‘เอไอเอส’ ชูวัฒนธรรม FIT FUN FAIR สร้าง Excellence People รับการเติบโต

‘เอไอเอส’ ชูวัฒนธรรม FIT FUN FAIR  สร้าง Excellence People รับการเติบโต

8 ปีก่อน เอไอเอส ประกาศเดินหน้าสู่การเป็น Digital Business ในวันที่ Transformation ยังเป็นคำใหม่สำหรับโลกแห่งการทำงาน ในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีพนักงานกว่าหมื่นคน เรียกได้ว่าฝืนสภาพของความคุ้นเคย แต่สิ่งเหล่านี้กลับเป็นผลดีในช่วงที่ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤติโควิด

Key Point : 

  • หลังจาก เอไอเอส ประกาศสู่ Digital Business เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา สิ่งแรกที่ทรานฟอร์ม คือ HR จากการใช้เทรนเนอร์มาสอนพนักงานในห้องเรียน สู่การเป็น AIS Academy สร้างคนในองค์กรให้มีศักยภาพผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
  • ยกระดับเป้าหมายการทำงานด้าน HR สู่การเป็น Hub of Excellence People พร้อมกับวัฒนธรรมองค์กรแบบ FIT FUN FAIR
  • ขณะเดียวกัน เอไอเอส มองว่า การทำงานและการใช้ชีวิตของพนักงาน เป็นเรื่องของ work life integration เพราะแต่ละคนใช้ชีวิตต่างไป ดังนั้น ต้องทำให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลได้แม้ไม่ได้เข้าออฟฟิศ และสร้างสภาพแวดล้อมให้มีความหลากหลาย

 

8 ปีก่อน เอไอเอส ประกาศเดินหน้าสู่การเป็น Digital Business ในวันที่ Transformation ยังเป็นคำใหม่สำหรับโลกแห่งการทำงาน ในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีพนักงานกว่าหมื่นคน เรียกได้ว่าฝืนสภาพของความคุ้นเคย แต่สิ่งเหล่านี้กลับเป็นผลดีในช่วงที่ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤติโควิด-19

 

'เอไอเอส' เริ่มต้นจากทรานฟอร์ม HR  จากการใช้เทรนเนอร์มาสอนพนักงานในห้องเรียน สู่การเป็น AIS Academy สร้างคนในองค์กรให้มีศักยภาพผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ สร้างประสบการณ์ให้พนักงาน ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยนานาชาติ และสถาบันฝึกอบรมต่างๆ เพื่อดีไซน์ให้คนพร้อมกับโลกอนาคต ไปพร้อมกับสร้างองค์กรให้เติบโตควบคู่การพัฒนาสังคมไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาห้องสมุดในโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ให้เข้าถึงองค์ความรู้ดิจิทัล และเทคโนโลยี 5G ทำงานร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นการยกระดับเป้าหมายการทำงานด้าน HR สู่การเป็น Hub of Excellence People

 

‘เอไอเอส’ ชูวัฒนธรรม FIT FUN FAIR  สร้าง Excellence People รับการเติบโต

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

Excellence ในแบบเอไอเอส

 

กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัท บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) และกลุ่มอินทัช ให้สัมภาษณ์กับ 'กรุงเทพธุรกิจ' ว่า ปัจจุบัน เอไอเอสมีพนักงานมากกว่า 13,000 คน เป็นพนักงานประจำราว 9,000 คน การเป็น Excellence คือ ต้องพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ และต้องเป็นศูนย์พัฒนาคนที่มีความมุ่งมั่นให้่สามารถพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง และประสบความสำเร็จไปด้วยกัน  Hub of Excellence People หมายถึงการทำให้คนที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาตัวเองให้มีความแข็งแรงมากขึ้น ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ตามเป้าประสงค์

 

