"โควิดวันนี้" สสจ.ชลบุรี รายงานสถานการณ์โควิด-19 ช่วงวันที่ 8-14 มกราคม 2566
"โควิดวันนี้" สสจ.ชลบุรี รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ ช่วงวันที่ 8-14 มกราคม 2566 จังหวัดชลบุรีมีผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 1,191 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย
"โควิดวันนี้" สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ที่ 2 ช่วงวันที่ 8-14 มกราคม 2566 จังหวัดชลบุรีมีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยืนยันรายใหม่ RT-PCR จำนวน 1,191 ราย และมีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย
"โควิดชลบุรีวันนี้" รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ที่ 2 วันที่ 8-14 มกราคม 2566 จังหวัดชลบุรีมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 1,191 ราย และมีผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 4 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 3 ราย ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย
ณ วันที่ 8-14 มกราคม 2566 จังหวัดชลบุรี มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย
- เพศชาย อายุ 87 ปี โรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ เบาหวาน
- ประวัติเสี่ยง ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
- วันที่เริ่มป่วย 6 มกราคม 2566
- วันที่เสียชีวิต 8 มกราคม 2566
- ประวัติวัคซีน เข็ม 1 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 และเข็ม 2 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564
แม้ว่าการระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ยังพบผู้ติดเชื้อ ซึ่งมีลักษณะการติดเชื้อคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และการรวมคนทำกิจกรรม มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ หากตรวจพบเชื้อ ยังจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ สำหรับผู้ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก และจำเป็นต้องเคร่งครัดมาตรการป้องกัน DMHT บางรายอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามดุลยพินิจของแพทย์
ซึ่งในขณะนี้โรคโควิด-19 มีอัตราป่วยตายต่ำลง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวยังมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต และอาการรุนแรง ควรได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบและได้รับการกระตุ้น แม้ว่าผู้สูงอายุอาจไม่ได้ไปยังสถานที่เสี่ยง แต่อาจพบผู้ติดเชื้อร่วมบ้าน ซึ่งเป็นวัยทำงาน วัยเรียน ที่นำเชื้อจากนอกบ้านมาสู่ผู้สูงอายุในบ้านได้ จึงขอความร่วมมือประชาชนชาวจังหวัดชลบุรี ร่วมใจกันฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ เพื่อลดอาการรุนแรง ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต และขอความร่วมมือในการเคร่งครัดสุขอนามัยส่วนบุคคล ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับ ผู้ที่สร้างภูมิต้านทานได้ไม่ดี ได้แก่
1. ผู้ป่วยไตวายในระยะที่ต้องล้างไต
2. ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์
3. ผู้ที่เป็นโรคภูมิต้านทานบกพร่อง
4. ได้รับยากดภูมิจากการปลูกถ่ายอวัยวะ
5. ผู้ที่อายุ เกิน 60 ปี ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
6. อายุเกิน 70 ปี ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ครั้งสุดท้ายเกิน 6 เดือน
7. ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และได้รับวัคซีนโควิด-19 ครั้งสุดท้ายเกิน 6 เดือน ควรจะได้รับการฉีดภูมิต้านทานสำเร็จรูป หรือ Long-Acting Antibody (LAAB) โดยติดต่อขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือหน่วยบริการล้างไตหรือฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่เข้ารับบริการเป็นประจำ