เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

ม้วนเดียวจบ! "เกณฑ์ทหาร 2567" จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม เดือนเมษายน 2567 ชายไทยต้องทำอะไรบ้าง? เปิดข้อกำหนดคัดเลือกทหารกองเกิน ส่องรายชื่อ รพ.ตรวจโรค - แนวทางเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด สิทธิขอผ่อนผัน สิทธิลดวันรับราชการทหาร คนใดมีสิทธิไม่ต้องเกณฑ์ทหาร - สมัครทหารได้อะไร

สรุปม้วนเดียวจบ! เดือนเมษายน 2567 เป็นที่รู้กัน เป็นวัน "เกณฑ์ทหาร" โดยชายไทยอายุ 21 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับการคัดเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ซึ่ง "เกณฑ์ทหาร 2567" จับใบดำใบแดง มีเหมือนเดิม! ปีนี้กำหนดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 - 12 เมษายน 2567 

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ชวนเปิดข้อกำหนด หลักเกณฑ์แนวทางการคัดเลือกทหารกองเกิน เข้ารับราชการทหารกองประจำการ ประจำปี 2567 พร้อมเผยรายชื่อโรงพยาบาลตรวจโรค ห้วงเวลาการตรวจร่างกาย กรณีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดต้องทำอย่างไร?  

สิทธิขอผ่อนผัน สิทธิการลดวันรับราชการทหาร กรณีสมัครเข้ารับราชการทหาร หรือจับใบดำใบแดงต่างกันอย่างไร?  คนใดบ้างมีสิทธิขอยกเว้นหรือผ่อนผันฯ เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเกณฑ์ทหาร แล้วสมัครทหารได้อะไร รู้กัน เช็กที่นี่

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?


กองทัพบก ได้ออกประกาศเรื่อง ชี้แจงการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ประจำปี 2567 

ด้วย กองทัพบก จะทำการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ประจำปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 - 12 เมษายน 2567 เว้นวันที่ 6 เมษายน 2567 (วันจักรี) เป็นต้นไป จนกว่าการตรวจเลือกฯ จะแล้วเสร็จ จึงขอประกาศให้ทหารกองเกินและประชาชนได้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติ ที่เกี่ยวกับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ดังนี้ 

ข้อกำหนดการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ

ผู้ที่อยู่ในกำหนดเรียกไปเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหาร กองประจำการ ประจำปี 2567 คือ ชายสัญชาติไทย เกิด พุทธศักราช 2546 ซึ่งมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ และคนที่เกิด พุทธศักราช 2538 ถึง พุทธศักราช 2545 ซึ่งมีอายุ 22 ถึง 29 ปีบริบูรณ์ ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ 

หรือผู้ที่มีผลการตรวจเลือกฯ ยังไม่แล้วเสร็จ ทุกกรณี ให้ไปเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนดไว้ในหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) ของนายอำเภอภูมิลำเนาทหาร

รวมถึงผู้ที่พำนักพัก อาศัยอยู่ต่างประเทศหรือบุคคลที่มีสองสัญชาติ แต่ยังคงมีสัญชาติไทยและมีอายุอยู่ในกำหนดที่จะต้องเข้ารับ การตรวจเลือกฯ ก็จะต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

 

เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียมไปในวันตรวจเลือกทหารกองเกิน 

ในวันตรวจเลือกฯ ขอให้ผู้ที่จะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการ ทหารกองประจำการ นำใบสำคัญ

  • แบบ สด.9
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35)
  • ใบสำคัญความเห็นแพทย์ หรือประวัติการรักษา (ถ้ามี)
  • หลักฐานสำเร็จการศึกษา สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าขึ้นไป
  • หนังสือสำคัญแสดงวิทยฐานะของผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ 1 หรือชั้นปีที่ 2
  • หรือหนังสือรับรองดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การฝึกวิชาทหาร ไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกด้วย 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

ผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) หรือไม่ไป เข้ารับการตรวจเลือกฯ ตามกำหนดในหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) 