“คำว่า Excellence People ของเอไอเอส หมายถึง คนที่พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และองค์กรมีช่องทางให้สำหรับการพัฒนา ต่อยอด ขึ้นไปเรื่อยๆ คนเอไอเอส จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง เปิดใจ เปิดกว้าง Open Mind , ทัศนคติยืดหยุ่นและเติบโตพัฒนา Growth Mindset และที่สำคัญ คือต้องมีความสามารถในเรื่องของการปรับตัว หรือ Adaptability จะไม่เหมือนคนในอดีตที่เราเก่งด้านใดด้านหนึ่งไม่พอ แต่ต้องปรับตัวได้ตลอดเวลา”

 

‘เอไอเอส’ ชูวัฒนธรรม FIT FUN FAIR  สร้าง Excellence People รับการเติบโต

 

FIT FUN FAIR

 

อย่างไรก็ตาม ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมเจอกับความท้าทาย โดยเฉพาะ Mindset 'กานติมา' อธิบายต่อว่า พนักงาน เอไอเอสส่วนใหญ่จะอยู่แล้วมีความภักดีต่อองค์กร ขณะเดียวกัน เมื่อมีความภักดีต่อองค์กร เขาก็ต้องโตไปพร้อมกับองค์กรเช่นเดียวกัน โดยวัฒนธรรมของเอไอเอส คือ FIT FUN FAIR ได้แก่

 

 

'FIT' ไม่ใช่ป่วยแล้วรักษาอย่างเดียว แต่เน้นว่าทำอย่างไรให้พนักงานไม่ป่วย และความสามารถที่จะต้อง FIT กับการเดินหน้าขององค์กร ถัดมา 'FUN' ไม่ได้แปลว่ามาทำงานสนุกอย่างเดียว แต่เวลาทำงานก็จริงจัง เวลาเล่นก็เต็มที่ เฉลิมฉลองเมื่อก้าวผ่านความท้าทายได้สำเร็จ ขณะที่ 'FAIR' ของเอไอเอส คือการยอมรับและเปิดใจ มอบรางวัลให้กับพนักงานที่มีคุณภาพ เพื่อตอบโจทย์คนที่มีความมุ่งมั่นและพร้อมเติบโตไปข้างหน้าได้ เป็นแกนเวลาเราเลือกคน หรือ พัฒนาคนข้างในก็จะใช้เกณฑ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้

 

“วัฒนธรรมองค์กร ไม่ได้แปลว่านิสัยประจำองค์กร หลายครั้งเราชอบเข้าใจว่านิสัยของคนในองค์กร คือ วัฒนธรรม ซึ่งเอไอเอส มองว่าไม่ใช่ วัฒนธรรมขององค์กรต้องหมายถึงทำแล้ว Positive แต่หากนิสัยประจำองค์กรบางอย่างต้องแก้ ต้องปรับ”

 

‘เอไอเอส’ ชูวัฒนธรรม FIT FUN FAIR  สร้าง Excellence People รับการเติบโต

 

No Room policy ลดช่องว่าง

 

นอกจากนี้ การลดช่องว่างระหว่างแต่ละ Generation ที่มีลักษณะการพัฒนา เติบโต ในมุมที่ต่าง และมีจุดแข็ง ที่แตกต่างกัน กานติมา อธิบายว่า Generation Connected หมายความว่าไม่ว่าจะเกิดปีใด มีความเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีและดิจิทัลหรือไม่ หากอยู่ในความเชื่อมโยงตรงนั้นถือว่าอยู่ใน Generation เดียวกัน แต่ความเป็นพี่ย่อมต้องใจใหญ่กว่าน้อง เพราะฉะนั้นต้องปรับตัวเองมากกว่า เช่น คนรุ่นใหม่ไม่ชอบสังคมที่มี Hierarchy ที่ผ่านมา เอไอเอส ได้ประกาศ No Room policy สร้างความใกล้ชิดระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง สิ่งที่เกิดขึ้นคือความเข้าใจและความสามารถในการช่วยน้องๆ ได้มากขึ้น

