องค์การอนามัยโลก แนะนำ 7 ประเด็นสำคัญ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ได้ประสิทธิภาพ

องค์การอนามัยโลก แนะนำ 7 ประเด็นสำคัญ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ได้ประสิทธิภาพ

7 ประเด็นสำคัญ ที่องค์การอนามัยโลก แนะนำทั่วโลกถึงช่วงเวลาการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในแต่ละกลุ่มประชากร ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล (รพ.)รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุ  7 ประเด็นสำคัญที่องค์การอนามัยโลกแนะนำทั่วโลกถึงช่วงเวลาการฉีดวัคซีนในแต่ละกลุ่มประชากร รวมทั้งประเภทของ "สายพันธุ์โอมิครอน" ที่ควรนำไปใช้เป็นหัวเชื้อในการผลิตวัคซีนโควิด 19 ชนิดสายพันธุ์เดี่ยวหรือ "วัคซีนโมโนวาเลนต์" ในอนาคต

ที่ปรึกษาสองกลุ่มขององค์การอนามัยโลกคือกลุ่มที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ด้านการสร้างภูมิคุ้มกัน (the World Health Organization’s Strategic Advisory Group of Experts on Immunization:SAGE) และกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับองค์ประกอบของ วัคซีนโควิด-19 (WHO's Technical Advisory Group on COVID-19 Vaccine Composition : TAG-CO-VAC) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่วงเวลาการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับแต่ละกลุ่มประชากรและสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ที่ควรนำมาใช้เป็นหัวเชื้อผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต เมื่อวันที่ 28 มีนาคม และ 18 พฤษภาคม 2566 ตามลำดับ คำแนะนำดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่องค์การอนามัยโลก ยกเลิกภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของโควิด-19 เมื่อประมาณสองสัปดาห์ก่อน ( 4 พฤษภาคม 2566) 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

7 ประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

1. วัคซีนในอนาคตควรมุ่งเป้าไปที่โอมิครอนกลุ่ม XBB.1* (XBB.1.5, XBB.1.16, และ XBB.1.9.1) โดยที่สายพันธุ์ดั้งเดิมของ SARS-CoV-2 กล่าวคือ ไวรัสอู่ฮั่น อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา ไม่ควรนำมาใช้เป็นหัวเชื้อผลิตวัคซีนอีกต่อไป เนื่องจากปริมาณการระบาดไหลเวียนติดเชื้อในมนุษย์ทั่วโลกลดลงและภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นขึ้นมาจะมีประสิทธิภาพต่ำในจับและทำลายโอมิครอนสายพันธุ์ปัจจุบัน

2. วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีอยู่ เช่น วัคซีนไบวาเลนต์บูสเตอร์ในสหรัฐฯ แม้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต แต่ก็มีประสิทธิภาพต่ำในการป้องกันการติดเชื้อ โควิด-19 เนื่องจากแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่เดือนหลังฉีด

3. การแก้ไขแนวทางการให้วัคซีนแนะนำว่าเด็กและวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 6 เดือน-17 ปีที่มีสุขภาพดี อาจ "ไม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีน" อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุและกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับการฉีดเข็มกระตุ้นภายใน 6 ถึง 12 เดือนหลังจากได้รับวัคซีนครั้งสุดท้าย

4. วัคซีนในอนาคตอาจพิจารณาใช้สายพันธุ์ลูกผสมโอไมครอนกลุ่ม XBB.1 และลูกหลาน เพียงชนิดเดียว (โมโนวาเลนต์) เช่น XBB.1.5, XBB.1.16, หรือ XBB.1.9.1 เป็นหัวเชื้อหรือแอนติเจนที่ใช้ผลิตวัคซีน

5. ไม่แนะนำให้ใช้สายพันธุ์เก่ามาเป็นหัวเชื้อร่วมกับสายพันธุ์ใหม่ (ไบวาเลนต์) แม้ผลกระทบทางคลินิกจะยังไม่ชัดเจนแต่มีหลักฐานในหลอดทดลองชี้ชัดว่าหากใช้สายพันธุ์เดิมฉีดกระตุ้นซ้ำๆจะทำให้การสร้างแอนติบอดีของเม็ดเลือดขาวต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ด้อยประสิทธิภาพลง (immune imprinting*) จึงควรใช้ไวรัสสายพันธุ์ใหม่เท่านั้นในการผลิตวัคซีนในอนาคต

