ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพ คุณภาพอากาศ มีผลกระทบต่อสุขภาพ 19 พื้นที่
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงาน "คุณภาพอากาศ" สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ประจำวันที่ 10 มกราคม 2566 พบมีผลกระทบต่อสุขภาพ 19 พื้นที่
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงาน "คุณภาพอากาศ" สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ประจำวันที่ 10 มกราคม 2566 โดยตรวจวัดได้ 34-56 มคก./ลบ.ม. ขณะที่ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร อยู่ที่ 46.2 มคก./ลบ.ม. ดังนี้
- กรุงเทพเหนือ (บางซื่อ หลักสี่ จตุจักร) วัดได้ 40-54 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
- กรุงเทพตะวันออก (คลองสามวา ลาดกระบัง ประเวศ) วัดได้ 40-56 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
- กรุงเทพกลาง (สัมพันธวงศ์ วังทองหลาง) วัดได้ 38-54 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
- กรุงเทพใต้ (ปทุมวัน ยานนาวา สาทร) วัดได้ 41-56 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
- กรุงธนเหนือ (ธนบุรี คลองสาน บางพลัด) วัดได้ 44-55 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
- กรุงธนใต้ (หนองแขม ภาษีเจริญ บางขุนเทียน) วัดได้ 43-54 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง P M2.5 ได้ 34-56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 19 พื้นที่ ได้แก่
1.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
2.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
3.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
4.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
5.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
6.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
7.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
8.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
9.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
10.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
11.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
12.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
13.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
15.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
16.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
17.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
18.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
19.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่ช่วงวันที่ 5 - 11 ม.ค.2566 อากาศไม่ยกตัว (มีเสถียรภาพ) ประกอบกับเกิดภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราการระบายอ่อน/ไม่ดีในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งผลให้การสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 ค่อนข้างทรงตัว
ในช่วงระหว่างช่วง 9-16 ม.ค.2566 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุม จะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้อากาศอุ่นขึ้น มีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อย และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีหมอกบางในตอนเช้า
วันที่ 10 มกราคม 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และใต้
แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม 2566 จะมีแนวโน้มสถานการณ์ที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากอากาศที่เปิดมากขึ้นประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีกำลังแรงเข้าช่วย
จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ในวันนี้ ไม่พบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกในบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง