เปิดเทอมนี้ เด็กไม่ต้องใส่ 'หน้ากากอนามัย'ทุกราย คำแนะนำให้ใส่บางกลุ่ม

เปิดเทอมนี้ เด็กไม่ต้องใส่ 'หน้ากากอนามัย'ทุกราย คำแนะนำให้ใส่บางกลุ่ม

การเปิดเทอมในช่วงกลางเดือนพ.ค.2566 มีคำแนะนำจากกรมควบคุมโรคในการป้องกันโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจ ที่ปีนี้แนะนำเรื่องการใส่หน้ากากอนามัยของเด็กต่างจากปีก่อน 

Key Points:

  • คาดการณ์สถานการณ์โรคระบาดช่วงฤดูฝน พ่วงกับช่วงเปิดเทอม น่าจะมีโรคทางเดินหายใจ 2 โรคพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นพร้อมกัน
  • คำแนะนำในการป้องกันโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจในสถานศึกษา เฉพาะศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษา
  • ข้อปฏิบัติให้ใส่หน้ากากอนามัยและไม่ควรใส่สำหรับนักเรียน  รวมถึง เด็กกลุ่มพิเศษ (เด็กกลุ่มที่มีโรคทางสมองหรือโรคทางระบบหายใจ เป็นกลุ่มเสี่ยง (608)

จับตา โควิด-ไข้หวัดใหญ่หน้าฝน-เปิดเทอม

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า  ในปี 2566 มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะพบการระบาดของไข้หวัดใหญ่คู่กับโควิด-19   คาดว่าการระบาดจะทำให้พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มากกว่าในปีก่อนที่จะมีโควิด-19 อาจจะพบได้หลายหมื่นราย
      ดังนั้น สำคัญมากที่กลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนป้องกันทั้ง 2 โรค ซึ่งเดือน พ.ค.นี้ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ก็จะรณรงค์ในเรื่องนี้ นอกจากนี้ ในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ผู้ป่วยโควิดที่เป็นเด็กอาจจะเพิ่มขึ้นด้วย จากการที่จะเปิดเทอม รวมถึง โรคทางเดินหายในอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
จับตา อีก 3 สัปดาห์ ยอด 'ป่วยโควิดในเด็ก'เพิ่ม
'วัคซีน' ปี 66 ที่ต้อง-ควรฉีด แยกตามวัย รวมผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ
อาการโควิด XBB.1.16  - ไข้หวัดใหญ่ ปีนี้ระบาดคู่ 2 โรค

 ข้อมูลกรมควบคุมโรค รายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ 1 ม.ค.-1 เม.ย.2566  มีรายงานผู้ป่วย 38,291ราย อัตราป่วย 57.87ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย ในจังหวัดสงขลา อัตราป่วยตาย 0.003 สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A/H1N1

      ขณะที่จำนวนผู้ป่วยโควิด-19ที่เข้ารับการรักษาในรพ.สะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.-15 เม.ย. 2566 มีรายงาน 5,4823 ราย เสียชีวิตสะสม 273 คน  

     กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่พบในกลุ่มอายุ 0–4 ปี เท่ากับ 282.04 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 5–14 ปี 219.73ต่อประชากรแสนคน และกลุ่มอายุ 15–24 ปี 40.18 ต่อประชากรแสนคน

กรณีเด็กควร-ไม่ควรใส่หน้ากากอนามัย

       ในการเตรียมการก่อนเปิดเทอม 2566 กรมควบคุมโรค  ออกคำแนะนำในการป้องกันโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจในสถานศึกษา เฉพาะศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษา ระบุว่า

         ประเทศไทยมีแนวโน้มโรคโควิด-19ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้มีการดำเนินการแผนงานป้องกันโรคเมื่อเข้าสู่โรคประจำถิ่น จึงมีการผ่อนคลายมาตรการบางอย่าง เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิต อย่างปกติให้ใกล้เคียงที่สุดเมื่อเทียบกับก่อการระบาด

เปิดเทอมนี้ เด็กไม่ต้องใส่ \'หน้ากากอนามัย\'ทุกราย คำแนะนำให้ใส่บางกลุ่ม

     จึงได้จัดทำคำแนะนำในการป้องกันโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจในสถานศึกษา เฉพาะศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมศึกษา ดังนี้

     สำหรับนักเรียน

1. แนะนำให้สวมหน้ำกากอนามัย เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้

  • เด็กที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรั้ง โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ภาวะอ้วน HIV โรคมะเร็ง ฯลฯ
  • เมื่อมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไอ หวัด เจ็บคอ มีเสมหะ ปวดศีรษะ
  •  เมื่อจำเป็นต้องเดินทางไปสถานที่สาธารณะ รวมถึงการเดินทางโดยใช้บริการสาธารณะ หรือ เข้าไปในสถานที่เสี่ยง แออัด ปิดทึบ เช่น โรงพยาบาล ขนส่งสาธาณะ สถานดูแลผู้สูงอายุ ฯลฯ

 2. แนะนำไม่ควรสวมหน้ากากอนามัย กรณี ดังต่อไปนี้

  •  เด็กอายุต่ำกว่ำ 5 ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี
  •  ขณะเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง
  •  ขณะเรียนวิชาที่ต้องใช้การอ่านสีหน้า หรืออ่านปาก
  •  อยู่ในห้องเรียนที่มีการระบายอากาศดี

คำแนะนำอื่นในการป้องกัน

  • แนะนำเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามที่สธกำหนด
  • สร้างสุขนิสัย โดยเฉพาะการหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์หลังทำกิจกรรมทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานที่สาธารณะ ฯลฯ

 สำหรับเด็กกลุ่มพิเศษ (เด็กกลุ่มที่มีโรคทางสมองหรือโรคทางระบบหายใจ เป็นกลุ่มเสี่ยง (608) เป็นกลุ่มที่ต้องระวังหากรับเชื้อจะมีอาการรุนแรงได้

1. ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการรับเชื้อจากคนรอบข้ำง เมื่อไปสถานที่สาธารณะโดยเฉพาะในสถานที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเท

2. ไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย ขณะทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง หรืออยู่ในสถานที่เปิดอากาศถ่ายเทดี

3.ผู้ที่ดูแลใกล้ชิดเด็กกลุ่มนี้ควรสวมหน้ากากอนามัยขณะทำกิจกรรมกับเด็ก

สำหรับสถานศึกษา

 1. ดำเนินการตรวจคัดกรองเด็กและบุคลากร ก่อนเข้าเรียน (คัดกรองอาการเจ็บป่วย)

2. แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ (เน้นให้ผู้ปกครองนำเด็กกลับบ้าน)

3. รักษาความสะอาดสิ่งแวดล้อม สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ของเล่น

 4. จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัย และสนับสนุนให้เด็กและบุคลากรใช้ เช่น จุดบริการล้างมือ ด้วยสบู่ น้ำสะอาด เจลแอลกอฮอล์ฯลฯ

ทั้งนี้ กรณีนอกเหนือจากคำแนะนำ สถานศึกษาสามารถพิจารณาให้เด็กสวมหน้ากากอนามัยได้ ตามความเหมาะสม ตามดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษานั้นๆ