"ศัลยกรรม" ไทย ครองใจต่างชาติ ผู้ใช้บริการพุ่ง หลังวิกฤติโควิด-19 

"ศัลยกรรม" ไทย ครองใจต่างชาติ ผู้ใช้บริการพุ่ง หลังวิกฤติโควิด-19 

นอกจากประเทศไทยจะเป็นหมุดหมายในการท่องเที่ยวของต่างชาติแล้ว "ศัลยกรรม" ยังเป็นอีกหนึ่งบริการทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยม แม้ตลาดจะเติบโตลดลงในช่วงโควิด-19 แต่ขณะนี้ ได้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหลังผ่านวิกฤติการระบาด

ข้อมูลจาก สมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งอาเซียน พบว่า ที่ผ่านมามูลค่าตลาดของธุรกิจ ศัลยกรรม ไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปี 2560 มูลค่าราว 3 หมื่นล้านบาท ปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 3.6 หมื่นล้านบาท

 

ปี 2562 เพิ่มขึ้นอีก 3.96-4.3 หมื่นล้านบาท ส่วนในปี 2563 ก่อนมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 4.5 หมื่นล้านบาท โดยลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้ามารับบริการทำศัลยกรรมความงามในประเทศไทย กลุ่มใหญ่ คือ กัมพูชา ออสเตรเลีย ลาว และเมียนมา 

 

เทรนด์ศัลยกรรม เปิดกว้างเรื่องเพศ 

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก โรงพยาบาลบางมด ระบุว่า เทรนด์การทำ ศัลยกรรมในอนาคต ยังคงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและเปิดกว้างมากขึ้น ทุกเพศ ทุกวัย และทั่วโลก เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องและเสริมสร้างบุคลิกความมั่นใจให้กับตนเอง ที่ผ่านมาอาจจะเห็นการศัลยกรรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงวัยเริ่มทำงาน หรือกลุ่ม LGBT เพศทางเลือก

 

แต่ปัจจุบันจะเห็นการทำศัลยกรรมเสริมความงามในผู้ชาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับมากขึ้น หรือแม้กระทั่งในผู้สูงอายุก็เลือกทำศัลยกรรม เพราะเทคนิคทางการแพทย์มีความปลอดภัย ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน ผลลัพธ์ที่ให้ความเป็นธรรมชาติมากขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : จับตา "ตลาดศัลยกรรมความงาม" หลัง "เปิดประเทศ"

ศัลยกรรมไทย ครองใจต่างชาติ 

 

แม้ภาพรวมธุรกิจศัลยกรรมในเมืองไทยที่มีมูลค่ากว่า  4 หมื่นล้านบาท จะได้รับผลกระทบในช่วงการระบาดโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการเปิดประเทศ "ศัลยกรรม" ยังเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดชาวต่างชาติ รวมถึงคนในประเทศที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

ข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านความงามอันดับ ที่ 3 ของเอเชีย สามารถสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการด้านความงามและศัลยกรรม เนื่องจากไทยมีมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับโรงพยาบาลในยุโรป 

 

ทำไม "ศัลยกรรม" ของไทยจึงเป็นที่ยอมรับ

 

นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่งและผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด เผยว่า หนึ่งสิ่งที่ทำให้ชาวต่างชาติประทับใจในการแพทย์ของไทย คือ การบริการของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ให้ความเคารพกับผู้ป่วยอย่างสูงสุด มีความเป็นมิตร ดูแลอย่างใกล้ชิด สิ่งนี้ถือเป็นดีเอ็นเอของคนไทย ที่ได้ไปผสานอยู่ในวงการแพทย์ทุกแขนง จนทำให้ใครต่อใครต้องหลงรัก และพบว่าหลายเวทีในระดับสากล จะมีแพทย์ไทยเข้าร่วมประชุมด้านวิชาการร่วมกับชาติอื่นๆ จนชื่อเสียงแพทย์ไทยดังไกลก้องโลก

 

จากสถิติ ศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด พบว่า มีต่างชาติเดินทางเข้ามาศัลยกรรมไม่ขาดสาย โดยมาจากปัจจัยหลัก คือ คุณภาพ เทคนิคการผ่าตัด ประสบการณ์และฝีมือความชำนาญของศัลยแพทย์ไทยที่คนทั่วโลกให้การยอมรับ จนเกิดการบอกต่อทั้งปากต่อปาก

 

\"ศัลยกรรม\" ไทย ครองใจต่างชาติ ผู้ใช้บริการพุ่ง หลังวิกฤติโควิด-19 

 

ศัลยกรรมดึงหน้า ยอดนิยม

 

นพ.ธนัญชัย ได้ยกตัวอย่าง ศัลยกรรมที่ชาวต่างชาตินิยมทำคือ การทำศัลยกรรมดึงหน้า ด้วยเทคนิคเฉพาะ เรียกว่า “Modern Facelift” ซึ่งเป็นการประยุกต์ข้อดีของเทคนิคการผ่าตัดดึงหน้าในอดีต ร่วมกับ เทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งเเพทย์จะใช้เทคนิคการดึงหน้าที่ดึงลึกถึงกล้ามเนื้อในชั้นลึก SMAS (SUPERFICIAL MUSCULO-APONEUROTIC SYSTEM) เพื่อความตึงกระชับของใบหน้าที่ยาวนานขึ้น ลดโอกาสการกลับมาของริ้วรอยเเละความหย่อนยาน ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดเพียง 2-3 ชั่วโมง มีอาการบวมช้ำน้อย รูปหน้าเข้าที่เร็ว

 

หลังโควิด ผู้ใช้บริการพุ่ง 10-20% 

 

หลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มซาลง ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างเข้ามาจองทำศัลยกรรมกับศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตัวเลขผู้ใช้บริการพุ่งขึ้น 10-20 % เรียกได้ว่าเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี

 

ศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด จึงได้ต่อยอดขยายฐานกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยการแตกแบรนด์ลูกเพิ่มภายใต้ชื่อแบรนด์ว่า บางมดพลัส ( Bangmod Plus+) เพื่อรองรับการทำศัลยกรรมความงามทุกรูปแบบ ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด โดยมีการขยายโซนผู้ป่วยในเพื่อปรับเป็นห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้น เพื่อรองรับผู้ใช้บริการได้เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า อีกทั้งมีการเพิ่มทีมศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทาง วิสัญญีแพทย์ ทีมพยาบาลวิชาชีพ

 

"ประเทศไทยจะสามารถ เป็นศูนย์กลางศัลยกรรมความงามแห่งเอเชีย (Surgical Hub of Asia) ได้ภายใน 3 ปี หากได้การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนด้วยกันเอง" นพ.ธนัญชัย กล่าวทิ้งท้าย