โรคหน้าร้อนอาจถึงตาย ไม่ได้มีแค่ 'ฮีทสโตรก'
กรณีการเสียชีวิตของเอ๋ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ที่ถูกระบุว่าเกิดจากโรคฮีทสโตรก แต่ในช่วงหน้าร้อนยังมีโรคและภัยสุขภาพที่กรมควบคุมโรคเตือนให้ระวังอีก 5 โรคและ 1 ภัยสุขภาพ อาจถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน โดยเฉพาะ ‘เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน’
เมื่อช่วงเดือนมี.ค.2566 กรมควบคุมโรคได้ออกประกาศ เรื่อง การป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ที่เกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2566 ระบุว่า ปี 2566 ฤดูร้อนของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนก.พ.ไปจนถึงกลางเดือนพ.ค. อากาศร้อน และแห้งแล้งเหล่านี้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด
โดยเฉพาะเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ และอาหาร ปกติโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำสามารถเกิดได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูร้อนที่มีสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ซึ่งส่งผลให้อาหารบูดเสียง่าย รวมถึงความแห้งแล้ง อาจทำให้เกิดสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม และก่อให้เกิดโรคติดต่อต่าง ๆ
ขอให้ประชาชนดูแลร่างกายและสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน 5โรค และ 1.ภัยสุขภาพ ดังนี้
1. โรคอาหารเป็นพิษ(Food Poisoning)
เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อน ได้แก่ สารพิษ หรือทอกชิน (Toxin) ที่แบคที่เรียสร้างไว้ในอาหาร สารเคมีต่าง ๆ เช่น โลหะหนัก สารหรือวัตถุมีพิษ ซึ่งพบในพืชและสัตว์ เช่น เห็ด ปลา หอย และอาหารทะเลต่าง รวมทั้งกลุ่มเชื้อโรคที่มีการสร้างสารพิษในสำไส้
ความรุนแรงของโรคจะส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้ โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดและปริมาณของเชื้อก่อโรคหรือสารพิษที่ได้รับ รวมถึงอายุและระดับภูมิต้านทานโรคของผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กเล็ก คนชรา และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงและการเกิดโรคแทรกซ้อนหรือเสียชีวิตได้
จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พบว่า มีการรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษตลอดทั้งปี โดยในปี พ.ศ. 2565ที่ผ่านมา จำนวน 70,010 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต
อาการอาหารเป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อย่างน้อย 3 ครั้ง หรือถ่ายปนมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง อาจมีอาการอาเจียนและขาดน้ำร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่มักหายได้เอง
แต่หากมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับการถ่ายอุจจาระเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ช็อก หมดสติ และภาวะขาดสารอาหารในช่วงหลัง ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะเต็กเล็กและผู้สูงอายุเกิดโรคแทรกซ้อน เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้
2.โรคอหิวาตกโรค(cholera)
เกิดจากเชื้อ Vibrio choterae โดยสายพันธุ์ที่มักทำให้เกิดอาการรุนแรง คือ serogroup 01 และ 0139 ติดต่อจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนหรือพิษของเชื้อปะปนอยู่ จะแสดงอาการของโรคภายใน 12ชั่วโมง ถึง 5 วันหลังจากที่ลำไส้ได้ดูดซึมอาหารหรือน้ำปนเปื้อนที่บริโภคเข้าไป
อาการและอาการแสดงของโรค ได้แก่ ถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีภาวะขาดน้ำรุนแรง และอาจส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้
ปี 2565 พบว่ามีการรายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรค จำนวน 5 ราย และเสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.01 ต่อประชากรแสนคน
การติดต่อ เกิดได้เฉพาะจากคนสู่คนเท่านั้น ผู้ที่ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะจะขับเชื้อออกมาทางอุจจาระเป็นหลัก (และทางปัสสาวะเป็นส่วนน้อย) โดยสามารถรับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ผ่านทางการบริโภคอาหารและน้ำ หรือการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่มีเชื้อ
อาการ ไข้สูงลอยมากกว่า 1 สัปดาห์ เป็นอาการเด่น โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน อาจมีใข้สูงได้ถึง 40.5 องศาเซลเซียส และมีอาการร่วม คือ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืดหรือท้องผูก ในบางรายอาจมีถ่ายเหลวหรือมีอาการผื่นขึ้นขึ้นตามหน้าอกหรือลำตัว หากไม่ได้รับการรักษา อาจมีอาการเกิดขึ้น เช่น มีอาการเพ้อพราะพิษไข้ หรืออ่อนเพลีย ซึม ปิดตาไต้ไม่สนิท หรือปิดตาลงได้ครึ่งเดียว รวมถึงอาจมีความรุนแรงจนทำให้เกิดอาการโคม่าได้
3.โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
(Acute Diarrhea) เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น โปรโตซัว หนอนพยาธิ ปรสิต แบคทีเรีย หรือ เชื้อไวรัส รวมไปถึงการแพ้น้ำตาลแลคโตสในนม และการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมี
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2561-2565) พบการรายงานผู้ป่วยตลอดทั้งปี แต่จะมีการรายงานสูงขึ้นในต้นปีและค่อย ๆ ลดลงไปตอนปลายปี โดยจะพบการรายงานสูงในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม โดยในปี พ.ศ.2565 พบรายงานผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน จำนวน 643,281 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 972.14ต่อประขากรแสนคน ไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต
และในปี พ.ศ. 2566 กองระบาดวิทยา ได้รับรายงานผู้ป่วยสะสม ระหว่างวันที่ 1-31 ม.ค.2566 จำนวน 63,380ราย คิดเป็นอัตราป่วย 95.78 ต่อประชากรแสนคน ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
การติดต่อ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อก่อโรค รวมไปถึงการล้างมือไม่สะอาดก่อนการเตรียมหรือปรุงอาหาร หรือก่อนรับประทานอาหาร และภาชนะที่ใช้สกปรก มีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค
อาการป่วยจะเกิดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของเชื้อหรือสารพิษที่ผู้ป่วยได้รับโดยทั่วไปในรายที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่รุนแรง มักจะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการอาเจียน และท้องเสียจนร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรงได้
4.โรคบิด (Dysentery)
เกิดขึ้นได้กับทุกวัย เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มชิเกลลา หรือโปรโตชัวอมีบาในลำไส้ผู้ที่มีเชื้อของโรคบิดจะสามารถเป็นพาหะและแพร่เชื้อได้ตลอตเวลาที่มีอาการ เพราะจะมีเชื้อออกมากับอุจจาระทุกครั้งที่ถ่าย และเชื้อจะค่อย ๆ หมดไปหลังจาก 2-3 สัปดาห์ ส่วนใหญ่ติตต่อและแพร่ระบาตในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิด เช่น ครอบครัว ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียน
ในปี พ.ศ. 2565 พบรายงาน ผู้ป่วยโรคบิด จำนวน 1,572 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.38 ต่อประซากรแสนคน ไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต
ในปี พ.ศ. 2566 กองระบาดวิทยา ได้รับรายงานผู้ป่วยสะสม ระหว่างวันที่ 1-31 ม.ค.2566 จำนวน 132 ราย ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
การติดต่อ โรคบิดสามารถติดต่อผ่านการรับประทานอาหารและน้ำที่มีเชื้อก่อโรคโรคปนเปื้อน ซึ่งเชื้อก่อโรคจะแพร่กระจายออกมาพร้อมกับอุจจาระของผู้ติดเชื้อทุกครั้งที่มีการขับถ่าย และเมื่อเชื้อปนเปื้อนไปสู่แหล่งน้ำ อาหาร หรือตกค้างอยู่ที่มือของผู้ป่วย อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายได้
อาการ ผู้ป่วยจะมีไข้ ร่วมกับถ่ายเหลว อุจจาระมีมูกหรือมูกปนเลือด มีอาการเหมือนถ่ายไม่สุดปวดเบ่ง คลื่นไส้ อาเจียน ในเด็กอาจมีอาการชักร่วมด้วย
5.โรคไวรัสตับอักเสบ เอ และ อี
โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อจากกรรับประทานอาหารและน้ำ ได้แก่ ตับอับเสบจากเชื้อไวรัส ชนิด เอ และอี ซึ่งติดต่อโดยการสัมผัสกับสิ่งสกปรกและอุจจาระที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือผู้ที่ติดเชื้อหรือจากการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ผิดสุขอนามัย เช่น การไม่ปรุงให้สุก ไม่ล้างมือหลังสัมผัสสิ่งสกปรก เป็นต้น
อาการ ไวรัสตับอักเสบ เอ และ อี มีอาการที่คล้ายกัน คือ พบอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารและมีอาการดีซ่าน ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่หายได้เองโดยไม่ต้องรักษา นอกจากนี้ยังมีผู้ติดเชื้ออีกมากที่ไม่มีอาการพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
- ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A) ปี พ.ศ. 2560มีอัตราป่วยสูงขึ้น เนื่องจากมีการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอ ทำให้อัตราป่วยสูงขึ้นเป็น 1.99 ต่อแสนประชากร และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2566 ถึง 8 ก.พ. พบผู้ป่วย 28 ราย
