'รองเท้ากินขา' คืออะไร อุบัติเหตุจากการเล่นน้ำ สงกรานต์
หาคำตอบ 'รองเท้ากินขา' คืออะไร ระวังภัย อุบัติเหตุจากการเล่นน้ำ ช่วงเทศกาลสงกรานต์
'รองเท้ากินขา' คืออะไร ในเทศกาลสงกรานต์ คือหนึ่งในเทศกาลแห่งความสุข หลายคนเดินทางกลับภูมิลำเนา ท่องเที่ยวต่างจังหวัด หรือเข้าร่วมประเพณีเล่นน้ำตามจังหวัดต่าง ๆ
ควรระมัดระวังทั้งตนเองและผู้อื่นจากการเล่นน้ำ เพื่อให้เทศกาลสงกรานต์ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
- การเล่นน้ำท้ายรถกระบะ,
- การลงไปว่ายน้ำในลำคลอง,
- การสาดน้ำหรือฉีดน้ำใส่รถจักรยานยนต์
- การขับขี่รถในขณะเมาสุรา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและร่างกายได้
นอกจากนี้ในปีนี้ยังมีภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการสวมใส่รองเท้าแตะซึ่งอาจเกิดอาการ “รองเท้ากินขา” ซึ่งช่วงนี้หลายคนอาจเข้าถึงอาการนี้แบบซิกเนเจอร์เลเยอร์คอสตอม เป็นความรู้สึกที่อธิบายไม่ได้ แต่สามารถป้องกันได้ดังนี้
- ใช้รองเท้าแบบมีสายรัด หรือ รองเท้าแบบปิดหัว จะลดโอกาสที่รองเท้าจะเลื่อนขึ้นไปถึงขา และจะป้องกันการโดนเหยียบและพลิกดีกว่า
- ถ้าเกิดรองเท้ากินขาไปแล้ว ให้นั่งลง ยกขาข้างที่มีรองเท้าขึ้นไป สูงซัก 1 นาที เพื่อให้เลือดไหลกลับมาที่ลำตัว ลดการบวมของขาเนื่องจากรองเท้ารัด แล้วค่อย ๆ ถอดออก อาจราดน้ำสบู่ให้ลื่นขึ้น
- ถ้าเอาไม่ออกจริง ๆ ต้องหากรรไกรมาตัด อย่าพยายามกระชากออกเพราะอาจเกิดแผลถลอก แล้วติดเชื้อได้
- ขณะถอดให้จิกเท้าให้ขากับเท้าตรงที่สุด เพิ่มโอกาสที่จะเอารองเท้าออกจากขาได้
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอเตือนให้พี่น้องประชาชนใช้ความระมัดระวังในการเล่นน้ำสงกรานต์ และควรดูแลบุตรหลานและบุคคลใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
ขอขอบคุณข้อมูลการปฐมพยาบาลจาก “นพ. ภัทร จุลศิริ” ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเชี่ยวชาญด้านกระดูกเท้าและข้อเท้า จากเพจ “กระดูกและข้อ by หมอภัทร“