เปิดแผนจัดสรรงบ 160 ลบ. หนุนสิทธิผู้สูงอายุ คนแก่ภาคใต้ได้อะไรบ้าง?
เปิดแผนจัดสรรงบ 160 ล้านบาท หนุนโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ภาคใต้ คนแก่ได้รับประโยชน์อะไรบ้าง? ภายใต้แนวโน้มสถิติการอยู่ลำพังคนเดียวและถูกทอดทิ้งเพิ่มขึ้น กับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ภายหลังที่ประชุมครม. เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา เห็นชอบหลักการโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคใต้) วงเงิน 163.231 ล้านบาท
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน "คนแก่ภาคใต้" ให้ได้รับการดูแลครอบคลุมในทุกมิติและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้แนวโน้มสถิติการอยู่ลำพังคนเดียวและถูกทอดทิ้งเพิ่มขึ้น กับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
สืบเนื่องจากในการประชุม ครม.สัญจร จ.ระนอง เมื่อ 23 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา พม. ได้รวบรวมข้อมูลและเสนอที่ประชุมพบว่า ภาคใต้ 14 จังหวัด มีประชากรสูงอายุ คนแก่ จำนวน 1.62 ล้านคน หรือร้อยละ 17.14 ของประชากรภาคใต้ทั้งหมด 9.45 ล้านคน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566)
ประชากรผู้สูงอายุคนแก่ภาคใต้
ข้อมูลการคัดกรองสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ภาคใต้มี ประชากรสูงอายุ จำนวน 1.07 ล้านคน แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
- กลุ่มติดสังคม : จำนวน 1.03 ล้านคน (ร้อยละ 96.19)
- กลุ่มติดบ้าน : จำนวน 33,493 คน (ร้อยละ 3.12)
- กลุ่มติดเตียง : จำนวน 7,404 คน (ร้อยละ 0.69)
แนวโน้มการเพิ่มขึ้นผู้สูงอายุคนแก่ภาคใต้ กับเหตุปัจจัยสำคัญ
ผู้สูงอายุ ยังมีแนวโน้มอยู่ลำพังคนเดียวและถูกทอดทิ้งเพิ่มขึ้น จากข้อมูลพบว่า มีผู้สูงอายุที่อยู่ลำพัง จำนวน 189,190 คน และผู้สูงอายุดูแลกันเอง จำนวน 89,680 คน (ข้อมูล ณ เดือน ธ.ค. 65)
ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนจำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม
ดังนั้น ครม. จึงอนุมัติหลักการโครงการดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
แผนจัดสรรงบ 160 ล้านบาท ประโยชน์ที่ผู้สูงอายุ คนแก่จะได้รับ
- ได้รับการดูแลอย่างมีมาตรฐาน มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
- มีกลไกระบบชุมชนรอบรับสถานการณ์สังคมสูงวัย
- ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของประเทศ
- ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน