พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน บางนา 'อุณหภูมิ' สูงสุดทะลุ 50 องศา

พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน บางนา 'อุณหภูมิ' สูงสุดทะลุ 50 องศา

กรมอุตุฯ พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ตั้งแต่วันที่ 4 -6 เมษายน 2566 ชี้ บางนา "อุณหภูมิ" สูงสุดในไทย ทะลุ 50 องศา เสี่ยงเกิดฮีทสโตรก

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 4 -6 เมษายน 2566 ระบุว่า จังหวัดที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงสุด ดังนี้

- 4 เมษายน 2566

  • กำแพงเพชร 28.7 องศา
  • มุกดาหาร 31.4 องศา
  • บางนา 36.6 องศา
  • ชลบุรี 33.8 องศา
  • สงขลา 34.4 องศา

- 5 เมษายน 2566

  • แม่สอด จ.ตาก 41 องศา
  • ศรีษะเกษ 38.4 องศา
  • บางนา 45.5 องศา
  • ชลบุรี 45.8 องศา
  • พังงา 43.3 องศา

- 6 เมษายน 2566

  • เพชรบูรณ์ 40.6 องศา
  • ศรีษะเกษ 41.5 องศา
  • บางนา 50.2 องศา
  • แหลมฉบัง จ.ชลบุรี 49.4 องศา
  • ภูเก็ต 47.9 องศา

 

พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน บางนา \'อุณหภูมิ\' สูงสุดทะลุ 50 องศา

ดัชนีความร้อน หรือ Heat Index คือ "อุณหภูมิ" ที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้นว่า อากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฎในขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยค่าดัชนีความร้อนสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อระบุความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อน หากพื้นที่ที่มีอากาศร้อนหากเกิดร่วมกับความชื้นสูงแล้วจะทำให้คนเรารู้สึกเหมือนอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศ ณ ขณะนั้น ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพ 

พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน บางนา \'อุณหภูมิ\' สูงสุดทะลุ 50 องศา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยพยากรณ์ค่าดัชนีความร้อน (HI) มี 4 ระดับ ดังนี้

- สีเขียว หมายถึง ระดับเฝ้าระวัง แทนค่าดัชนีความร้อน 27-32 °C ผลกระทบต่อสุขภาพ คืออ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อน หรือออกกำลังกายหรือทำงานใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน

- สีเหลือง หมายถึง ระดับเตือนภัย แทนค่าดัชนีความร้อน 32-41°C ผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

- สีส้ม หมายถึง ระดับอันตราย แทนค่าดัชนีความร้อน 41-54 °C ผลกระทบต่อสุขภาพ มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด (Heat Stroke) ได้หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

- สีแดง หมายถึง ระดับอันตรายมาก แทนค่าดัชนีความร้อน มากกว่า 54 °C ผลกระทบต่อสุขภาพ จะเกิดภาวะลมแดด (Heat Stroke) โดยมีอาการตัวร้อน เวียนศีรษะ หน้ามืด ซึมลง ระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตได้หากสัมผัสความร้อนติดต่อกันหลายวัน 

 

ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศของประเทศไทยในช่วงสัปดาห์นี้ ระบุว่า ในช่วงวันที่ 4 – 5 และ 10 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมี อากาศร้อน โดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ 

ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ 

ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 9 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมี พายุฤดูร้อน เกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป  สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน บางนา \'อุณหภูมิ\' สูงสุดทะลุ 50 องศา

 

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา