"โรคต้อกระจก" โรคที่ต้องรักษา สิทธิบัตรทองผ่าต้อกระจก ช่วยผู้ป่วยมากขึ้น

"โรคต้อกระจก" โรคที่ต้องรักษา สิทธิบัตรทองผ่าต้อกระจก ช่วยผู้ป่วยมากขึ้น

"ดวงตา" เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญกับทุกคนอย่างมาก อย่าง เลนส์ตา ที่ทำหน้าที่รวมแสง ให้ตกกระทบที่จอประสาทตา (retina) เพื่อให้เกิดสัญญาณไปยังสมอง และแปลให้เกิดเป็นภาพออกมา ดังนั้น หากเลนส์ตามีการขุ่น จะทำให้การมองเห็นลดลง โดยเรียกว่า โรคต้อกระจก (cataract) 

"ต้อกระจก"เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการขุ่นของ “เลนส์ตา” โดยปกติเลนส์ตาจะมีลักษณะใส ทำหน้าที่รวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาทำให้เกิดการมองเห็นภาพ เมื่อเกิดต้อกระจก จอประสาทตาจะรับแสงได้ไม่เต็มที่  ทำให้การมองเห็นผิดปกติไป อาจมีสายตาพร่ามัวเหมือนมองผ่านกระจกฝ้า ยิ่งเลนส์ตาขุ่นมากขึ้น การมองเห็นจะลดน้อยลงตามลำดับ ภาวะต้อกระจกเป็นภาวะซึ่งเกิดจากความเสื่อมตามวัย จึงพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

พญ.ปริยา จารุจินดา  จักษุวิทยา  ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดต้อกระจกอายุที่มากขึ้น คือ

  • การได้รับแสงอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดจัดเข้าตาเป็นเวลานานๆ
  • อุบัติเหตุที่ดวงตา ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง โดนของมีคม สารเคมี หรือสารรังสี
  • โรคตา หรือ โรคทางร่างกายบางโรค เช่น การติดเชื้อ โรคเบาหวาน
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • กรรมพันธุ์ และความผิดปกติแต่กำเนิด การติดเชื้อและการอักเสบตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่ในหลายรายต้อกระจกอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด

\"โรคต้อกระจก\" โรคที่ต้องรักษา สิทธิบัตรทองผ่าต้อกระจก ช่วยผู้ป่วยมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เร่งผ่าตัด ผู้ป่วย"ต้อกระจก" ลดปัญหาการสูญเสียการมองเห็น

รู้แล้วป้องกันได้...โรคต้อกระจก

ตามัว เห็นภาพซ้อนเห็นแสงกระจาย ระวังโรคต้อกระจก

แพทย์เตือนภัยเงียบ “โรคต้อกระจก”

เช็กอาการ "โรคต้อกระจก" ที่ไม่ควรมองข้าม

พญ.ปริยา อธิบายต่อว่าขณะที่อาการของโรคต้อกระจกนั้น จะเริ่มจากตามัวหรือมองเห็นไม่ชัดเจน ลักษณะคล้ายมีฝ้าหมอกบัง มองเห็นภาพซ้อน หรือมีอาการสายตาสั้นมากขึ้นเรื่อยๆ เปลี่ยนแว่นตาบ่อย มองเห็นระยะใกล้ได้ดีขึ้น มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะเวลาขณะขับรถในตอนกลางคืน สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นสีผิดเพี้ยนไปจากเดิม ซึ่งหากละเลยทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคต้อหิน การอักเสบภายในตา ซึ่งทำให้ เกิดอาการปวดตา ตาแดง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้

แนวทางการรักษา

ในระยะเริ่มแรกของการเป็นต้อกระจก จะพบว่ามีค่าสายตาที่เปลี่ยนไป  การใส่แว่นตาเพื่อปรับค่าสายตาให้ เหมาะสมจะช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นได้ จนกระทั่งต้อกระจกเป็นมากขึ้น วิธีการรักษาจะเป็นการผ่าตัดต้อกระจก และใส่เลนส์ตาเทียม ในปัจจุบันยังไม่มียาหยอดตาหรือยารับประทานใด ๆ ที่จะสามารถรักษาต้อกระจกได้

