‘9CARE’ รพ.พระรามเก้า เสมือนยกรพ.รพ.ไว้ที่บ้าน
รพ.พระรามเก้ารุกรพ.ดิจิทัล เปิดตัวแอป ‘9CARE’ ดูแลผู้ป่วยส่วนบุคคล เสมือนยกรพ.ไว้ที่บ้าน นำร่อง 4 โรค แพทย์-พยาบาลมอนิเตอร์ค่าสุขภาพแบบเรียลไทม์ ผ่านการเชื่อมต่ออุปกรณ์วัดค่าต่างๆ ระบบแจ้งเตือน-ให้คำแนะนำเพิ่มเติม หากพบน่าห่วง พร้อมปุ่มขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน
Keypoints:
- รพ.พระรามเก้า เดินหน้ายุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัล แม้ไม่มีสาขารพ.ในที่ต่างๆ แต่สามารถดูแลคนไข้ได้ถึงบ้าน ผ่านนวัตกรรมทางการแพทย์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาที่ต่อเนื่อง
- เปิดตัวแอปพลิเคชัน “9CARE” บริการแผนดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล นำร่องในผู้ป่วย 4 โรค ภายใต้แนวคิด “4 D” โรคไต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
- ฟังก์ชัน 9CARE เชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัดค่สุขภาพต่างๆ ผสานกับแผนการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล ผ่านการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ มอนิเตอร์ค่าสุขภาพแบบreal time และปรึกษาแพทย์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ด้วยระบบ Telemedicine
พระรามเก้าสู่รพ.ดิจิทัล
เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2566 ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า มีการแถลงข่าว “เปิดตัวแอปพลิเคชัน 9CARE” นพ.วิทยา วันแพ็ญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า รพ.พระรามเก้าขายตัวขึ้นเรื่อยๆ และกำลังเปิดตัวรพ.ใหม่แต่เป็นรพ.ในระบบดิจิทัล ซึ่งสามารถดูแลผู้ป่วยและผุ้ไม่ป่วยได้ แม้ผู้รับบริการไม่ได้มาที่รพ. ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์ของรพ.พระรามเก้า ต้องการที่จะไปเป็นรพ.ดิจิทัล เนื่องจากรพ.พระรามเก้าไม่มีสาขาในที่อื่น แต่สามารถที่จะขยายสาขาโดยไม่จำเป็นต้องไปอยู่ที่จังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่สามารถเข้าไปที่บ้านของคนไข้ได้ ผ่านระบบดิจิทัลที่เข้ามาช่วยในการดำเนินการ
แอปพลิเคชัน 9CARE
รศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน และที่ปรึกษาศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์ รพ.พระรามเก้า กล่าวว่า การขยายรูปแบบการให้บริการแพทย์ทางไกล หรือ Decentralized Healthcare Sevices และให้การรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการติดตามการรักษาที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มโรคยากซับซ้อน ที่จะต้องมีการดูแลเป็นพิเศษจากทีมแพทย์เฉพาะทาง
รพ.พระรามเก้า จึงมีความตั้งใจที่จะสร้างนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มีผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่ต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปจนถึงที่บ้าน โดยการนำเทคโนโลยีดิจิตอล เข้ามาผสมผสานการให้การบริการในมาตรฐานอันดีเยี่ยมของรพ.พระรามเก้า เพื่อยกระดับการดูแลรักษาโรคยากซับซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา เสมือนยกโรงพยาบาลมาไว้ที่บ้าน
ฟังก์ชั่น 9CARE