6. คำแนะนำสำหรับวัคซีนโควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามลักษณะการแพร่ระบาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

7. องค์ประกอบแอนติเจนของวัคซีน COVID-19 ในอนาคตจะได้รับการประเมินเป็นประจำ โดย TAG-CO-VAC โดยพิจารณาจากวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสอย่างต่อเนื่อง

 

หมายเหตุ

การฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนที่ใช้ไวรัสตัวเดิมซ้ำๆอาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีกล่าวคือเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "Immune imprinting" เป็นกระบวนการที่ระบบภูมิคุ้มกันของเราเรียนรู้จดจำรูปลักษณ์ของไวรัสที่ใช้ผลิตวัคซีน เช่น วัคซีนโควิด-19 อันจะช่วยให้ร่างกายของเราตอบสนอง(สร้างแอนติบอดี) ได้เร็วขึ้นหากพบไวรัสตัวเดิมในอนาคต อย่างไรก็ตามหากร่างกายเรากลับพบกับไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย ระบบภูมิคุ้มกันอาจยังคงจดจำรูปแบบเดิมของไวรัสสายพันธุ์เก่าที่เรียนรู้จากวัคซีน ทำให้ไม่สร้างแอนติบอดีต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ อุบัติการณ์นี้พบได้ในหลอดทดลองแต่ยังไม่มีความชัดเจนในระบบร่างกายมนุษย์

ข้อมูลรหัสพันธุกรรมโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม XBB.1* ในประเทศไทยจากฐานข้อมูลโควิดโลก "จีเสส” ภายใต้ความร่วมมือจาก 3 หน่วยงานคือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ,ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี และ MORU Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาพบโอมิครอน XBB.1* จากผู้ติดเชื้อในประเทศไทยประมาณ 84.69% (426 ตัวอย่าง) จากตัวอย่างทั้งหมดที่มีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโจมและอัปโหลดขึ้นมาแชร์บนฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส

 

สายพันธุ์ย่อยของ XBB.1* ในประเทศไทยช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาประกอบด้วย

• XBB.1.16 (20.19%)

• XBB.1.5 (11.74%)

• XBB.1.9.1 (10.56%)

• FL.4 (7.98%)

• XBB.1.16.1 (6.10%)

• XBB.1.16.2 (4.69%)

• XBB.1.5.65 (3.05%)

• XBB.1.9.2 (3.05%)

• XBB.1.5.24 (2.82%)

• XBB.1 (2.11%)

• FL.10 (2.11%)

• XBB.1.22.2 (2.11%)

• FL.5 (1.64%)

• EG.1 (1.64%)

• XBB.1.32.1 (1.41%)

• XBB.1.5.15 (1.41%)

• XBB.1.5.57 (1.17%)

• FL.2 (0.94%)

• EG.4 (0.94%)

• FE.1 (0.94%)

• XBB.1.5.17 (0.94%)

• EU.1.1 (0.70%)

• XBB.1.5.47 (0.70%)

• EG.2 (0.70%)

• XBB.1.22 (0.70%)

• XBB.1.16.3 (0.70%)

• XBB.1.37.1 (0.70%)

• XBB.1.5.7 (0.70%)

• FL.12 (0.47%)

• GA.1 (0.47%)

• XBB.1.5.38 (0.47%)

• XBB.1.5.42 (0.47%)

• EG.1.2 (0.47%)

• XBB.1.5.55 (0.47%)

• XBB.1.22.1 (0.47%)

• XBB.1.24.1 (0.47%)

• FD.2 (0.23%)

• XBB.1.5.35 (0.23%)

• XBB.1.5.33 (0.23%)

• FL.1 (0.23%)

• FT.1 (0.23%)

• XBB.1.5.48 (0.23%)

• XBB.1.19.1 (0.23%)

• EG.5.1 (0.23%)

• XBB.1.11.1 (0.23%)

• XBB.1.5.14 (0.23%)

• XBB.1.5.12 (0.23%)

• XBB.1.5.13 (0.23%)

• FU.1 (0.23%)

• XBB.1.24.2 (0.23%)

• XBB.1.5.18 (0.23%)

• XBB.1.16.5 (0.23%)

 

ที่มา : who , Center for Medical Genomics