รู้จัก “สถาบันโรคหัวใจ”บำรุงราษฎร์ รักษาทุกมิติ ระดับเวิลด์คลาส

 รู้จัก “สถาบันโรคหัวใจ”บำรุงราษฎร์ รักษาทุกมิติ ระดับเวิลด์คลาส

ข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่ามีคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นจำนวนถึง 7.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 12.2% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด สำหรับอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ในประเทศไทยประมาณปีละ 37,000 ราย เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน

Keypoint:

  • ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น
  • ย้ำปัจจัยเสี่ยงเกิดโรค อายุ เพศ ประวัติครอบครัว ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด และภาวะอ้วน 
  • "สถาบันโรคหัวใจ บำรุงราษฎร์" ดูแล ป้องกัน รักษาโรคหัวใจทุกมิติ
  • รักษาโรคหัวใจจะประสบความสำเร็จ ต้องทำงานวิจัยควบคู่ไปด้วย
  • เผยผลการรักษาโรคหัวใจในปี 2565 ก้าวสู่ระดับเวิล์ดคลาส

 “โรคหัวใจและหลอดเลือด” ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย  ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าที่อื่น ประมาณ 4-6 เท่า

โดยสาเหตุเกิดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจตีบตัน ขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากการสะสมของไขมัน โปรตีน ที่บริเวณผนังด้านในของหลอดเลือด

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ คือ อายุ เพศ ประวัติครอบครัว ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด ภาวะอ้วน

 รู้จัก “สถาบันโรคหัวใจ”บำรุงราษฎร์ รักษาทุกมิติ ระดับเวิลด์คลาส

ทั้งนี้ โรคดังกล่าวมักเป็นโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีความเครียดหรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายการรักษาของแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ใครว่างานหนักไม่ฆ่าคน? ทำงานไม่พักจน "อดนอน" เสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ส่องเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดูแล "หัวใจ" @ สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์

เลือกทาน Plant-based foods อย่างไร? ให้ดีต่อหัวใจ ดีต่อสุขภาพ

รู้ทัน "โรคหัวใจ" ไม่ให้เสี่ยง เนื่องในวันหัวใจโลก 2022

 

โรคหัวใจและหลอดเลือด มีแนวโน้ม และซับซ้อนมากขึ้น

“สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์” อีกหนึ่งสถาบันในการรักษาโรคหัวใจครอบคลุมทุกมิติในระดับเวิลด์คลาส ยิ่งจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากขึ้น ความต้องการการดูแลเรื่องหัวใจและหลอดเลือดอย่างครอบคลุมทุกมิติด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยจึงเพิ่มขึ้นด้วย

ภกญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่าองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ประชากรโลกกว่า 18 ล้านคนต่อปีเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด การเกิดโรคหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคตอันใกล้เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

“โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับการบริการและการป้องกันโรคหัวใจ รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพ และการประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดระยะเริ่มต้น จากความดันโลหิตสูงและระดับคอเลสเตอรอลอีกด้วยเพื่อรับมือกับจำนวนเคสโรคหัวใจและอาการแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องที่เพิ่มสูงขึ้น” ภกญ.อาทิรัตน์ กล่าว

 รู้จัก “สถาบันโรคหัวใจ”บำรุงราษฎร์ รักษาทุกมิติ ระดับเวิลด์คลาส

“สถาบันโรคหัวใจ”เป็นหนึ่งในศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของบำรุงราษฎร์ แพทย์ชำนาญการของเราสามารถรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีอาการซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งของทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพหลากหลายสาขาที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ตั้งเป้า 1 ใน10 สถาบันโรคหัวใจระดับโลก

ตั้งแต่ปี 2013 ที่ทางรพ.บำรุงราษฎร์ ได้มีการจัดตั้ง "สถาบันโรคหัวใจ" จากวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของทีมผู้บริหารและศ. นพ. กุลวี เนตรมณี แพทย์ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจ บำรุงราษฎร์

ศ. นพ. กุลวี กล่าวว่า สถาบันโรคหัวใจ บำรุงราษฎร์ นอกจากเน้นการรักษาที่ดี และมีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างครอบคลุมทุกมิติแล้ว ยังเน้นการทำงานวิจัยควบคู่ร่วมด้วย เพราะการจะรักษาโรคหัวใจได้ดี จะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หากจะรักษาอย่างเดียว แต่ไม่มีการเก็บข้อมูล ไม่ทำงานวิจัย คงไม่สามารถเป็นสถาบันโรคหัวใจอันดับต้นๆ ได้

"การเรียนรู้ การเก็บข้อมูล การศึกษาค้นคว้าจะทำให้สถาบันโรคหัวใจ ประสบความสำเร็จ ซึ่งเราจะเป็น 1 ใน10 สถาบันเกี่ยวกับโรคหัวใจได้ จะต้องมีการรักษาพร้อมกับการวิจัย  เทคโนโลยี นวัตกรรม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้สถาบันหัวใจบำรุงราษฎร์ พัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง" ศ.นพ.กุลวี กล่าว

 

ศ. นพ. กุลวี กล่าวต่อว่าสถาบันโรคหัวใจ มุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์การแพทย์ที่ทันสมัยและให้การรักษาที่ครอบคลุมโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลว การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด รวมถึงการคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาวะของหัวใจ นอกจากนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ยังมีแผนก Cardiac Care Unit (CCU) ที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขั้นวิกฤต และผู้ป่วยหลังการผ่าตัดตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้กลับมาฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับมามีชีวิตปกติได้อย่างดีที่สุดและเร็วที่สุด

 รู้จัก “สถาบันโรคหัวใจ”บำรุงราษฎร์ รักษาทุกมิติ ระดับเวิลด์คลาส

“รพ.บำรุงราษฎร์" ลงทุนกับเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างมหาศาล โดยอุปกรณ์ทางการแพทย์บางอย่าง ก็ไม่ได้ให้ผลตอบแทน เมื่อเรามีทีมแพทย์ชำนาญการที่พร้อมให้การรักษา  

สำหรับตัวอย่างงานวิจัยที่ผ่านมา ศ. นพ. กุลวี เนตรมณี เป็นหนึ่งในแพทย์คนแรกของโลกที่ค้นพบสาเหตุของโรคใหลตาย หรือการตายระหว่างนอนหลับอย่างกะทันหันได้ นอกจากนี้ ยังทำวิจัยเรื่องประโยชน์และข้อจำกัดในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการจี้หัวใจผ่านสายสวนในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วอีกด้วย

อีกทั้ง สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ ยังเป็นศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยระดับตติยภูมิในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และขยายขอบเขตการรับรักษาไปยังทุกแห่งของโลก โดยมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากทั่วโลก รวมถึงสหรัฐอเมริกาและยุโรป

ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะของบำรุงราษฎร์ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการจี้หัวใจผ่านสายสวนในผู้ป่วยที่มีอาการ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เนื่องจากเป็นสถานที่เพียงไม่กี่แห่งในโลกที่ศึกษาการจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (CFAE ablation) ร่วมกับเทคโนโลยี CardioInsight ตรวจจับหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยไม่ต้องมีการผ่าตัดหรือสอดเครื่องมือใด ๆ อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559

เผยผลการรักษาโรคหัวใจในรอบปี 2565 ที่ผ่านมา

นพ. อชิรวินทร์ จิรกมลชัยสิริ แพทย์ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศาสตร์โรคหัวใจเป็นสาขาที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับอีกหลายสาขา สาขาย่อยต่าง ๆ ของศาสตร์นี้มุ่งเน้นการรักษาเฉพาะส่วนของหัวใจ ดังนั้น ความเข้าใจในส่วนประกอบต่าง ๆ ของหัวใจจึงเป็นสิ่งสำคัญในการให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพ มีผลการรักษาผู้ป่วยที่ยอดเยี่ยมเป็นที่น่าพอใจ

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์การรักษาแสดงให้เห็นว่าสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพระดับเวิลด์คลาส อาทิ 

1.โรคหลอดเลือดหัวใจ มุ่งเน้นการวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ที่อาจนำมาสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต ในปี 2565

  • รักษาโดยการสวนเส้นเลือดหัวใจและการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด รวมทั้งสิ้น 812 ราย
  • โดยประสบความสำเร็จ 99.2% ในขณะที่สถิติความสำเร็จของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 95%
  • การเกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่ที่ 0.39% ในขณะที่สถิติการเกิดภาวะแทรกซ้อนของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 2.65%.
  • โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการเพียง 1 วันหลังการรักษา

 รู้จัก “สถาบันโรคหัวใจ”บำรุงราษฎร์ รักษาทุกมิติ ระดับเวิลด์คลาส

2.โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะและสรีรวิทยาไฟฟ้า มุ่งเน้นที่การวินิจฉัยและการควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ รวมถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติอื่น ๆ ในปีที่ผ่านมา

  • เรารักษาด้วยสรีรวิทยาไฟฟ้า ทั้งหมด 183 ราย
  • อัตราความสำเร็จอยู่ที่ 100% เราได้จี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง เพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
  • โดยมีอัตราภาวะแทรกซ้อนอยู่ที่ 4.35% ในขณะที่สถิติการเกิดภาวะแทรกซ้อนของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 6.5%
  • การรักษาภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วมีอัตราความสำเร็จที่ 100% โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน

3.TAVR/TAVI หรือ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยการใช้สายสวนแบบไม่ต้องผ่าตัด มุ่งเน้นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจตีบตัน ลิ้นหัวใจแคบลงและขัดขวางการไหลเวียนของเลือด สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์

  • ได้รักษาการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยการใช้สายสวนแบบไม่ต้องผ่าตัดไปทั้งสิ้น 26 ราย ซึ่งถือเป็นจำนวนเคสที่มากที่สุดในโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย
  • อัตราความสำเร็จอยู่ที่ 100% โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน

4.ภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรงและการปลูกถ่ายหัวใจ มุ่งเน้นการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรง รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากทีมสหสาขาวิชาชีพหรือจำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายหัวใจ

  • สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวที่สามารถผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจได้ และได้รับการรับรองจาก Joint Commission International อัตราการรอดชีวิตหลังจากปลูกถ่ายหัวใจใน 1 ปีอยู่ที่ 100% โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน

 รู้จัก “สถาบันโรคหัวใจ”บำรุงราษฎร์ รักษาทุกมิติ ระดับเวิลด์คลาส

5.การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ คือการผ่าตัดเผื่อเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจที่ตีบตันหรือแคบลง เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น

  • ในปีที่ผ่านมา เราได้ผ่าตัดหัวใจไป 430 ราย ในจำนวนนี้มี 71 รายที่เป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
  • อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลเป็น 0% ในขณะที่สถิติการเสียชีวิตของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 2.1%
  • ไม่มีรายงานของภาวะสมองขาดเลือดหลังการผ่าตัดในขณะที่สถิติของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3%

6.การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ มุ่งเน้นที่การออกแบบดูแลการออกกำลังกายและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคหัวใจและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

  • โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของเราช่วยให้ 100% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
  • ใช้ชีวิตตามปกติได้ภายใน 7 วัน (สถิติเฉลี่ยอยู่ที่ 90%)
  • 97% ของผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ภายใน 4 วัน (สถิติเฉลี่ยอยู่ที่ 90%)

7.โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มุ่งเน้นการศึกษาพันธุกรรมที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจ ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ และโรคไขมันในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์ ในปัจจุบัน ความรู้เรื่องพันธุกรรมพัฒนาไปมากจนสามารถระบุยีนที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจได้

  • การตรวจรหัสพันธุกรรมช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจแต่ยังไม่แสดงอาการได้ นอกจากนี้ การตรวจรหัสพันธุกรรมยังช่วยในการวางแผนการมีบุตรที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ในปีที่ผ่านมา เราได้มีการตรวจรหัสพันธุกรรมไปทั้งสิ้น 360 ราย