รพ.พระรามเก้าจับมือกับ บริษัท เซนโกรท จำกัด (Zanegrowth) ร่วมพัฒนา solution สร้างบริการทางการแพทย์ ผสานประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาล เพื่อแอปพลิเคซัน 9CARE สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัดค่สุขภาพต่างๆ ผสานกับแผนการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล ผ่านการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์และพยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญโรคเฉพาะทาง สามารถมอนิเตอร์ค่าสุขภาพแบบreal time และปรึกษาแพทย์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ด้วยระบบ Telemedicine
สำหรับแอปพลิเคชัน 9CARE จะมีแผนการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล (Personalcare plan) ที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้บริการในแต่ละท่าน โดยมีแพทย์เป็นผู้สร้างแผนการดูแลร่วมกับผู้ใช้บริการและมีทีมพยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญประสานงานกับทีมแพทย์ คอยให้การดูแลตลอดแผนอย่างใกล้ชิด ซึ่งแอปพลิเคชันนี้จะทำการเชื่อมโยงกับบริการทางการแพทย์ต่างๆ ภายในโรงพยาบาล
อาทิ ค่าสุขภาพต่างๆ ที่แพทย์ต้องการมอนิเตอร์ โดยแอปพลิเคชัน 9CARE จะเชื่อมโองอุปกรณ์ในการวัคค่าสุขภาพที่คนไข้มีอยู่ที่บ้าน ได้แก่ เครื่องวัดคามดันโลหิต เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องวัดระดับออกชิเจนในเลือด เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย เครื่องชั่งน้ำหนัก และ smart watch
ภายในแอปฯยังมีปุ่มขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน ซึ่งเมื่อผู้ป่วยกด ก็จะเด้งไปยังหน้าจอของญาติ แม้ว่าญาติจะไม่ได้เปิดหน้าแอปไว้ ก็จะแสดงที่หน้าจอโทรศัพท์ทำให้ญาติรู้ได้ว่าคนไข้ต้องการความช่วยเหลือ
9CARE นำร่องบริการ 4 โรค
การให้บริการของ 9CARE เปรียบเสมือนกับการยกโรงพยาบาลเข้ามาไว้ที่บ้านและยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพให้กับคนในครอบครัวของผู้ป่วยรับทราบได้ด้วย ซึ่งเป้าหมายหลัก คือการสร้างมิติใหมในการดูแลผู้ป่วยภายใต้ รูป แบบ 4D(4ดี) ประกอบด้วย ไตดี ใจดี กินดี หุ่นดึ คือ เป็นบริการในการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
ปัจจุบันแอปพลิเคชั่น 9CARE รองรับทั้งระบบ OS และ Android และสามารถดาวน์โหลดได้จากApp store และ Play Store ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ หรือ gadget ที่เชื่อมกับ application ดังนี้ เครื่องวัดโลหิต - OMRON, Beurer , เครื่องวัดระดับออกซิจนในเลือด - TAIDOC, Beurเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด - ACCU-CHEK , เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย - TAIDOC, Beurer,Bluedot , เครื่องซั่งน้ำหนัก - Mi, Beurer, Bluedot , และ Smart watch - Apple Watch, Garmin, Fitbitเป็นต้น
ขยายผล 9 CARE
ในอนาคตรพ.พระรามเก้ามีแผนที่จะต่อยอดขยายการบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการเข้าถึงบริการการแพทย์ได้อย่างสมบูรณ์ อาทิ1. การรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ตรวจวัดสุขภาพประเกทต่าง ให้หลากหลายมากขึ้น 2. การทำนัดและขอปรึกษาแพทย์ที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึงผ่านช่องทางต่าง ๆ (OmniChannel)3. Wellness and Ftness Program โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและลดความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยหรือโรคต่างๆ
รวมถึง เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ในระบบออนไลน์ ร่วมกับ partnership ในธุรกิจต่างๆ เช่น คอนโดและหมู่บ้าน เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานในวงกว้าง อีกทั้ง นำแพลตฟอร์มไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับองค์กรต่าง ๆ ในการดูแลบุคลากร เช่น ห้องพยาบาลของสำนักงานต่างๆ โรงเรียน หรือ nursing home เป็นต้น อีกทั้ง ขยายการใช้งานไปยังกลุ่มคนไข้ในกลุ่มโรคซับซ้อนต่าง ๆ ให้มากขึ้น
พัฒนา Avatar (พยาบาลเสมือน)
นอกจากนี้ มีแผนที่จะนำเทคโนโลยี เช่น chat GPT เข้ามาเป็นตัวเสริมในด้านการบริการให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การช่วยให้ข้อมูล ถาม- ตอบด้นสุขภาพเบื้องต้น, การพัฒนา Avatar (พยาบาลเสมือน) บนTabletเพื่อให้คนไช้สามารถพูดคุยและโต้ตอบกับ Avatar Caregiver ได้เสมือนมีพยาบาลอยู่เคียงข้าง, อีกทั้งตัว Tablet จะใช้ imaging AI ในการดูแลว่าคนไข้หกล้มหรือต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ โดยที่คนไข้ไม่ต้องกด หรือใช้อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือในบ้าน
และแผนพัฒนาการให้บริการด้านการแพทย์อื่น ๆ ในอนาคตที่จะสามารถครอบคลุมการดูแลรักษาคนไข้อย่างต่อเนื่องได้ ไม่ว่าจะเป็น การตรวจเลือดถึงบ้าน การบริการให้น้ำเกลือ รวมถึงให้การพยาบาลดูแลที่บ้าน เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้ จะเปรียบเสมือน การที่เรายกโรงพยาบาลมาไว้ที่บ้าน และเป็นการขยายรูปแบบการให้บริการแพทย์ทางไกล หรือ Decentralized Healthcare Services ตามแนวท้างที่ทางโรงพยาบาลตั้งเป้าไว้
การใช้ 9CAREของแพทย์
ขณะที่ นพ.สุทัศน์ คันติโต แพทย์สถาบันหัวใจและหลอดเลือด รพ.พระรามเก้า กล่าวว่า ในแอปจะมีการแสดงข้อมูลทั้งอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและน้ำหนัก ซึ่งในแง่ของการดูแลผู้ป่วยหัวใจจะสามารถใช้แอปนี้ในการติดตามต่อเนื่องได้ 4 โรค ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเส้นเลือดหัวใจตีบที่พึ่งทำการรักษาและแพทย์ให้ออกจากรพ.ได้แล้ว ผู้ที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคหัวใจล้มเหลว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าน้ำท่วมปอด แบบที่สามารถรักษาผู้ป่วยนอกได้ แต่หากมีอาการมากแพทย์จะให้เข้ารับการรักษาในรพ.
พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อ รพ.พระรามเก้า กล่าวว่า การดูแลคนไข้เบาหวาน ถ้าจะให้แข็งแรง ไม่มีโรคแทรกซ้อนจะต้องดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ซึ่งแอปนี้จะมีข้อมูลการวัดค่าสุขภาพคนไข้หลายๆส่วน ทำให้สามารถดูแลคนไข้ได้มากขึ้น รวมถึง ค่าน้ำตาลในเลือด ซึ่งในกรณีคนไข้ที่ต้องฉีดอินซูลิน การรู้ระดับน้ำตาลจะทำให้คุมน้ำตาลไม่ให้ขึ้นสูง หรือลดต่ำจนเกิดกรณีฉุกเฉิน
ส่วนคนไข้ที่ไม่ได้ฉีดอินซูลิน การร็ระดับน้ำตาลจะช่วยปรับพฤติกรรมคนไข้ให้ดีขึ้นได้ อย่างเช่นวันนี้กินอาหารประมาณนี้แล้วระดับน้ำตาลเป็นอย่างไร ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นคนกำหนดให้ว่าควรเจาะเวลาไหน แอปก็จะช่วยแจ้งเตือนคนไข้แล้วผลก็จะส่งเข้ามาในแอป แพทย์จะรู้ข้อมูลได้ หากจำเป็นต้องปรับยาก็จะแจ้งคนไข้เพิ่มเติม