\"โรคต้อกระจก\" โรคที่ต้องรักษา สิทธิบัตรทองผ่าต้อกระจก ช่วยผู้ป่วยมากขึ้น

 

การรักษาต้อกระจกโดยการผ่าตัด

1) วิธีสลายต้อกระจกด้วยเครื่องสลายต้อ (Phacoemulsification With Intraocular Lens)

เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน แผลที่กระจกตาเล็กเพียง 3 มม. แพทย์จะสอดเครื่องมือสลายต้อเข้าไป ที่ตัวต้อกระจก ใช้พลังงานความถี่สูงเท่าระดับอัลตราซาวนด์เข้าสลายต้อกระจกจนหมดจึงใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่

2) วิธีผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens)

วิธีผ่าตัดดั้งเดิมที่ใช้ในกรณีที่ต้อกระจกสุกและแข็งมาก ๆ จนไม่เหมาะกับการ สลายด้วยเครื่อง จักษุแพทย์จะเปิดแผล บริเวณครึ่งบนของลูกตายาวประมาณ 10 มม.เพื่อ เอาตัวเลนส์ตาที่เป็นต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่แล้วจึงเย็บปิดแผลด้วยไหมเย็บแผล

ทั้ง 2 วิธีสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นได้ปกติอีกครั้งหลังได้รับการผ่าตัด

\"โรคต้อกระจก\" โรคที่ต้องรักษา สิทธิบัตรทองผ่าต้อกระจก ช่วยผู้ป่วยมากขึ้น

 

ป้องกัน -ชะลอการเกิดโรคต้อกระจก

ส่วนวิธีในการป้องกัน และชะลอให้ไม่เกิดโรคต้อกระจก สามารถปฎิบัติได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดต้อกระจก 
  • ใส่แว่นกันแดดหรือกางร่มก่อนออกกลางแจ้ง
  • รักษาและควบคุมโรคประจำตัวให้ดี เช่น เบาหวาน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆโดยไม่มีข้อบ่งชี้

ต้อกระจกเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจคัดกรองสายตาเป็นระยะ หรือเมื่อมีอาการที่สงสัยว่า

อาจจะเป็นต้อกระจก แนะนำให้ไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป

\"โรคต้อกระจก\" โรคที่ต้องรักษา สิทธิบัตรทองผ่าต้อกระจก ช่วยผู้ป่วยมากขึ้น

รพ.เมตตาประชารักษ์ วัดไร่ขิง  ผ่าต้อกระจกสิทธิบัตรทองกว่า 1.7 พันดวงตา

นพ.อาคม ชัยวีระวัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) เปิดเผยว่า ในปี 2565 โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ วัดไร่ขิง ได้ให้บริการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมแก่ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) จากทั่วประเทศที่ส่งต่อมารักษา คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1,710 ดวงตา จากจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดตาต้อกระจกทั้งหมด 5,673 ดวงตา 

รวมถึงขณะนี้กำลังมีโครงการเตรียมขยายบริการไปสู่การผ่าตัดนอกเวลามากขึ้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านจักษุให้กับประชาชน โดยเรียกเก็บเพียงค่าบริการนอกเวลา ค่ารักษาอื่นๆ ใช้ตามสิทธิเช่นเดิม เพราะผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่มารับบริการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมถ้าไม่มีความซับซ้อนมาก หรืออาการที่น่าเป็นห่วง หลังผ่าตัดเสร็จก็สามารถกลับบ้านได้เลย หรือที่เรียกว่าผ่าตัดวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) โดยปัจจุบันทางโรงพยาบาลสามารถผ่าตัดตาให้ผู้ป่วยได้ 40-50 รายต่อวัน ซึ่งหากยกระดับศักยภาพแล้วอนาคตอาจไปถึง 60-70 รายต่อวัน 