หรือไปแต่ไม่เข้ารับการ ตรวจเลือกฯ หรือไม่อยู่จนการตรวจเลือกฯ จะแล้วเสร็จ ถือว่ามีความผิดต้องได้รับโทษตามกฎหมาย 

การตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ

การตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ทหารกองเกิน ซึ่งอยู่ในกำหนดเรียกเข้ารับการตรวจเลือกฯ ในเดือนเมษายน 2567 

ผู้ใด ที่เห็นว่าตนเองมีโรคหรือสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจที่ไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ ให้ไปขอเข้ารับการ ตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการได้ที่โรงพยาบาลทหาร ทั้ง 26 แห่ง ทั่วประเทศ (โรงพยาบาลใดก็ได้ที่อยู่ใกล้และสะดวก) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ในวันและเวลาราชการ 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

 

รายชื่อโรงพยาบาลตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกทหารกองเกิน

รายชื่อโรงพยาบาล และแนวทางการดำเนินการ ซึ่งโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก จำนวน 22 แห่ง ประกอบด้วย 

ภาคกลาง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 

  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (กรุงเทพมหานคร)
  • โรงพยาบาลอานันทมหิดล (ลพบุรี)
  • โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ ศูนย์การทหารราบ (ประจวบคีรีขันธ์)
  • โรงพยาบาล ค่ายสุรสีห์ (กาญจนบุรี)
  • โรงพยาบาลค่ายอดิศร (สระบุรี) 

ภาคตะวันออก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 

  • โรงพยาบาลค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี)
  • โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (นครนายก) 
  • โรงพยาบาลค่ายนวมินทราชินี (ชลบุรี) 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 

  • โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (นครราชสีมา)
  • โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (อุบลราชธานี)
  • โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน (สุรินทร์)
  • โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม (อุครธานี) 
  • โรงพยาบาลค่ายกฤษณ์สีวะรา (สกลนคร) 

ภาคเหนือ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ 

  • โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พิษณุโลก)
  • โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ (นครสวรรค์)
  • โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ลำปาง)
  • โรงพยาบาลค่าย กาวิละ (เชียงใหม่)
  • โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช (เชียงราย)
  • โรงพยาบาลค่ายพ่อขุนผาเมือง (เพชรบูรณ์) 

ภาคใต้ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 

  • โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ (นครศรีธรรมมาราช)
  • โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์ (สงขลา) 
  • โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร (ปัตตานี) 

โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพเรือ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า (กรุงเทพมหานคร) 
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (ชลบุรี) 

โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพอากาศ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 

  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (กรุงเทพมหานคร) 
  • โรงพยาบาลจันทรุเบกษา (นครปฐม) 

การดำเนินการ "เกณฑ์ทหาร 2567"

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงในการตรวจโรค ได้แก่ 

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
  • หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ฉบับจริง
  • ใบสำคัญ (แบบ สด.9) 
  • หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) 

กรณีที่มีเอกสารหลักฐานการรักษาจากโรงพยาบาลของรัฐ หรือหลักฐานอื่น ๆ เช่น ใบรับรองแพทย์ ประวัติการรักษา ใบสรุปประวัติการรักษา ฟิล์มเอกซเรย์ สำเนาเวชระเบียน บัตรประจำตัวคนพิการ ซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น 

สามารถนำมาประกอบการตรวจโรค เพื่อขอให้คณะกรรมการแพทย์พิจารณาได้ออกใบรับรองแพทย์ทหาร 

ทั้งนี้ผู้มีสิทธิตรวจเลือกทหารกองเกิน 2567 สามารถขอเข้ารับการตรวจโรคจากโรงพยาบาลทหารตามที่กำหนดในโรงพยาบาลใดก็ได้ที่อยู่ใกล้หรือสะดวก โดยไม่จำกัดภูมิลำเนา ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 (ในวันและเวลาราชการ) 

