รู้จัก IDGs ยั่งยืนจากภายใน...ทำได้จริง!!
เราจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนได้ หากเราไม่เริ่มพัฒนาภายในตนเอง “Inner Development Goals (IDGs)”หรือเป้าหมายการพัฒนาภายใน คือ Blueprint ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถ คุณภาพ และทักษะเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Skills)
KEY
POINTS
- เราจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนได้ หากเราไม่เริ่มพัฒนาภายในตนเอง
- “Inner Development Goals (IDGs)” เป้าหมายการพัฒนาภายในที่เกี่ยวข้องกับความสามารถ คุณภาพ และทักษะเพื่อการเปลี่ยนแปลง
- ทักษะภายในมนุษย์ที่ต้องพัฒนา มี 5 มิติ คือ Being (ความเป็นตัวเรา) Thinking(สิ่งที่เราคิด) Relating(ความสัมพันธ์) Collaborating(ความร่วมมือ) และActing (การลงมือปฎิบัติ)
“Inner Development Goals (IDGs)”หรือเป้าหมายการพัฒนาภายใน คือ Blueprint ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถ คุณภาพ และทักษะเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Skills) ที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หรือเรียกในอีกแง่มุมหนึ่งคือทักษะที่จำเป็นต่อการจัดการความท้าทายทั้งหมดที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่
วันนี้ (27 มิ.ย.2567)ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดแลกเปลี่ยนในเวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 82 “Inner Development Goals: ยั่งยืนจากภายใน...ทำได้จริงหรือ?”
“ธรากร กมลเปรมปิยะกล” ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ IDG Oneness Thailand Hub กล่าวว่าทุกคนต่างทราบเป้าหมายของ SDG ซึ่งมีทั้งหมด 17 ข้อ และหลายๆ ประเทศมีการขับเคลื่อนตามเป้าหมายที่สามารถทำได้ดี แต่มีบางประเทศที่ยังไม่สามารถทำได้ โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อม จึงมีการรวบตัวของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในหลายประเทศ หลายองค์กรมองว่าจะทำอย่างไรให้พื้นที่ส่วนไหนภายในของมนุษย์ต้องพัฒนามากขึ้น เพื่อไปสู่ความยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ทำไมต้องค้นหาตัวเอง ถ้ายังหาตัวเองไม่เจอเป็นไรไหม?!
“Self-Care” เรื่องง่ายๆ ที่ถูกมองข้าม ทักษะดูแลตัวเอง ที่ช่วยให้งานปัง!
IDGs 5 มิติ 23 ทักษะภายในมนุษย์ที่ต้องพัฒนา
ทั้งนี้ ได้มีการวิจัยและค้นคว้าและได้สรุปทักษะภายในมนุษย์ที่ต้องพัฒนา ซึ่งเรียกว่า IDGs (Inner Development Goals) ที่มี 5 มิติ 23 ทักษะ คือ
- Being (ความเป็นตัวเรา)5 ทักษะ
- Thinking(สิ่งที่เราคิด) 5 ทักษะ
- Relating(ออกนอกตัวเรา ความสัมพันธ์) 4 ทักษะ
- Collaborating(ความร่วมมือ) 5 ทักษะ
- Acting (การลงมือปฎิบัติ) 4 ทักษะ
Being มิติตัวตนที่มี 5 ทักษะ คือ
- Inner Compass หรือ เข็มทิศภายใน ที่มีความชัดเจนและเป็นเป้าหมายของตัวเองจริง ๆ ท่ี จะทำให้มีความมั่นคงในการใช้นำทางชีวิตได้จริง
- Integrity & Authenticity หรือ ความเที่ยงธรรมและความเป็นเนื้อแท้ของตัวเอง ไม่ได้ เป็นตัวตนที่หล่อหลอมมาจากค่านิยมหรือความ ต้องการจากภายนอกที่ปัจจุบันมีคนเป็นจำนวนมาก ไม่ได้เป็นเนื้อแท้ของตนเอง
- Openness and Learning Mindset หรือ ความเปิดกว้างและความรักในการเรียนรู้ เป็น ทักษะตรงข้ามกับ Fix Mindset ที่แข็งจนตรึงให้ ความรู้ไม่สามารถพัฒนาต่อได้ โดยเฉพาะในยุคท่ี ทุกสิ่งแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว รวมถึงตัวความรู้เอง ก็เปลี่ยนเร็วมากด้วย
- Self-Awareness หรือ การตระหนักรู้ในตนเอง หรือจะเรียกว่าความรู้สึกตัว ไม่หลงไปกับ ความคิดที่มาล่อหลอกก็ได้
- Presence หรือ การอยู่กับปัจจุบัน ไม่ติดข้องอยู่แต่กับอดีต หรือไม่ฟุ้งซ่านเลยไปในอนาคต จนหลุดออกจากความจริงตรงหน้า
ทักษะการคิด ความสัมพันธ์ ร่วมมือ และลงมือการปฎิบัติ
Thinking ทักษะที่เกี่ยวข้องกับความคิดที่มี 5 ทักษะ เช่นกันคือ
- Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึงการแจกแจง แยกองค์ประกอบของเรื่อง นั้น ๆ เป็นหน่วย ไม่ได้รู้แต่เพียงภาพรวม
- Complexity Thinking หรือ การคิดเชิงสลับซับซ้อน คือความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เหตุปัจจัยของแต่ละองค์ประกอบนั้นเข้าด้วยกันว่า มีสัมพันธ์กันเช่นไร
- Perspective Skill หรือ มุมมองที่หลากหลาย คือการเคลื่อนมุมมองของเราที่มีต่อเหตุการณ์นั้น อย่างรอบด้าน จนเห็นในทุกแง่มุม
- Sense-Making หรือ การคิดให้เห็นสาระที่ปรากฏอยู่ คือการเห็นความเป็นสาระหรือนัยใน เหตุการณ์นั้น
- Long term Orientation & Visioning หรือ การมีวิสัยทัศน์สามารถมองการณ์ไกลได้ เป็น ทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งในการใช้เดินทาง
Relating มิติของความสัมพันธ์ที่มี 4 ทักษะ สำคัญคือ
- Appreciating หรือ การชื่นชมกับผู้อื่น คือ การมองในมุมบวกตามความเป็นจริง ไม่ใช่การเยินยอ เพื่อหวังผล
- Connecting หรือ การรักษาการเชื่อมต่อ ที่เป็นทักษะในการบริหารความสัมพันธ์ รวมไปถึง การหาสายสัมพันธ์ใหม่ ๆ
- Humulity หรือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ที่ทำให้การเข้าถึงง่าย ไม่ก่อเกิดความต้านจากการรู้สึก หยิ่ง จองหอง
- Compassion & Empathy หรือ ความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจที่สำคัญมาก โดยเฉพาะ เป็นปัจจัยในการเกิดความคิดสร้างสรรค์
Collaborating มิติของการร่วมมือจะมี 5 ทักษะ คือ
- Communication Skill หรือ ทักษะการสื่อสาร ไม่เพียงแต่การพูด แต่รวมถึงการสื่อใน รูปแบบต่าง ๆ รวมถึงภาษากายด้วย
- Co Creation หรือ การร่วมสร้างสรรค์ และเมื่อรวมกลุ่มกันแล้วต้องมีทักษะนี้เพื่อให้การรวมนั้น สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ออกมา
- Trust หรือ ความเชื่อในกันและกัน ต้องรู้จักพิจารณาและเลือกที่จะวางใจในหมู่ ทำให้เกิดพลัง ความสามัคคี ไม่คอยระแวงกันจนแตกสลาย