นพ.อาคม กล่าวต่อไปว่า ภายใต้อัตราการเบิกจ่ายด้านการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กำหนดมานี้โรงพยาบาลก็สามารถที่จะบริการได้ไม่เป็นปัญหา รวมถึงตัวเลนส์ภายใต้งบประมาณจำนวนนี้ก็มีคุณภาพและมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก และแน่นอนว่าทางทีมแพทย์ของโรงพยาบาลก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับประชาชน 

\"โรคต้อกระจก\" โรคที่ต้องรักษา สิทธิบัตรทองผ่าต้อกระจก ช่วยผู้ป่วยมากขึ้น

“ผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่มารับบริการส่วนใหญ่จะถูกส่งต่อมาจากสถานพยาบาลในพื้นที่ เพราะเป็นกรณีที่เกินขีดความสามารถจะดูแลรักษาได้ แต่ผู้ป่วยบางส่วนก็เลือกที่จะมารับบริการที่นี่เลยแม้จะอยู่คนละจังหวัด ซึ่งทางโรงพยาบาลก็พร้อมให้บริการทุกกลุ่มโรคทางจักษุ ตั้งแต่เริ่มต้นตรวจคัดกรอง ดูแลรักษา ตลอดจนฟื้นฟู และสิทธิประโยชน์ของบัตรทองก็ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มใดๆ ทั้งสิ้น” นพ.อาคม ระบุ 

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวอีกว่า เรื่องดวงตา แม้จะไม่ใช้โรคที่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่เหล่านี้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยตรง ทั้งอาการของโรค ความเป็นอยู่ของครอบครัว รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหลายอย่างในการดำเนินชีวิต ดังนั้นการช่วยเหลือในส่วนนี้จึงมีความจำเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าโรคอื่นๆ 
 

“เราต้องยอมรับว่าทุกคนพอถึงเวลาก็มีโอกาสเป็นโรคตาต้อกระจก เพราะเป็นเรื่องของความเสื่อมตามวัย อีกทั้งไทยเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นั่นหมายถึงจำนวนผู้ป่วยโรคนี้ก็จะมีมากขึ้น และถ้าไม่ได้การรักษาที่ทันท่วงที ก็เสี่ยงที่จะตาบอดได้ ซึ่งการที่มีสิทธิประโยชน์ที่รองรับการรักษาเลยมีความสำคัญอย่างมาก” นพ.อาคม กล่าว 

\"โรคต้อกระจก\" โรคที่ต้องรักษา สิทธิบัตรทองผ่าต้อกระจก ช่วยผู้ป่วยมากขึ้น

ทั้งนี้ จากประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อรับบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ มีรายละเอียดการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ที่เกี่ยวกับตาต้อกระจก ดังนี้

1.การผ่าตัดในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สำหรับการผ่าตัดผู้ป่วยระดับสายตามองไม่เห็น และภาวะสายตาเลือนรางรุนแรง (Blinding & Severe low vision) จ่ายอัตราข้างละ 7,000 บาท สำหรับผ่าตัดผู้ป่วยระดับสายตาอื่นๆ ข้างละ 5,000 บาท และสำหรับการผ่าตัดที่มีภาวะแทรกซ้อน จ่ายอัตราข้าละ 9,000 บาท 

2.ค่าเลนส์แก้วตาเทียม กรณีเลนส์พับได้อัตราข้างละ 2,800 บา และเลนส์แข็งอัตราข้างละ 700 บาท เฉพาะเลนส์แก้วตาเทียมตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยรายการอุปกรณ์ อวัยวะเทียม และข้อบ่งชี้ในการบำบัดรักษาโรค

\"โรคต้อกระจก\" โรคที่ต้องรักษา สิทธิบัตรทองผ่าต้อกระจก ช่วยผู้ป่วยมากขึ้น