- ไวรัสตับอักเสบชนิดอี (Hepatitis E) ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2561-2565) มีรายงานผู้ป่วยตลอดทั้งปี มีแนวโน้มเพิ่มและลดสลับกันในแต่ละปี มีอัตราป่วยอยู่ระหว่าง 0.05-1.1 ในปี 2566 ถึง 8ก.พ. พบผู้ป่วย 1 ราย
แนวทางการป้องกันโรค
1. สร้างความตระหนักด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังการประกอบอาหาร รับประทานอาหาร และภายหลังจากการเข้าห้องน้ำหรือห้องส้วมทุกครั้ง
2. รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หากอาหารค้างคืนควรอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทานทุกครั้ง
3. ดื่มน้ำที่สะอาด หรือน้ำต้มสุก หรือน้ำบรรจุขวดที่มีฝาปิดสนิท
4. ภาชนะที่ใช้สำหรับการเก็บรักษาที่ปรุงสุกแล้ว ควรแยกจากอาหารหรือวัตถุดิบที่ยังไม่ปรุงเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค
5. การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสถานที่ในชุมขน รวมถึงสถานที่เตรียม ปรุง และประกอบอาหาร ห้องน้ำห้องส้วม ควรให้ถูกหลักสุขาภิบาล กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหาร และสิ่งปฏิกูล เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
6. ผู้ประกอบอาหารและพนักงานเสิร์ฟอาหาร ควรมีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หมั่นล้างมือ ก่อนสัมผัสอาหารทุกครั้ง ดูแสรักษาความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบอาหาร กำจัดขยะมูลฝอย และเศษอาหารภายในห้องครัวทุกวัน รวมไปถึงการสวมใส่หมวกคลุมผมและผ้ากันเปื้อนทุกครั้ง หากมีอาการอุจจาระร่วงควรหยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะหายหรือตรวจไม่พบเชื้อในอุจจาระ
7. สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบ เอ มีวัคซีนป้องกันโรค แต่ไม่ได้อยู่ในโปรแกรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค แต่มีการให้บริการที่สถานพยาบาลบางแห่ง โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน
วัคซีนสามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันเป็นกรณีพิเศษ ได้แก่ ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ เอ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับตับอย่างเรื้อรัง ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ทั้งจากคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ดูแลผู้ป่วย หรือผู้ที่ทำงานในบ่อบำบัตน้ำเสีย ผู้ที่ต้องเดินทาง ไปยังพื้นที่ที่มีการระบาต
6.เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์การเสียชีวิตเนื่องจากภาวะอากาศร้อน(Hot Weather related Deaths Surveillance) โดยการรวบรวม ตรวจสอบข้อมูลการเสียชีวิตที่อาจเกี่ยวเนื่องกับภาวะอากาศร้อน จากแหล่งข่าวและสื่อต่าง ๆ รายงานจากสถานบริการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงานอื่น ๆ ที่แจ้งข่าว จากข้อมูลการเฝ้าระวังเสียชีวิตเนื่องจากภาวะอากาศร้อน (Hot-Weather deaths surveillance)
ระหว่างเตือนมี.ค.-พ.ค.ของทุกปี พบว่า มีรายงานผู้เสียชีวิตที่เข้าข่ายการเฝ้าระวังการเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนระหว่างปี พ.ศ. 2560-2564 จำนวน 24,18,57 ,12 และ7 ราย
ในปี 2565 ระหว่างวันที่ 2 มี.ค.-31 พ.ค. ได้รับรายงานการเสียชีวิตที่สงสัยเกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศร้อน 8 ราย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และประกอบอาชีพรับจ้าง
พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง
ข้อเสนอแนะมาตรการการป้องกันการเกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน
1. ควรใส่ใจสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศและอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์รอบตัว ที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน และจัดสภาพแวด ล้อมที่อยู่อาศัยให้มีการะบายอากาศที่ดี
2. งตออกกำลังกาย ทำงานหรือกิจกรรมกลางแดดจ้าเป็นเวลานาน และไม่ออกแรงกำลังหรือทำงานหนักมากเกินไปในวันที่มีอากาศร้อน
3. ปรับสภาพร่างกายให้สามารถทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนได้อย่างเหมาะสม ดูแลร่างกายไม่ให้ขาดน้ำโดยการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย อย่างน้อยวันละ ๘ - ๑๐ แก้ว
4. สวมเสื้อผ้าเหมาะสมกับสภาพอากาศและระบายเหงื่อ และความร้อนได้ดี ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เสพยาเสพติด ในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อน