ ทำ
ในระหว่างเวลาทำงาน นอกจากจะหาเวลาเบรกสั้นๆ ในการลุกออกจากโต๊ะทำงานแล้ว อาจลองหากิจกรรมอื่นที่ไม่ต้องลุกออกจากโต๊ะทำงานทำควบคู่ไปด้วย เช่น ลุกจากเก้าอี้แล้วยืดเส้นยืดสายอยู่ที่โต๊ะ เพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม หรือฟังเพลงในระหว่างทำงาน ก็สามารถช่วยคลายเครียดได้เช่นกัน
นอกจากนี้นอกเวลางาน ยังควรหาเวลาในการทำกิจกรรมคลายเครียดอื่นๆ ด้วย เช่น ออกกำลังกาย ไปทานข้าวกับเพื่อน หรือไปให้ธรรมชาติโอบกอด เป็นต้น
- ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟกต์
จริงอยู่ว่าการทำงานให้เพอร์เฟกต์ แบบเป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ถือเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ แต่บางครั้งหากเรายึดติดกับความเป็น Perfectionist มากเกินไป แน่นอนว่าบางครั้งอาจได้ความเครียดเป็นของแถมติดกลับมาด้วย ดังนั้นควรอาจลองเปลี่ยนความคิดว่าทุกอย่างไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบเสมอไป แค่ทำงานบนพื้นฐานของความตั้งใจ ทำงานให้ออกมามีประสิทธิภาพในแบบที่เต็มความสามารถของเรา ไม่ให้มีข้อผิดพลาด เพียงแค่นี้ก็จะช่วยลดความคาดหวังและความเครียดลงได้เช่นกัน
- ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานของตัวเอง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องบรรยากาศภายในออฟฟิศก็เป็นสิ่งสำคัญ บรรยากาศต่างๆ ที่กดดันล้วนแล้วแต่เป็นชนวนเหตุแห่งความเครียดแทบทั้งสิ้น ดังนั้นลองจัดโต๊ะทำงานของตัวเองดูใหม่ หารูปหรือคำที่สร้างแรงบันดาลใจมาติดโต๊ะทำงานดู หมั่นทำความสะอาดโต๊ะ ไม่ปล่อยให้รก ก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นของการกำจัดความเครียดได้
- หลีกเลี่ยงการมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน
ปัญหาใหญ่ระดับเอ็กซ์ตรีมของคนทำงานคือเรื่องของคนในออฟฟิศนี่แหละ บางคนบอกว่าแม้งานจะหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น ขอแค่มีหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานที่ดี แต่หากต้องโชคร้ายก็เจอหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่ Toxic ขึ้นมา ความเครียดก็จะตามมาด้วย ซึ่งหากคุณยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนงานใหม่ สิ่งที่ควรทำก็คือการหลีกเลี่ยงที่จะมีปัญหากับมนุษย์ Toxic เหล่านั้น พยายามที่โฟกัสที่หน้าที่ของเราอย่างเดียว คุยกับคนๆ นั้นเฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น หรือหากเจอใครที่จับกลุ่มนินทาคนอื่นอยู่ ก็ไม่ต้องไปร่วมวงสนทนาด้วย อยู่ห่างๆ ไว้เป็นดีที่สุด
- อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
การขอความช่วยเหลือในที่นี้ เราหมายถึงหากคุณต้องเจออุปสรรคในการทำงาน อย่าลังเลที่จะขอคำแนะนำหรือปรึกษากับหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน ไม่ได้แปลว่าให้คุณโยนงานให้คนอื่นทำ แต่คือการขอไอเดียจากเขาในการแก้ปัญหาต่างๆ ของคุณ เพราะบางครั้งที่คนเราเครียด อาจคิดอะไรไม่ออก หากได้คำแนะนำที่ดีจากคนอื่นๆ ก็จะช่วยให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ขึ้นได้
- ฝึกการรับมือกับความเครียด
หากมีเวลาว่างลองจดรูปแบบหรือสาเหตุที่ทำให้คุณเกิดความเครียด พร้อมทั้งเขียนถึงวิธีแก้ปัญหาลงหรือวิธีจัดการความเครียดแบบล่วงหน้าไปด้วย เผื่อวันใดที่ความเครียดนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง คุณจะได้รับมือกับสิ่งเหล่านั้นได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
- หาบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรสอดคล้องกับตัวเอง
เรื่องของวัฒนธรรมองค์กรก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดในการทำงานได้ ดังนั้นจึงควรหาบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับตัวคุณเอง เรารู้ว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำ เพราะบางครั้งเราก็ไม่รู้หรอกว่าบริษัทไหนที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีจนกว่าเราจะได้เข้าไปทำงานจริง ดังนั้นจึงอาจต้องอาศัยการถามเพื่อนหรือคนรู้จักเกี่ยวกับบริษัทนั้นๆ หรืออาจลองศึกษาข้อมูลบริษัทผ่านการโปรโมตในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook หรือ Linkedin แล้วนำมาพิจารณาดูว่าบริษัทนั้นๆ ตอบโจทย์คุณมากน้อยแค่ไหน เพราะหากเจอบริษัทที่ฟิตกับไลฟ์สไตล์การทำงานของคุณ เราเชื่อว่าคุณจะมีความเครียดในการทำงานน้อยลงแน่นอน
อ้างอิง: JobsDB ,truedigitalpark , workplace