โดยโรงพยาบาลทหารที่รับการตรวจโรค จะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ จำนวน 3 นาย เป็นผู้ตรวจและวินิจฉัยโรค พร้อมกับออกใบสำคัญความเห็นแพทย์ (ทบ.466 - 220) มอบให้กับ ทหารกองเกินที่เข้ารับการตรวจโรคไว้เป็นหลักฐาน 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

 

ค่าใช้จ่ายในการตรวจโรคในโรงพยาบาลทหาร

  • ค่าใช้จ่ายในการตรวจโรค ทหารกองเกินต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง 

การตรวจร่างกายกรณีทหารกองเกินที่มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด

สำหรับทหารกองเกินที่มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดที่ยังไม่ได้แปลงเพศ หรือไม่ได้ปรับเปลี่ยนร่างกาย สามารถขอเข้ารับการตรวจร่างกายได้ที่ สถาบันทางการแพทย์ หรือโรงพยาบาล ของรัฐที่มีแผนกจิตเวช นอกจาก โรงพยาบาลทหาร ที่มีแผนกจิตเวช ดังนี้

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์  

  • พื้นที่รับผิดชอบ (เขต) ได้แก่ ตลิ่งชัน, ทวีวัฒนา, หนองแขม, บางบอน, ภาษีเจริญ, บางแค และ บางพลัด 
  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ สุพรรณบุรี, ราชบุรี, นครปฐม, กาญจนบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรสาคร และ สมุทรสงคราม

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

  • พื้นที่ในความรับผิดชอบ (เขต) ได้แก่ พระนคร, ป้อมปราบฯ, สัมพันธวงศ์, บางรัก, ปทุมวัน, ดุสิต, ดินแดง, ห้วยขวาง, พญาไท, ราชเทวี, วังทองหลาง, คลองสาน, สวนหลวง, พระโขนง, ประเวศ, วัฒนา, คลองสามวา, บางนา, สาทร, มีนบุรี, ลาดกระบัง, หนองจอก, บึงกุ่ม, บางกะปิ, คันยายาว, สะพานสูง, บางกอกน้อย, คลองเตย, ธนบุรี, ยานนาวา, ทุ่งครุ, จอมทอง, บานขุนเทียน, ราษฎร์บูรณะ, บางคอแหลม และ บางกอกใหญ่
  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ สมุทรปราการ, จันทบุรี, ชลบุรี, ระยอง และ ตราด

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

 

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ ขอนแก่น, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม และ กาฬสินธุ์

โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์

  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ นครราชสีมา, สุรินทร์, บุรีรัมย์ และ ชัยภูมิ

โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์

  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ นครพนม, มุกดาหาร, สกลนคร และ บึงกาฬ

โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์

  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ สระแก้ว, ปราจีนบุรี และ ฉะเชิงเทรา

โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์

  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ นครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, อุทัยธานี และ ชัยนาท

โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์

  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ สงขลา, พัทลุง, ตรัง, สตูล, ยะลา, ปัตตานี และ นราธิวาส

โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์

  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ เลย, หนองบัวลำภู, หนองคาย และ อุดรธานี

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ศรีสะเกษ, ยโสธร และ มุกดาหาร

โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ นครศรีธรรมราช, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต และกระบี่

โรงพยาบาลสวนปรุง

  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ เชียงใหม่, ตาก, พิษณุโลก, สุโขทัย, เพชรบูรณ์, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, น่าน, พะเยา, เชียงราย และ แพร่

โรงพยาบาลศรีธัญญา

  • พื้นที่รับผิดชอบ (เขต) ได้แก่ จตุจักร, ลาดพร้าว, หลักสี่, บางซื่อ, ดอนเมือง, บางเขน และ สายไหม
  • พื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ได้แก่ นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สิงห์บุรี, อ่างทอง, สระบุรี และ ลพบุรี

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

 

หมายเหตุ : 
สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต เลขที่ 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 กำหนดเปิดให้บริการที่คลินิกนิติจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอก ทุกวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 13.30 - 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ 