- Mobilization หรือ การขับเคลื่อนงานออกมาเป็นรูปธรรม ทักษะสุดท้ายของมิติการ รวมกลุ่มที่จะส่งต่อไปสู่การกระทำ ไม่เพียงแต่รวม แล้วแลกเปลี่ยนกัน
Acting มิติของการกระทำที่มี 4 ทักษะ คือ
- Courage หรือ ความกล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เผลอไปใช้วาทกรรมประมาณ ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
- Creation หรือ ความคิดสร้างสรรค์ในงานที่จะทำนั้น เป็นทักษะที่ต่อมาจากความกล้าที่จะ ตัดสินใจลงมือทำ แล้วถึงจะส่งต่อไปคิดพัฒนา
- Optimist หรือ การมองในด้านบวกให้มกำลังใจ เพราะสังคมทุกวันนี้ใช้ความเกลียดในการ ขับเคลื่อนไปตามวิวัฒนาการของสมองและกายภาพ จนทำให้คนมักชอบมองในแง่ร้าย ซึ่งมีการนำเรื่อง ร้าย ๆ มาสู่ตน
- Perseverance หรือ ความอดทนรอคอยผลสำเร็จได้ ทักษะนี้คือการฝึกให้รู้เท่าทันเหตุปัจจัย ที่คอยมายั่วแหย่ให้เราหลุดจากทางที่ควรเดินไปสู่วิถี มักง่าย
“IDG เป็นทักษะที่เราพัฒนาภายในตัวเราเอง และเรามองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่ ทำตัวเป็นนาย หรือเจ้าของธรรมชาติอย่างที่ผ่านมา และเรามักตัดขาดจากคนใกล้ตัว เพื่อนร่วมงาน คนที่คิดไม่เหมือนเรา และสุดท้ายเราตัดขาดกับตัวเอง ดังนั้น กระบวนการ IDGs คือการเชื่อมโยงตัวเราเอง ผู้อื่น และธรรมชาติ ขณะที่ ESG เป็นสิ่งที่ผู้บริหารทุกคนต้องทำให้ดีต่อโลก ดีต่อเรา และดีต่อใจ ซึ่ง IDG จะอยู่ในกระบวนการเหล่านี้ เราจะต้องเป็นมนุษย์ที่ปกป้องพิทักษ์โลก IDGsจะสามารถคืนความเป็นเรากลับมาเป็นมนุษย์ นึกถึงเพื่อนร่วมโลก มนุษย์ต้องกลับมาเป็น ECO Being ไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวในโลกที่ทำลายโลก” ธรากร กล่าว
"ใจสอนใจ" สร้างความยั่งยืนในตนเอง
“รศ.วีรยา จึงสมเจตไพศาล” รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่าจากการได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ IDGs อยากรู้เรื่องจุดสมดุลของตัวเอง ทั้งด้านอาชีพการงาน ร่างกายสุขภาพ อารมณ์ จิตวิญญาณ ครอบครัว และการเงิน ซึ่งหลายๆ ครั้งที่เราทำไปเรื่อยๆ จนชิน จะทำให้เรารู้สึกว่าการทำงานไม่มีความท้าทาย ทำให้เราต้องบริหารจัดการในทุกๆ เรื่องให้ดี เพราะทุกเรื่องมีความเชื่อมโยงกัน
“ในช่วงโควิด-19 ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องของ IT มากขึ้น เพราะมีการสอนออนไลน์ และตอนนั้นได้ไปเจอว่าม.มหิดล บ่มเพาะตัวตนหนบนทางแห่งความเป็นครู ใช้ใจสอนใจ และได้ไปเจอโครงการพัฒนาศักบภาพอาจารย์ม.มหิดลด้านการศึกษา ได้รู้เรื่องของตัวตนบนหนทางความเป็นครู ได้รู้จิตตปัญญา ซึ่งช่วยในการได้รู้จักและเข้าใจผู้เรียนดีขึ้น ทำให้เกิดการฟังลึกซึ้งขึ้น เชื่อมโยงจากความเข้าใจตนเอง สู่ความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง เมื่อเกิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ใจเบาลง อีกทั้งการใช้ใจสอนใจ คือ ทำให้เรารู้ถึงวิธีการสอนที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ และความเข้าใจตัวเอง เมื่อรู้เท่าทัน เข้าใจตนเองจะเข้าใจผู้อื่น”รศ.วีรยา กล่าว
