เบโด้ รุกส่งเสริม 'เศรษฐกิจชุมชน' ด้วย'การท่องเที่ยวชีวภาพ'

เบโด้ รุกส่งเสริม 'เศรษฐกิจชุมชน' ด้วย'การท่องเที่ยวชีวภาพ'

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO (เบโด้) เดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้แนวคิด BEDO – BCG ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยการท่องเที่ยวชีวภาพ 'พร้อมเปิดตัว 'ตลาดปันรักษ์' แห่งที่ 4 ที่ชุมชนเกาะกลาง จ.กระบี่

นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือ เบโด้ (BEDO) สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวถึงภารกิจขององค์กรว่า เบโด้ มีภารกิจสนับสนุนส่งเสริมให้ชุมชนนำทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาพัฒนาให้เกิด คุณค่าและประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับ การอนุรักษ์เพื่อให้ทรัพยากรชีวภาพคงอยู่ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ในรุ่นลูกหลานต่อไป

โดยการพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ให้ชุมชนที่เชื่อมโยงกับความคงอยู่ของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนชุมชนสู่โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า BEDO-BCG อันเป็นกิจกรรมที่เครือข่ายชุมชนเบโด้ ครอบคลุมทั้ง เศรษฐกิจชีวภาพ (B) เศรษฐกิจหมุนเวียน (C) และเศรษฐกิจสีเขียว (G) เนื่องจากทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เบโด้ ได้เข้าสำรวจและส่งเสริมด้านการพัฒนาสินค้าจากความหลากหลายของทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เพื่อสร้างเศรษฐกิจและสร้างความยั่งยืนให้ผู้คนในชุมชน

เบโด้ รุกส่งเสริม \'เศรษฐกิจชุมชน\' ด้วย\'การท่องเที่ยวชีวภาพ\'

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ง่ายๆ 'สมุนไพรประจำบ้าน' ปลูกไว้กินเอง ดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค

เริ่มแล้ว!'มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 20 @ เมืองทองธานี

'ห้องแล็บ'ตัวช่วยหลักโรงงานผลิตยาไทย แข่งขันสู่ยานอก

รวมให้แล้ว ไฮไลท์ 'มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 20' ปีนี้มีอะไรต๊าซบ้าง?

 

'เบโด้' ส่งเสริมชุมชนนำทรัพยากรชีวภาพ

นางสุวรรณา กล่าวต่อไปว่า เบโด้ มี 2 แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจให้กับชุมชน คือ หากเป็นชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้มาตรฐาน เก็บไว้ได้นาน สามารถนำไปจำหน่ายยังที่ไกลๆ ได้ก็จะใช้ช่องทางการทำตลาดทางตรง เช่น การรับฝากขายที่ร้านฟ้าใสแกลลอรี่ที่ศูนย์ราชการฯ ที่กรุงเทพฯ การให้ชุมชนออกบูธจำหน่ายสินค้า การจับคู่ธุรกิจกับช่องทางการตลาดหลัก เช่น ตลาดมินิ อตก. ไทยแลนด์โพสต์มาร์ท ขณะเดียวกัน ก็อบรมให้ชุมชนทำตลาดแบบออนไลน์ ฯลฯ

ส่วนชุมชนที่ไม่สามารถนำออกไปจำหน่ายนอกชุมชนได้ 'เบโด้' ก็จะสร้างการรับรู้ให้คนภายนอกเข้ามาเยี่ยมชม เพื่อทำให้เศรษฐกิจชุมชนเกิดการหมุนเวียน ซึ่ง เบโด้ เรียกการตลาดแบบนี้ว่า ท่องเที่ยวชีวภาพ ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องจากปีที่แล้ว และด้วยบริบทของพื้นที่ เบโด้ จึงได้นำเครื่องมือการตลาดในนามของตลาดปันรักษ์มาต่อยอดสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และคาดหวังว่าความร่วมมือด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชนจะเข้มแข็ง เมื่อสิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตคนก็ดีส่งผลให้เกิดสังคมที่เกื้อกูลสัมพันธ์กัน ดังคำที่ว่า 'เศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี  สังคมก็ดี'

เบโด้ รุกส่งเสริม \'เศรษฐกิจชุมชน\' ด้วย\'การท่องเที่ยวชีวภาพ\'

 

ตลาดปันรักษ์ - วิสาหกิจชุมชน

สำหรับการเปิดตัว 'ตลาดปันรักษ์ สักหอย ปล่อยปู ดูนกแล เขเรือ แลหวันตก มาตะคลองประสงค์ ครั้งที่ 2' ที่บ้านคลองกำ คลองประสงค์ จ.กระบี่ และนับเป็น ตลาดปันรักษ์ แห่งที่ 4 ที่ เบโด้ ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ และได้เปิดพื้นที่ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ให้คนในชุมชนได้นำสินค้า วัตถุดิบเพื่อการทำอาหาร และอาหารพื้นถิ่นเข้ามาจำหน่ายให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาสัมผัสวิถีชุมชนบ้านเกาะกลาง คลองประสงค์ จังหวัดกระบี่