และผู้ขอบริการสามารถนัดหมายล่วงหน้าเพื่อตรวจสภาพจิตได้ โดยติดต่อที่กลุ่มงานจิตวิทยา หมายเลขโทรศัพท์ 024416100 ต่อ 58253 

คนจำพวกที่ 4 คือ คนพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคที่ไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2540) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 76 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497

สามารถตรวจสอบรายชื่อโรคที่ขัดต่อการเข้ารับราชการ ทหารกองประจำการ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.tdc.mi.th, http://sassadee.rta.mi.th และ Facebook : กองการสัสดี 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

 

เกณฑ์ทหาร 2567 หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงต่อแพทย์ในวันตรวจร่างกาย

หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงต่อแพทย์ในวันตรวจร่างกาย ได้แก่ บัตรประจำตัว ประชาชน, รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป, หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ฉบับจริง, ใบสำคัญ (แบบ สด.9) และหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) 

 

ห้วงเวลาการตรวจร่างกายของผู้มีสิทธิตรวจเลือกทหารกองเกิน 2567

ห้วงเวลาการตรวจร่างกาย : ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงก่อนวันจะเข้ารับการ ตรวจเลือกฯ ตามหมายเรียกฯ ของทหารกองเกินภูมิลำเนาทหาร โดยในวันตรวจเลือกฯ จะต้องนำหนังสือ รายงานผลการตรวจจากโรงพยาบาลที่เข้ารับการตรวจไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือก

การตรวจร่างกาย และวัดขนาดของผู้มีสิทธิตรวจเลือกทหารกองเกิน

การส่งคนเข้ากองประจำการ คณะกรรมการตรวจเลือกจะคัดเลือกคนที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี มีขนาดรอบตัว ตั้งแต่ 76 เซนติเมตรขึ้นไปในเวลาหายใจออก และมีขนาดสูงตั้งแต่ 1 เมตร 46 เซนติเมตรขึ้นไป 

แต่จะคัดเลือกคนที่มีขนาดสูงตั้งแต่ 1 เมตร 60 เซนติเมตรขึ้นไปก่อน ถ้ามีจำนวนมากกว่าที่ทางราชการ ต้องการก็ให้ทำการจับสลาก เพื่อกำหนดคนเข้ากองประจำการต่อไป

ในระหว่างการตรวจร่างกายหรือวัดขนาด หากผู้เข้ารับการตรวจเลือกฯ เห็นว่าการตรวจหรือ การวัดขนาดร่างกายของคณะกรรมการตรวจเลือกดำเนินการไม่ถูกต้องหรือไม่ยุติธรรม 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

 

ซึ่งไม่ตรงกับลักษณะ ของตนเองหรือมีข้อสงสัยประการใด ก็ให้สามารถคัดค้านหรือสอบถามในขณะนั้นได้ทันที เพื่อให้คณะกรรมการ ตรวจเลือกพิจารณาตรวจหรือวัดขนาดร่างกายใหม่ หากไม่มีการคัดค้านให้ถือว่ายอมรับผลการดำเนินการ ของคณะกรรมการตรวจเลือก

บุคคลที่คณะกรรมการตรวจเลือกกำหนดให้เข้ากองประจำการเห็นว่า คณะกรรมการตรวจเลือก ตัดสินไม่ถูกต้องหรือไม่ยุติธรรม ก็ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้ ณ สำนักงานสัสดีจังหวัดท้องที่ที่ตน เข้ารับการตรวจเลือกฯ ภายในวันที่ 30 เมษายน 2567

เพื่อให้คณะกรรมการชั้นสูงพิจารณาตัดสินใหม่ ซึ่งคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูงให้ถือเป็นที่สุด 

สิทธิตรวจเลือกทหารกองเกิน สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา

นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มีความประสงค์จะขอผ่อนผันไม่เรียกมาตรวจเลือกเข้ารับราชการ ทหารกองประจำการในคราวที่มีคนพอและบุคคลที่มีการเปลี่ยนสถานศึกษา ให้ไปยื่นหลักฐานการขอผ่อนผัน ที่สถานศึกษาที่ตนเองสังกัด 

และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบในการขอผ่อนผันฯ ตามที่สถานศึกษานั้น ๆ กำหนด โดยสถานศึกษาดังกล่าว จะต้องส่งรายชื่อผู้ที่จะได้รับการผ่อนผันฯ ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนาทหาร ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567

สำหรับผู้ที่เคยยื่นความประสงค์ขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาไว้แล้วในปีก่อน ๆ ไม่ต้องดำเนินการยื่นขอผ่อนผันใหม่อีกแต่อย่างใด บุคคลที่จะได้รับการผ่อนผัน มีหน้าที่ต้องไปแสดงตนต่อคณะกรรมการตรวจเลือกใน วันตรวจเลือกฯ ตามที่กำหนดไว้ในหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35) 

หากไม่ไปแสดงตนเข้ารับ การตรวจเลือกฯ ตามหมายเรียกฯ (แบบ สด.35) ถือว่ามีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

 

กรณีบุคคลมีสิทธิขอยกเว้นหรือผ่อนผันฯ เกณฑ์ทหาร 2567 ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร

บุคคลที่อยู่ในกำหนดเรียกเข้ารับการตรวจเลือกฯ จะมีสิทธิขอยกเว้นหรือผ่อนผันฯ ถ้าหาก เป็นผู้ที่อยู่ในกรณีต่างๆ ดังนี้ 

บุคคลที่มีสิทธิได้รับการยกเว้น ได้แก่

  • เป็นพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์หรือที่เป็นเปรียญ (เมื่อให้รับการยกเว้นแล้วไม่ต้องไปแสดงตน ในวันตรวจเลือกฯ)
  • พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง 
  • นักบวชศาสนาอื่นซึ่งมีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้ (ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการดำเนินการ และแบบที่ กำหนดในกฎกระทรวง)
  • บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหม กำหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร 
  • ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือ หรือวิชาการต่างๆ ที่อยู่ในความควบคุมของ กระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัด ออกใบสำคัญให้ไว้ (ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการดำเนินการ และแบบที่ กำหนดในกฎกระทรวง)
  • นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ 
  • นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม 
  • บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ 
  • บุคคลซึ่งได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกครั้งเดียวตั้งแต่ สิบปีขึ้นไป หรือเคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหลายครั้งรวมกันตั้งแต่สิบปีขึ้นไป หรือเคยถูก ศาลพิพากษาให้กักกัน 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

บุคคลที่มีสิทธิจะได้รับการผ่อนผัน 

1. นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อได้รับอนุมัติให้ผ่อนผันฯ จากผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว ไม่ต้องไปแสดงตนในวันตรวจเลือกฯ จนกว่า จะหมดเหตุผ่อนผันฯ 

2. บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดา ซึ่งไร้ความสามารถ หรือพิการ ทุพพลภาพ หรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู 

3. บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบุตร ซึ่งมารดาตายหรือไร้ความสามารถ หรือพิการ ทุพพลภาพ และบุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่ หรือน้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ซึ่งบิดา มารดาตาย เมื่อพี่หรือน้องนั้นหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู 

4. บุคคลที่อยู่ระหว่างการศึกษาหรือเรียนรู้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น นักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา กรณีของการศึกษาในระบบ, การศึกษานอกระบบ, การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาเฉพาะทาง ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

 

บุคคลตามข้อ 2 และข้อ 3 ต้องร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอท้องที่ ภูมิลำเนาทหารก่อนวันตรวจเลือกฯ ไม่น้อยกว่า 30วัน เพื่อให้นายอำเภอทำการสอบสวนหาข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานไว้ชั้นหนึ่งก่อน และเมื่อถึงวันตรวจเลือกฯ ให้นำพยานบุคคลไปพบต่อคณะกรรมการ ตรวจเลือกอีกครั้งหนึ่ง จึงจะได้รับสิทธิผ่อนผัน 