ทั้งนี้ การรู้จัก IDGsนอกจากได้จากตัวเองแล้ว การรับฟังไม่ใช่การสั่งการ ทำให้กระบวนการเรา คนที่สื่อสาร หรือทำงานด้วยไม่ถูกกดดัน การใช้ใจสัมผัสกับใจและเชื่อมโยงความเข้าใจตนเอง ไปสู่ความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง
IDGs Module 3 จะเป็นความต่อเนื่องในการเรียนรู้ ทั้งทักษะการฟัง การสื่อสาร ,ความเข้าใจ ความรักความเมตตาต่อผู้อื่น ,การสร้างความไว้วางใจ พื้นที่ปลอดภัย ความสัมพันธ์ต่อผู้คนและโลภเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาเป้าหมายภายใน และ ก้าวข้ามศักยภาพเดิมไปสู่ศักยภาพใหม่
รู้จักตัวเอง เรียนรู้ จัดการปัญหาทำให้ชีวิต งานดีขึ้น
“ดร.เจษฎา อานิล” ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่าตอนแรกที่มหาวิทยาลัยมีการอบรมต่างๆ ให้แก่มหาวิทยาลัยอยู่แล้ว ซึ่งส่วนตัวชอบไปอบรม จนเมื่อมาเจอจิตตปัญญา ที่ทำให้เปลี่ยนกระบวนการสอน การคิด ตอนแรกพอเห็น IDGs มี 5 Module ก็กังวลว่าจะมาเรียนได้หรือไม่ เพราะอาจจะไม่มีปัญหา แต่พอเข้าไปเรียน Moduleแรก Being และ Module สอง Thinking ทำให้เรารู้สึก ประดิษฐ์ตัวเองมากเกินไป และเราก็ปรับตัว หลังจากนั้น เราก็เรียนรู้ Module ต่างๆ จึงทำให้ได้นำไปใช้ในการทำงาน และชีวิต ทั้งการควบคุมสติ มีความสงบ จัดการปัญหาตัวเองได้ดีขึ้น การที่เข้าใจ Being ของตัวเอง ทำให้เปิดใจและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
“ดร.สพ.ญ.กัญช์ เกล็ดมณี” อาจารย์ประจำภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรียนรู้ IDGs เพราะอาจารย์ไม่รู้จักว่า IDGsคืออะไร และมีประโยชน์อะไร แต่เมื่อได้มาเข้าร่วมเรียนรู้กับโมดูลของ IDGs ทำให้ได้รู้จักตัวตน การเชื่อมโยงกับโลกภายนอกและภายในของเราเอง อีกทั้งจากแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว คน สัตว์ สิ่งแวดล้อม ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่มิติใดมิติหนึ่งที่จะแก้ได้ ทุกมิติต้องเดินไปด้วยกัน
ขณะที่ “ดร. ณัชร สยามวาลา” นักวิชาการอิสระ กล่าวว่าเราเป็นคนในลักษณะIntrovert ซึ่งเมื่อเข้าร่วมการเรียน IDGs และกิจกรรมให้ไปสื่อสารกับผู้อื่น พบว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก จึงเริ่มจากการสื่อสารภายในตัวเองก่อน และใช้จิต ความเพียรที่บริสุทธิจะเปี่ยมไปด้วยปัญญา และเราจะสามารถสื่อสาร หรือกล้าที่จะไปพูดคุยกับผู้อื่นได้ ซึ่งตอนลงทะเบียนพบบางคำถาม อาทิ สิ่งใดบ้างที่จะทำให้คนหันมาสนใจ IDGsโดยเฉพาะองค์กร/สถานศึกษา และความเชื่อมโยงของ SDG และ IDGs การนำไปประยุกต์ใช้ จึงสนใจอยากเรียนรู้ IDGs และเมื่อมาเรียนรู้ IDGsมองว่าทุกอย่างเป็นเหตุและปัจจัยร่วมกัน เราได้สื่อสารภายในของตนเอง อีกทั้งต้องเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่ทำให้ได้เจอกัน