"BEDO" พัฒนา AI สร้างโอกาสธุรกิจชีวภาพแก่ทุกภาคส่วน ดันเป็น Soft Power
"BEDO" เผยแพร่ความหลากหลายทางชีวภาพ กับการสร้างโอกาสทางธุรกิจชีวภาพด้วยระบบ AI แก่ทุกภาคส่วน ดันเป็น Soft Power สร้างฐานรายได้ใหม่เป็น New Engine of Growth ในอนาคต
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.)หรือ BEDO กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ได้จัดประชุมเผยแพร่ความหลากหลายทางชีวภาพกับการสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ ในหัวข้อ “AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ” ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอน เวนชั่น โดยมีนางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เป็นประธานในพิธีพร้อมด้วยคณะกรรมการ สพภ. คณะผู้บริหาร สพภ.และผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่า 100 คน
นางสุวรรณา กล่าวว่า BEDO เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดการบริหารจัดการการนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ผ่านการได้ขับเคลื่อนการทำงานด้านทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่กับการบริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบของระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
BEDO ยกระดับวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ท่องเที่ยวชีวภาพ จ.น่าน
ดึง AI ยกระดับธุรกิจชีวภาพ
โดยเริ่มต้นจากการค้นหาของดีจากความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้การสนับสนุนข้อมูลจากนักวิชาการที่ร่วมกันจัดทำข้อมูลบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพ ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูล องค์ความรู้ออนไลน์ และข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจน BEDO ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลด้วย ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นวิสาหกิจชุมชน ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กล่าวต่อว่า การจัดงานในหัวข้อ“AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ” ครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลฐานชีวภาพเพื่อนำความหลากหลายทางชีวภาพไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยข้อมูลเชิงนิเวศ ข้อมูลภูมิปัญญา ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์ และส่งเสริมความรู้การพัฒนาศักยภาพของข้อมูลฐานชีวภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูลในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ถือเป็น “วัตถุดิบในเชิงเศรษฐกิจ” นำไปสู่การพัฒนาเป็น Soft Power สร้างฐานรายได้ใหม่เป็น New Engine of Growth ในอนาคต
บริการข้อมูลฐานชีวภาพด้วยระบบ AI
โดยภายในงานจะมีการจัดกิจกรรม อาทิ การแนะนำระบบงานบริการของ สพภ. โดยมีดร.ธนิต ชังถาวร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ จากฐานชีวภาพ ,แนะนำระบบฐานงานบริการข้อมูลฐานชีวภาพด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการนำไปใช้ ประโยชน์โดย นายสัณห์ อุทยารัตน์ ที่ปรึกษาโครงการบริษัท เกรซ เทคโนโลยี แอนด์ คอนซัลแตนท์ พร้อมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับเศรษฐกิจชีวภาพ (BCG) โดย ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบัน ส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และการให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ เศรษฐกิจ โดยนายสืบศักดิ์ สืบภัคดี กรรมการบริหารและเลขาธิการ สมาคม โทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวมถึงมีการให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ เกษตรที่ยังยืน โดย รศ.ดร.มงคล รักษาพัชรวงศ์ผู้อำนวยการสถานี รับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และด้านสิ่งแวดล้อม โดย ดร.ไชยวัฒน์ กล่ำพล ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์