ในกรณีพิเศษที่ไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อ คณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกฯ ได้ โดยนายอำเภอจะดำเนินการสอบสวน แล้วดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้ว 

ทั้งนี้ให้บุคคลที่ได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผันการตรวจเลือกฯ ตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ตามมาตรา 13(1), มาตรา 14(1), (2), (3), (4), (5), (6) หรือ (7) มาตรา 27(2) หรือ มาตรา 29 (3)

หากพ้นฐานะจากการยกเว้นหรือผ่อนผันฯ จะต้องไปแจ้งด้วยตนเองต่อผู้อำนวยการเขต/ นายอำเภอภูมิลำเนาทหาร ภายใน 30 วัน นับจากวันที่พ้นฐานะการยกเว้นหรือผ่อนผันฯ ตามแต่กรณี ได้แก่ บุคคลต่อไปนี้ 

1. พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์หรือที่เป็นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศาสนา แห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์ 

2. พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง 

3. นักบวชศาสนาอื่นซึ่งมีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนาตามที่กำหนดใน กฎกระทรวงและผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้ 

4. บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหม กำหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (นักศึกษาวิชาทหาร) 

5. ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่าง ๆ ที่อยู่ในความควบคุมของ กระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออก ใบสำคัญให้ไว้ 

6. นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ 

7. นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม

8. นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ 

9. นักเรียน นักศึกษา ของสถานศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทย 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?


ผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครเข้ารับราชการทหารกองประจำการ

ผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครเข้ารับราชการทหารกองประจำการ แผนกทหารบก แผนกทหารเรือ หรือแผนกทหารอากาศ ตามที่มีการเรียกและส่งคนเข้ากองประจำการ ในท้องที่เขต/อำเภอนั้น ๆ 

ให้สมัครได้ทุกขั้นตอน แต่ต้องก่อนการจับสลาก ทั้งนี้ ทหารกองประจำการของแต่ละแผนกจะได้รับสิทธิ ดังนี้ 

1. แผนกทหารบก (เฉพาะหน่วยในสังกัดกองทัพบก) 

ผู้ที่มีคุณวุฒิสำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และอายุไม่เกิน 24 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก ประจำปีการศึกษา 2567 ในอัตราส่วน (โควตา) ทหารกองประจำการ ร้อยละ 80 : บุคคลทั่วไป ร้อยละ 20 เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและส่งเสริมทหารกองประจำการให้ได้รับสิทธิในการเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก 

และหากมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม จะมีสิทธิได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ตามจำนวน ที่กองทัพบกจัดสรรให้ในแต่ละปี 

2. แผนกทหารเรือ ทหารกองประจำการที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามที่กองทัพเรือกำหนด จะได้รับคะแนนเพิ่มพิเศษในการสอบเข้าเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ คือ ผ่านการเป็นทหารกองประจำการ 5 เดือน, 1 ปี หรือ 2 ปี ให้ได้รับคะแนนเพิ่มร้อยละ 4, 6 หรือ 8 ของคะแนนรวมตามลำดับ 

3. แผนกทหารอากาศ จะได้รับสิทธิในการสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ ในกองทัพอากาศ เป็นนายทหารประทวนในเหล่าอากาศโยธินและเหล่าทหารสารวัตร (ตามคุณสมบัติ ที่กองทัพอากาศกำหนด) 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

 

สิทธิในการลดวันรับราชการทหาร กรณีสมัครเข้ารับราชการทหาร หรือจับใบดำใบแดง

สิทธิในการลดวันรับราชการ สำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิพิเศษ จะได้รับสิทธิลดวันรับราชการ ทหารกองประจำการน้อยกว่า 2 ปี ดังนี้ 

1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการฝึก วิชาทหารชั้นปีที่ 1 (นศท. ปี 1) หากสมัครเข้ารับราชการจะรับราชการ 1 ปี 

