ตุลาคม 67 ประกันสังคม 'ม.33 ม.39 ม.40' จ่ายเท่าไหร่ ลาเกิน 30 วัน ขอรับเงินได้

ตุลาคม 67 ประกันสังคม 'ม.33 ม.39 ม.40' จ่ายเท่าไหร่ ลาเกิน 30 วัน ขอรับเงินได้

อัปเดตล่าสุด เดือนตุลาคม 2567 จ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.33, ม.39 และ ม.40 ต้องจ่ายเท่าไหร่? ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง พร้อมขั้นตอน ขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ จากสำนักงานประกันสังคม กรณีลาป่วย ขาดงานเกิน 30 วัน เช็กเอกสารที่ต้องใช้ที่นี่

"จ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.33, ม.39 ม.40" อัปเดตล่าสุด ประจำเดือนตุลาคม 2567 ต้องจ่ายเท่าไหร่? ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง พร้อมขั้นตอน ขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ จากสำนักงานประกันสังคม กรณีลาป่วย ขาดงานเกิน 30 วัน เช็กเอกสารที่ต้องใช้ได้เลย

ตุลาคม 67 ประกันสังคม \'ม.33 ม.39 ม.40\' จ่ายเท่าไหร่ ลาเกิน 30 วัน ขอรับเงินได้

เงินสมทบประกันสังคม ตุลาคม 2567 “ม.33 ม.39 ม.40” ต้องจ่ายเท่าไหร่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

มาตรา 33 (ม.33) ต้องจ่ายเท่าไหร่?

ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ พนักงานประจำ พนักงานหรือลูกจ้างทุกระดับตำแหน่งที่สถานประกอบการจ้างให้ทำงานเป็นประจำ และเต็มเวลา ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวน 5% ของรายได้ต่อเดือน คิดจากฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

  • ลูกจ้างและนายจ้าง จ่ายฝ่ายละ 5% เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน คิดเป็น 9,000 บาท ต่อปี
     

มาตรา 39 (ม.39) ต้องจ่ายเท่าไหร่?

ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานในบริษัทเอกชน เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) มาก่อนแล้ว ได้ลาออกจากบริษัท แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครใช้สิทธิในมาตรา 39 แทน โดยการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ม.39 นั้นสามารถทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

  • ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 ด้วยตนเอง เป็นจำนวน 432 บาท ต่อเดือน หรือคิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 5,184 บาท ต่อปี

มาตรา 40 ต้องจ่ายเท่าไหร่?

ผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบ ฟรีแลนซ์ ที่มีอายุ 15 – 65 ปี ซึ่งต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39

เงินสมทบที่ต้องนำส่งมี 3 ทางเลือก

ทางเลือกที่ 1 จ่ายในอัตรา 70 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย
  • จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 840 บาท

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ
  • จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 1,200 บาท   

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
  • จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 3,600 บาท
     

ตุลาคม 67 ประกันสังคม \'ม.33 ม.39 ม.40\' จ่ายเท่าไหร่ ลาเกิน 30 วัน ขอรับเงินได้

ขั้นตอน เงื่อนไข เอกสารที่ต้องใช้ ขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม กรณีลาป่วยเกิน 30 วัน

ผู้ประกันตนมาตรา ม.33 ขอเงินทดแทนการขาดรายได้ 

1.ต้องส่งเงินสมทบอย่างน้อย 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่เจ็บป่วย

2.รับเงินทดแทนการขาดรายได้ได้ 50% ของเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท

3.เบิกได้ไม่เกิน 90 วัน สูงสุดไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

เอกสารที่ใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้

1.แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)

2.บัตรประจำตัวประชาชน

3.สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

4.สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

5.ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน

6.หนังสือรับรองของนายจ้าง

7.สถิติวันลาป่วยที่เกี่ยวข้อง

8.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย

9.สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี

ผู้ประกันตนมาตรา 39 ขอเงินทดแทนการขาดรายได้ 

1.ต้องส่งเงินสมทบอย่างน้อย 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่เจ็บป่วย

2.รับเงินทดแทนการขาดรายได้ได้ 50% คิดจากอัตราการนำส่งเงินสมทบ 4,800 บาท

3.เบิกได้ไม่เกิน 90 วัน สูงสุดไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

เอกสารที่ใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้

1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)

2.บัตรประจำตัวประชาชน

3.สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

4.สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

5.ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน

6.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย

7.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ขอเงินทดแทนการขาดรายได้ 

กรณีผู้ประกันตนมาตรา 40 (ม.40) มีการลาป่วยเกิน 30 วัน เงื่อนไขคือต้องส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน

ผู้ป่วยใน

  • ทางเลือกที่ 1 รับเงินทดแทน 300 บาท / วัน
  • ทางเลือกที่ 2 รับเงินทดแทน 300 บาท / วัน
  • ทางเลือกที่ 3 รับเงินทดแทน 300 บาท / วัน

ผู้ป่วยนอกที่พักรักษาตัว

  • ทางเลือกที่ 1 รับเงินทดแทน 200 บาท / วัน
  • ทางเลือกที่ 2 รับเงินทดแทน 200 บาท / วัน
  • ทางเลือกที่ 3 รับเงินทดแทน 200 บาท / วัน

ผู้ป่วยนอกที่ไม่ต้องพักฟื้นรักษาตัว

  • ทางเลือกที่ 1 รับเงินทดแทน 50 บาท / วัน
  • ทางเลือกที่ 2 รับเงินทดแทน 50 บาท / วัน
  • ทางเลือกที่ 3 ไม่ได้รับเงินทดแทน

ทั้งนี้ หากเป็นทางเลือกที่ 1 และ  2 สามารถรับเงินได้สูงสุด 30 วัน ส่วนทางเลือกที่ 3 สามารถรับเงินได้สูงสุด 90 วัน

เอกสารที่ใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้

1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตน ม.40 (สปส.2-01/ม.40)

2.บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา

3.ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือสำเนาเวชระเบียน (ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราสถานพยาบาล)

4.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี

ขั้นตอน ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และม.40 ยื่นขอเงินทดแทนลาป่วยเกิน 30 วัน

  1. ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ 
  2. ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคม จากนั้นรอรับเงิน ผ่านช่องทางต่างๆ ที่ผู้ประกันตนได้ยื่นข้อมูลไว้

โดยสามารถเช็กเอกสารสำหรับผู้ประกันตนแต่ละมาตราได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม (คลิก)