 

‘เอไอเอส’ ชูวัฒนธรรม FIT FUN FAIR  สร้าง Excellence People รับการเติบโต

 

เปิดโอกาสพนักงานเป็น Talent องค์กร

 

การพัฒนาคนนอกจากจะมี AIS Academy แล้ว ยังเปิดรับให้พนักงานสมัครเป็น Talent ขององค์กรโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการเสนอของหัวหน้างาน พอสมัครเข้ามาแล้ว จะมี Assessment Center ทำการกลั่นกรองว่ามีศักยภาพหรือไม่ โดยมีกรรมการภายในและภายนอก เป็นคู่ขนานในการทำ Development Talent ของเอไอเอสควบคู่กัน

 

นอกจากนี้ ยังทำโปรแกรม Digital Talent ซึ่งรับคนจากข้างนอก 2 กลุ่ม คือ 1) The Bloom สร้างความได้เปรียบอย่างยั่งยืน ด้วยการบ่มเพาะนักศึกษาที่มีความสามารถ และศักยภาพโดดเด่นในสายงานดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อเป็นกำลังสำคัญของอค์กรในอนาคต ตอนนี้ทำไปแล้ว 2 รุ่น และมีนักศึกษาปี 3 บางคนก็จ้างงานแล้วโดยมาทำในวันที่ไม่ได้เรียนหนังสือ

 

2) The Masters คือ กลุ่มคนที่อยู่ในตลาดแรงงาน 1-2 ปี ในการเสริมความรู้ ความสามารถด้านดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันยุคปัจจุบัน โดยเริ่มในปี 2566 นี้

 

‘เอไอเอส’ ชูวัฒนธรรม FIT FUN FAIR  สร้าง Excellence People รับการเติบโต

 

Work life integration

 

การทำงานและการใช้ชีวิตของพนักงาน เป็นเรื่องของ Work life integration เพราะสไตล์พนักงานของแต่ละคนที่ใช้ชีวิตก็อาจจะต่างไป บางคนมีความสุขที่ได้ทำงาน แต่ขอให้เข้าถึงข้อมูลได้ ทำที่ไหนก็ได้ บางคนชอบมาออฟฟิศ เพราะได้เจอเพื่อนๆ ในทีม ดังนั้น เวลาที่สร้างสิ่งแวดล้อมก็ต้องมีความหลากหลาย ทำให้พนักงานมีช่องทางเข้าถึงดาต้า ระบบที่สามารถทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ถัดมา คือ ทำให้สิ่งแวดล้อมมีความสนุก ซึ่งไม่ได้หมายถึงเล่นอย่างเดียว แต่สนุกและความท้าทาย มีความมุ่งมั่นที่จะพิชิตเรื่องของเป้าหมายให้ได้

 

“ขณะเดียวกัน เมื่อโลกแห่งการทำงานเปลี่ยน สวัสดิการก็ต้องเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เอไอเอส เริ่มใช้ Blockchain มาช่วยในการเก็บ Token ให้พนักงาน ผ่าน AIS Digi พนักงานสามารถร่วมกิจกรรม สะสม Token และสามารถแลกตั้งแต่ไอศกรีม ตั๋วเครื่องบินกรุงเทพ-ญี่ปุ่น หรือคอร์สฝึกอบรม แล้วแต่ความถนัด นี่เป็นการนำ Blockchain เข้ามาใช้ประโยชน์ หรือมีกิจกรรมในเรื่องของดูแลสุขภาพ เช่น การให้องค์ความรู้ ออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เขาตระหนักถึงการดูแลสุขภาพมากกว่าการพูดกันว่าหากป่วยจะไปหาหมอ” กานติมา กล่าวทิ้งท้าย

 

‘เอไอเอส’ ชูวัฒนธรรม FIT FUN FAIR  สร้าง Excellence People รับการเติบโต