ฤดูฝน 2566 ลมแรงพายุถล่ม บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 207 หลังคา สลับอากาศร้อนจัด
สถานการณ์ฤดูฝน 2566 ลมแรงพายุถล่ม ฝนตกหนักบางพื้นที่ บ้านเรือนประชาชนเสียหายกว่า 207 หลังคา ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด
รายงานสถานการณ์ฤดูฝน 2566 ลมแรงพายุถล่ม บ้านเรือนประชาชนเสียหายกว่า 207 หลังคา ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด โดย ปภ. สรุปสถานการณ์วาตภัย มีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร แพร่ ตาก ลำปาง กำแพงเพชร รวม 9 อำเภอ 11 ตำบล 19 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 207 หลัง กรณีมีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 18 ราย จ.พิจิตร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนปี 2566
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศประเทศไทยสิ้นสุดฤดูร้อนและจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนปี 2566 เมื่อวันก่อน 22 พฤษภาคม 2566 ปีนี้ปริมาณฝนรวมทั้งฤดูจะน้อยกว่าปีที่แล้ว ประมาณกลาง มิ.ย.-กลาง ก.ค. จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง
ส่วนในเดือน ส.ค.-ก.ย. จะเป็นช่วงที่ฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด มีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณภาคเหนือและอีสาน 1-2 ลูก
ทั้งนี้ ฤดูฝนของประเทศไทยตอนบนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือน ต.ค. ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปอีกจนถึงกลางเดือน ม.ค. 2567
ดร. ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า กล่าวว่าประเทศไทยสิ้นสุดฤดูร้อนและจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เนื่องจากพบว่ามีฝนตกชุกหนาแน่นและต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยที่ระดับผิวพื้นถึงความสูงประมาณ 3.5 กิโลเมตร ได้เปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะพัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และลมชั้นบนตั้งแต่ระดับความสูง 5 กิโลเมตรขึ้นไปได้เปลี่ยนทิศเป็นลมฝ่ายตะวันออก ซึ่งถือว่าครบองค์ประกอบตามเกณฑ์การเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยแล้ว
ปีนี้ ปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนจะน้อยกว่าปี 2565 และจะน้อยกว่าค่าปกติประมาณ 5% (ปีที่แล้วสูงกว่าค่าปกติ 14%) ในช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง อาจส่งผลทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรได้ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนเป็นช่วงที่จะมีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด
และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1-2 ลูก ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ สำหรับฤดูฝนของประเทศไทยตอนบนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปอีกจนถึงกลางเดือนมกราคม 2567
สภาพอากาศวันนี้
23 พฤษภาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง แต่ยังคงมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
อากาศร้อน
สภาพอากาศ กรุงเทพฯ หรือ กทม. และปริมณฑล เวลา06:00 น. วันนี้ - 06:00 น. วันพรุ่งนี้
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวันอุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
cr. กรมอุตุนิยมวิทยา และ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)