ขณะที่ นายศุภสิทธ์ จำปาวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจชีวภาพ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพ หรือ เบโด้ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงตลาดปันรักษ์แห่งนี้ว่า เนื่องจากชุมชนตำบลคลองประสงค์ มีลักษณะเป็นเกาะใกล้เมือง การทำตลาดชุมชนในกิจกรรมท่องเที่ยวชีวภาพที่นำผลผลิต ผลิตภัณฑ์ อาหารพื้นบ้าน มาจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ และจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนได้เป็นอย่างดี  เบโด้ จึงได้ส่งเสริมให้เกิดตลาดชุมชน ตามแนวคิด ตลาดปันรักษ์ให้สมาชิกในชุมชนมีสถานที่ค้าขาย สร้างการเรียนรู้/สร้างรายได้ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้กระจาย ต่อเนื่อง และยั่งยืน

เบโด้ รุกส่งเสริม \'เศรษฐกิจชุมชน\' ด้วย\'การท่องเที่ยวชีวภาพ\'

พร้อมทั้งสนับสนุนให้ชุมชน 'ลด ละ เลิก' การใช้โฟม พลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว เพื่อช่วยลดขยะที่สร้างภาวะโลกร้อน ทั้งนี้ ตลาดปันรักษ์นี้เป็นแห่งที่ 4 และเป็นแห่งที่ 2 ของปีนี้ โดยเบโด้ ได้รับงบสนับสนุนเพื่อทำโครงสร้างตลาด สื่อประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรม

นางสุวรรณา ยังกล่าวถึงการท่องเที่ยวชีวภาพอื่นๆ ว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมเยือนชุมชนตำบลคลองประสงค์ และตลาดปันรักษ์ บ้านคลองกำ ยังจะสามารถเยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ซึ่งเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้แก่ผู้สนใจด้วย อาทิ  กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม ซึ่งมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน เช่น เปลือกไม้แสม เปลือกไม้โกงกาง ใบหูกวาง ใบสาบเสือ ฯลฯ กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะบ้านคลองประสงค์ และศูนย์เลี้ยงชันโรงบ้านคลองประสงค์ ฯลฯ

เบโด้ รุกส่งเสริม \'เศรษฐกิจชุมชน\' ด้วย\'การท่องเที่ยวชีวภาพ\'

ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพ (Community BioBank)

ขณะเดียวกัน 'เบโด้' ยังได้ดําเนินงานด้าน 'ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน' (Community BioBank) เพื่อเก็บรวบรวมและจดบันทึกการเติบโตของต้นกาแฟโรบัสต้า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยม ด้วยสัดส่วนประมาณ 20% รอง จากสายพันธุ์อราบิก้า โดยพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกกาแฟสายพันธุ์นี้ต้องเป็นพื้นที่ที่มีอากาศชุ่มชื้น เช่น ชุมพร ระนอง กระบี่ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

 สําหรับจ.กระบี่มีพื้นที่ปลูกอยู่ 3 อําเภอ คือ ลําทับ, คลองท่อม และปลายพระยา เฉพาะในชุมชนลําทับมีไร่กาแฟประมาณ 100 ไร่ ไร่ละ 200 ต้น โดยที่การปลูกกาแฟส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นสวนผสม โดยมีต้นกาแฟเป็นหลักและปลูกผลไม้แซม อาทิ กล้วย ลองกอง มังคุด ทุเรียน ส่วนหนึ่งเพื่อเก็บไว้กินในครัวเรือน และสามารถนำผลผลิตส่วนเกินนั้นมาขายสร้างรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชน เนื่องจากราคาของกาแฟขี้ชะมดสูงถึง 2 หมื่นบาท/กก. ราคาขายต่อช็อตอยู่ที่ 300 บาท ทำให้เกิดเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ดีให้แก่คนในชุมชน

ทั้งนี้ BEDO ให้การส่งเสริม และสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชนที่มีความสามารถพึ่งพาตนเองได้ ควบคู่กับการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน

เบโด้ รุกส่งเสริม \'เศรษฐกิจชุมชน\' ด้วย\'การท่องเที่ยวชีวภาพ\'

กาแฟขี้ชะมด Chamone

นอกจากนี้ 'เบโด้' ยังนำเสนอ 'กาแฟขี้ชะมด'ว่าเป็นพืชที่สร้างเศรษฐกิจชีวภาพให้คนในพื้นที่อีกด้วย โดยมี นาย พิศิษฏ์ เป็ดทอง ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านดินแดง ต.ดินแดง อ.ลําทับ จ.กระบี่ และเป็นผู้บุกเบิกการผลิตกาแฟขี้ชะมดแบรนด์ Chamone จนเป็นที่รู้จัก ทำหน้าที่เป็นวิทยากรแบ่งปันความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงเมล็ดกาแฟว่าใช้วิธีเพาะเมล็ดจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้กับผู้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้แห่งนี้

นาย พิศิษฏ์ กล่าวว่าในรอบปีกาแฟจะออกดอก เริ่มติดลูกเมล็ดกาแฟในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ และสามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม คอกาแฟต้องลองสัมผัสกับ 'กาแฟขี้ชะมด' เป็นกาแฟขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย มีความหอมละมุน นุ่มลิ้น คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของกาแฟขี้ชะมดที่คนรักกาแฟไม่ควรพลาด อย่างไรก็ตาม จากการที่วิสาหกิจชุมชนแห่งนี้เพิ่งปลูกกาแฟเป็นปีที่ 3 ดังนั้น ปีหน้าผลผลิตของกาแฟจะให้ผลลัพธ์อย่างเต็มที่ในปีที่ 4 เป็นต้นไป