ค่าฝุ่น PM2.5 สมุทรสาคร คุณภาพอากาศแย่สุด กรุงเทพฯกระทบสุขภาพ 34 พื้นที่
รายงานคุณภาพอากาศในไทย ค่าฝุ่น PM2.5 อันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดของไทย ประจำวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ปรากฏว่า พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร มีค่ามลพิษทางอากาศสูงสุด นอกจากนี้พบพื้นที่กรุงเทพฯ อีกหลายเขต
เว็บไซต์ IQAir รายงานคุณภาพอากาศในไทย ค่าฝุ่น PM2.5 อันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดของไทย ประจำวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ปรากฏว่า พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร มีค่ามลพิษทางอากาศสูงสุด นอกจากนี้พบพื้นที่กรุงเทพฯ อีกหลายเขต รวมถึงจังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ
ดัชนีคุณภาพอากาศประเทศไทยพบค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน อยู่อันดับที่ 14 ของโลก ค่ามลพิษทางอากาศเฉลี่ย 130 AQI
โดยอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดของประเทศไทย 10 อันดับแรก ประกอบด้วย
- สมุทรสาคร, จังหวัดสมุทรสาคร 166 AQI
- ทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 160 AQI
- บางกรวย, จังหวัดนนทบุรี 154 AQI
- บางขุนเทียน, กรุงเทพฯ 153 AQI
- คันนายาว , กรุงเทพฯ 151 AQI
- คลองเตย , กรุงเทพฯ 141 AQI
- วังทองหลาง , กรุงเทพฯ 137 AQI
- บางพลี , จังหวัดสมุทรปราการ 135 AQI
- เทศบาลนครนนทบุรี, จังหวัดนนทบุรี 135 AQI
- ปากเกร็ด , จังหวัดนนทบุรี 135 AQI
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ตรวจวัดได้ 24.1-54.1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 34 พื้นที่ ดังนี้
1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 54.1 มคก./ลบ.ม.
2.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 50.1 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 49.8 มคก./ลบ.ม.
4.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 49.7 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 47.0 มคก./ลบ.ม.
6.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 46.3 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 45.7 มคก./ลบ.ม.
8.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 45.5 มคก./ลบ.ม.
9.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 45.4 มคก./ลบ.ม.
10.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 45.3 มคก./ลบ.ม.
11.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 45.0 มคก./ลบ.ม.
12.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 44.2 มคก./ลบ.ม.
13.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 44.1 มคก./ลบ.ม.
14.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 43.5 มคก./ลบ.ม.
15.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 43.3 มคก./ลบ.ม.
16.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 43.0 มคก./ลบ.ม.
17.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 42.7 มคก./ลบ.ม.
18.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 41.9 มคก./ลบ.ม.
19.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
20.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 41.7 มคก./ลบ.ม.
21.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 41.7 มคก./ลบ.ม.
22.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 41.7 มคก./ลบ.ม.
23.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 40.9 มคก./ลบ.ม.
24.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 40.5 มคก./ลบ.ม.
25.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.
26.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.
27.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 40.1 มคก./ลบ.ม.
28.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 39.5 มคก./ลบ.ม.
29.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 39.1 มคก./ลบ.ม.
30.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 38.5 มคก./ลบ.ม.
31.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 38.3 มคก./ลบ.ม.
32.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 38.3 มคก./ลบ.ม.
33.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 38.2 มคก./ลบ.ม.
34.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 37.7 มคก./ลบ.ม.
ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (ระดับสีส้ม)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) ในช่วงวันที่ 3-11 พ.ย. 66 การระบายอากาศไม่ดี อาจส่งผลต่อค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่สูงขึ้นในบางพื้นที่ และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร
สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน