PM 2.5 เชียงรายวิกฤติหนัก 18 อำเภอ เช็ก 10 อันดับมลพิษทางอากาศมากสุดในไทย
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ล่าสุดวันนี้ (28 มี.ค.2566) เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศพุ่งกว่า 528 AQI ขณะที่ 10 อันดับแรกอยู่ในระดับสีม่วงทั้งหมด ซึ่งเป็นระดับที่มีผลกระทบเป็นอย่างมากและอันตรายต่อสุขภาพ
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ล่าสุดวันนี้ (28 มี.ค.2566) เว็บไซต์ IQAir รายงานอันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดของประเทศไทย (ณ เวลา 09.08 น.) ปรากฏว่า เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศพุ่งกว่า 528 AQI ขณะที่ 10 อันดับแรกอยู่ในระดับสีม่วงทั้งหมด ซึ่งเป็นระดับที่มีผลกระทบเป็นอย่างมากและอันตรายต่อสุขภาพ
10 อันดับคุณภาพอากาศ มลพิษทางอากาศมากที่สุดของประเทศไทย
1.อำเภอเมืองเชียงราย จ.เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศ 528 AQI
2.อำเภอเวียงชัย จ.เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศ 470 AQI
3.อำเภอแม่สาย จ.เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศ 416 AQI
4.อำเภอทุ่งช้าง จ.น่าน ดัชนีคุณภาพอากาศ 379 AQI
5.อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ดัชนีคุณภาพอากาศ 351 AQI
6.อำเภอแม่แตง จ.เชียงใหม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 322 AQI
7.อำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน ดัชนีคุณภาพอากาศ 313 AQI
8.อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ ดัชนีคุณภาพอากาศ 276 AQI
9.อำเภอสันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 258 AQI
10.อำเภอลี้ จ.ลำพูน ดัชนีคุณภาพอากาศ 257 AQI
ขณะที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย รายงาน คุณภาพอากาศ ประจำวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2566 เช้านี้ค่าฝุ่น PM 2.5 ของจังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับสีแดง (คือค่าฝุ่นตั้งแต่ 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป) พร้อมแนะประชาชนสวมหน้ากาก รวมทั้งลดการทำกิจกรรมนอกบ้าน
สรุปสถานการณ์ค่าฝุ่น PM 2.5 เชียงรายใน 18 อำเภอ
1.อ.เมืองเชียงราย 405
2.อ.แม่สาย 530
3.อ.เชียงของ 314
4.อ.ขุนตาล 252
5.อ.ดอยหลวง 265
6.อ.ป่าแดด 320
7.อ.พญาเม็งราย 364
8.อ.พาน 201
9.อ.เวียงชัย 280
10.อ.เชียงแสน 323
11.อ.เทิง 283
12.อ.เวียงป่าเป้า 167
13.อ.เวียงเชียงรุ้ง 237
14.อ.เวียงแก่น 294
15.อ.แม่จัน 371
16.อ.แม่ฟ้าหลวง 411
17.อ.แม่สรวย 251
18.อ.แม่ลาว 301
ทั้งนี้ ที่ประชุมสาธารณสุขอำเภอแม่สาย และโรงพยาบาลแม่สาย ได้รายงานสถานการณ์ และผลการดำเนินงานในพื้นที่ ตาม 3 มาตรการ 10 กิจกรรม มาตรการลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ มาตรการจัดบริการแพทย์และสาธารณสุข การดำเนินกิจกรรม อสม.เคาะประตูบ้าน แนะนำการป้องกันตนเอง และประชาสัมพันธ์ประกาศจังหวัดเชียงราย ห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิดเด็ดขาด พร้อมทั้งร่วมหารือการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในอำเภอแม่สาย การให้จัดทำห้องปลอดฝุ่นเพิ่มเติม เพื่อรองรับผู้ได้รับผลกระทบ การจัดทำเครื่องฟอกอากาศ DIY การเน้นย้ำรณรงค์สื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การป้องกันและการดูแลสุขภาพของประชาชน การสำรวจกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง เพื่อให้เข้าถึงการดูแลสุขภาพในสถานการณ์ PM 2.5 การเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์หากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
และเนื่องจากสถานการณ์ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของจังหวัดเชียงราย ค่าฝุ่นยังมากกว่า 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ ขอให้ประชาชนจังหวัดเชียงรายหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์