หากถูกกำหนดให้เข้ารับราชการ โดยการจับได้สลากแดง จะไม่ได้สิทธิลดวันรับราชการ (ยกเว้นจบ นศท. ปี 1 จะต้องรับราชการ 1 ปี 6 เดือน)

2. สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ปริญญาตรี หรือสำเร็จ การฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 2 (นศท. ปี 2) 

หากสมัครเข้ารับราชการจะรับราชการ 6 เดือน หากถูกกำหนดให้เข้า รับราชการ โดยการจับได้สลากแดง จะต้องรับราชการ 1 ปี 

ทั้งนี้การใช้สิทธิลดวันรับราชการจะต้องนำหลักฐานใบระเบียน แสดงผลการเรียนหรือใบรายงานผลการศึกษา หรือหนังสือสำคัญแสดงวิทยฐานะสำเร็จการฝึกวิชาทหาร (รด.3) หรือหนังสือรับรองสำเร็จการสถานศึกษาฉบับจริง แล้วแต่กรณี 

(หนังสือรับรองสำเร็จการศึกษาของ สถานศึกษา และหนังสือรับรองของ ศูนย์ฝึก/หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ที่ระบุวันที่สำเร็จการศึกษาให้ ชัดเจน และต้องสำเร็จการศึกษาก่อนวันทำการตรวจเลือกฯ จึงจะใช้เป็นหลักฐานในการขอสิทธิลดฯ ได้) 

พร้อมฉบับสำเนาไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือก โดยให้เขียนคำร้องไว้เป็นหลักฐานภายในวันตรวจเลือกฯ เท่านั้น 

 

เกณฑ์ทหาร 2567 จับใบดำใบแดงเหมือนเดิม สมัครทหารได้อะไร ชายไทย ต้องทำอะไร?

สมัครทหารได้อะไร? สิทธิประโยชน์ของทหารกองประจำการ 

สิทธิประโยชน์ของทหารกองประจำการที่จะได้รับ มีดังนี้ 

1. ได้รับเงินเดือน, เบี้ยเลี้ยงประจำ, เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว รวมกันแล้ว เดือนละหนึ่งหมื่นบาท 

2. ได้รับการแจกจ่ายเครื่องแต่งกายและของใช้ส่วนตัว 

3. ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในระหว่างที่เป็นทหารกองประจำการ 

4. ได้รับการส่งเสริมให้มีการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย จนสำเร็จการศึกษาให้สูงขึ้นกว่าเดิม ๑ ระดับ 

5. ได้รับการฝึกและส่งเสริมวิชาชีพก่อนปลดออกจากกองประจำการ 

6. สามารถสมัครเข้ารับราชการต่อได้คราวละ 1 ปี จนมีอายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ และเมื่อจะสมัครสอบเข้ารับราชการในกองทัพบก จะได้รับคะแนนเพิ่มเติม พิเศษอีกร้อยละ 5 /ครั้งที่ขออยู่ต่อ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการขออยู่ต่อ 

7. เมื่อปลดออกจากกองประจำการแล้ว สอบเข้ารับราชการในส่วนของ กองทัพบก จะได้รับคะแนนพิเศษร้อยละ 10 หรือเมื่อสมัครสอบคัดเลือกบรรจุเข้ารับราชการตามส่วนราชการต่าง ๆ หรือเข้าทำงานในภาคเอกชน จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษอีกด้วย 

8. ได้รับเงินเพิ่มพิเศษหรือค่าตอบแทนรายเดือนเพิ่มเติมตามที่กองทัพบกกำหนด 

9. ได้รับการประกันชีวิตในระหว่างรับราชการทหารกองประจำการ 

10. ได้รับการให้ลาพักในวันเสาร์ หรือวันอาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตามที่ กองทัพบก กำหนด 

ช่องทางติดต่อเกี่ยวกับ "เกณฑ์ทหาร 2567" 

หากทหารกองเกินมีปัญหาข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

 

อ้างอิง : กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน