อัปเดต น้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด เดือดร้อน 80,114 ครัวเรือน

อัปเดต น้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด เดือดร้อน 80,114 ครัวเรือน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส มหาสารคาม ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม

วันนี้ 14 พ.ย.65 เวลา 9.30 น. ปภ.รายงานยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส มหาสารคาม ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม รวม 28 อำเภอ 196 ตำบล 1,232 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 80,114 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเร่งระบายน้ำ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานร่องมรสุมพาดผ่านตอนล่างของภาคใต้เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน รวมถึงลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 4 จังหวัด รวม 17 อำเภอ 69 ตำบล 261 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,746 ครัวเรือน

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 4 จังหวัด รวม 5 อำเภอ 22 ตำบล 88 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,201ครัวเรือน ดังนี้

1. สงขลา น้ำท่วมในอำเภอสะบ้าย้อย รวม 9 ตำบล 40 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 796 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

2. ปัตตานี น้ำท่วมใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี และอำเภอหนองจิก รวม 5 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 701 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

3. ยะลา น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองยะลา รวม 6 ตำบล 33 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 513 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

4. นราธิวาส น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 218 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

อัปเดต น้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด เดือดร้อน 80,114 ครัวเรือน

ขณะที่สถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมาและการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. - 14 พ.ย.65 เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังในพื้นที่ 59 จังหวัด รวม 353 อำเภอ 1,879 ตำบล 11,770 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 528,063 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย ปัจจุบัน (14 พ.ย.65 เวลา 06.00 น.) ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 7 จังหวัด 23 อำเภอ 174 ตำบล 1,144 หมู่บ้าน

ประชาชนได้รับผลกระทบ 77,913 ครัวเรือน ภาพรวมระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องทุกจังหวัด ดังนี้

 

1. มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอโกสุมพิสัย รวม 12 ตำบล 96 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,033 ครัวเรือน

2. ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ รวม 4 ตำบล 34 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,709 ครัวเรือน

3. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ และอำเภอสว่างวีระวงศ์ รวม 9 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,884 ครัวเรือน

4. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา รวม 46 ตำบล 251 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 17,211 ครัวเรือน

5. พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางซ้าย และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 28 ตำบล 189 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,672 ครัวเรือน

6. สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 25 ตำบล 185 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,811 ครัวเรือน

7. นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามพราน อำเภอบางเลน และอำเภอนครชัยศรี รวม 50 ตำบล 344 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,593 ครัวเรือน

สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางคมนาคมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป

ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT