"หมอยง" คาดไทยพบผู้ป่วย โควิด-19 พุ่งเดือน มิ.ย. - สายพันธุ์ไหนต้องเฝ้าระวัง

"หมอยง" คาดไทยพบผู้ป่วย โควิด-19 พุ่งเดือน มิ.ย. - สายพันธุ์ไหนต้องเฝ้าระวัง

"หมอยง" คาดไทยพบผู้ป่วย โควิด-19 พุ่งเดือนมิถุนายน เผยสายพันธุ์ไหนที่ต้องเฝ้าระวังอย่างมาก ชี้ความรุนแรงของโรคในปัจจุบันลดลงเหตุมาจาก 2 ปัจจัยนี้

วันที่ 15 มีนาคม 2566 ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ หรือ "หมอยง" หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุถึง โควิด-19 การกลายพันธุ์ และความรุนแรงของโรค 

 

 

โดย หมอยง ระบุว่า หลังจากที่มีการยกเลิกนโยบาย โควิด-19 เป็นศูนย์ในประเทศจีน ก็มีการระบาดใหญ่อย่างรวดเร็ว และได้ยุติลงแล้ว และไม่ได้มีการเสียชีวิตเป็นล้านๆคนอย่างที่ทางตะวันตกประเมิน หลายคนเป็นห่วงว่าจะเกิดการกลายพันธุ์ มีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แต่จากการเฝ้าระวังจนถึงปัจจุบันที่โรคเริ่มสงบลง ก็ไม่พบการกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่และแพร่ระบาดใหญ่เกิดขึ้น

 

สายพันธุ์ที่มีเฝ้าระวังอย่างมากขณะนี้ คือ Kraken (ปลาหมึกยักษ์) , XBB.1.5 และ Orthrus (สุนัข 2 หัวมีหางเป็นงู) CH.1.1 ที่ระบาดในอเมริกาและยุโรป 

 

 

หมอยง ระบุต่ออีกว่า สำหรับประเทศไทยในช่วงนี้โรคสงบตามฤดูกาลอย่างที่คาดหมายไว้ และจะไปเริ่มพบผู้ป่วยมากอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน สายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยที่เฝ้าระวังอยู่ขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะไม่มีการระบาดมากอย่างผิดสังเกต 

 

ตามหลักวิวัฒนาการที่เคยกล่าวไว้ สายพันธุ์ที่พบที่มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ความรุนแรงของโรคมีแต่ลดน้อยลง จะเห็นได้ชัดตั้งแต่สายพันธุ์ "โอมิครอน" เป็นต้นมา 

 

ความรุนแรงของโรคในปัจจุบันลดลงจาก 2 ปัจจัย จากตัวไวรัสที่มีความรุนแรงลดลง และประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น เพื่อให้เราอยู่ร่วมกันได้

 

Cr. Yong Poovorawan