'A Road to Lifelong Well-Being' เส้นทางสู่การมีสุขภาพดีอย่างยืนยาว
งานประชุมวิชาการร่วมประจำปี 2566 'BDMS ACADEMIC ANNUAL MEETING 2023' จัดโดย บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS ภายใต้แนวคิด 'A Road to Lifelong Well-Being' (เส้นทางสู่การมีสุขภาพดีอย่างยืนยาว)
Keypoint:
- เส้นทางการดูแลสุขภาพดีอย่างยาวนาน ไม่ใช่เพียงการป้องกัน หรือดูแลตัวเองเมื่อเข้าสู่สูงวัย แต่ต้องดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่เด็กและตลอดช่วงอายุ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
- สุขภาพกาย และสุขภาพใจ เป็นเรื่องเชื่อมกัน สูงวัยที่อายุยืนยาว จะไม่มีปัญหาด้านสุขภาพใจควรจะนอนดี รับประทานอาหาร ดีและออกกำลังกาย
- การป้องกันสุขภาพ 6 ด้าน ต้องเริ่มจากรับประทานอาหารดี ออกกำลังกาย 30 นาทีต่อ 5 วันต่อสัปดาห์ อย่าอดนอน นอนให้ได้ 8 ชั่วโมง และนอนให้ได้ตอน 4 ทุ่ม ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หลีกเลี่ยง หรืองดบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมความเครียด สุขภาพจิตดี
โดยมี นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้ก่อตั้ง บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงาน และ พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหารอาวุโส กลุ่ม 1 BDMS จัดงานประชุมฯ ระหว่างวันที่ 30 ต.ค. - 3 พ.ย. 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งใหม่ BDMS Connect Center ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่องกว่า 18 ปี เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ รวมทั้งผู้ที่สนใจทั้งออนไลน์ และออฟไลน์
แนวคิด 'A Road to Lifelong Well-being' สอดคล้องกับตามสถานการณ์ปัจจุบันที่นานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร มีอัตราการเกิดน้อยลง ขณะที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้ปัจจุบัน สังคมผู้สูงอายุมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ประสบการณ์ และความรู้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง ที่ทำงาน สังคมรอบข้าง และประเทศชาติ ให้เกิดผลลัพธ์หลายๆ ด้านที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ความรู้ เทคโนโลยีทางการแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
A Road to Lifelong Well-being เส้นทางสุขภาพยืนยาว
พญ.ปรมาภรณ์ กล่าวว่า แนวคิดหลักของการจัดงานในปีนี้ คือ A Road to Lifelong Well-being เนื่องด้วยปัจจุบันนานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร มีอัตราการเกิดน้อยลง ขณะที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้ปัจจุบัน สังคมผู้สูงอายุมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ประสบการณ์และความรู้ ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง ที่ทำงาน สังคมรอบข้างและประเทศชาติ ให้เกิดผลลัพธ์หลาย ๆ ด้านที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ความรู้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ในช่วงที่ผ่านมา มีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นการนำความรู้ เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านการแพทย์ การดูแลสุขภาพและด้านสาธารณสุข ตลอดช่วงอายุ จึงมีความสำคัญ
"การจัดงานประชุมวิชาการจึงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลสุขภาพและการแพทย์ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อประยุกต์ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อสังคมทุกช่วงวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุในประเทศไทยต่อไป” พญ.ปรมาภรณ์ กล่าว
‘สูงวัย’ ชีวิตยืนยาว แข็งแรง มีความสุข
ดร.นพ.ภูษิต ประคองสาย เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่า การมี “A Road to Lifelong Well-Being” สุขภาพที่ดีอย่างยืนยาวว่าตั้งแต่ปี 2566 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นปีละ 1 ล้านคน คาดว่าปี 2576 มีสูงวัย 60 ปี กว่า 28% กลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด หญิงไทยมีโอกาสมีลูก 1.1 คน ทำให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป
สูงวัยจะอยู่คนเดียวเพิ่มขึ้น จาก 3.6% ในปี 2537 เป็น 12% ในปี 2564 และมีสูงวัยอยู่กับสูงวัยกว่า 24% มีการศึกษารายได้สูงวัย ปี 2545 - 2564 พบว่าเดิมรายได้จากลูกหลานเป็นสัดส่วนที่มีความสำคัญ 58% ในปี 2545 และลดลงเรื่อยๆ ปัจจุบันอยู่ที่ 32% ที่พึ่งรายรับจากลูกหลาน และอีกส่วนหนึ่งพึ่งเบี้ยยังชีพ 19-20% จำนวน 600-800 บาทต่อเดือน สัดส่วนสูงวัยอยู่ใต้เส้นความยากจนกว่า 6.8% สิ่งสำคัญ พบว่า สูงวัยจำนวนหนึ่ง มีความจำเป็นที่จะต้องทำงานอยู่ในปัจจุบัน
“สูงวัยวัยต้นอายุราว 60-69 ปี ราว 50% ที่ต้องทำงานอยู่และเป็น Active Citizen ทำอย่างไรให้สามารถมีผลิตภาพ (Productivity) กับสังคม เป็นโจทย์ที่สำคัญ และ สิ่งที่กังวล คือ เรื่องการออม สูงวัยกว่า 45.7% ไม่มีเงินออมและมีหนี้สิน ขณะเดียวกัน 54.3% มีเงินออมน้อยกว่า 50,000 บาท”
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) มีแผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (2565 - 2580)ทำอย่างไรให้สูงวัยมีชีวิตอยู่ในไทย มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ต้องประกอบด้วยนโยบายในการพัฒนาประเทศในหลายด้าน ทำอย่างไรให้สูงวัยสามารถได้รับการสนับสนุน มีโอกาส มีงานทำ สร้างรายได้ พัฒนาระบบรองรับสูงวัยในอนาคตให้สูงวัย สามารถอยู่บ้าน ชุมชน มีรายได้ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้สูงวัยมี Life Long Well-being
6 ประเด็นความท้าทายสูงวัย
ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า โครงสร้างประชากร ที่ทำให้สูงวัยมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาสุขภาพ เรื้อรัง กาย ใจ นวัตกรรมที่อาจจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ UN ให้ความสำคัญ เรื่อง Functional ability ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เข้าถึงบริการสุขภาพ อาหาร แหล่งรายได้, ความสามารถในการคิด ตัดสินใจได้ ไม่พึงพิงผู้อื่น, การเคลื่อนไหว รวมถึงกิจวัตรประจำวัน, ความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อนบ้าน, และการมีส่วนร่วมให้ประสบการณ์แก่สมาชิกในครอบครัว หรือ จิตอาสา กิจกรรมอื่นๆ ในสังคม
สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2564 กระทรวงสาธารณสุข มีการคัดกรองในชุมชน โดยการคัดกรองความถดถอย 9 ด้าน ได้แก่ ความคิดความจำ, การเคลื่อนไหวร่างกาย, การขาดสารอาหาร, การมองเห็น, การได้ยิน, การซึมเศร้า, การกลั้นปัสสาวะ, การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และ สุขภาพช่องปาก
“ทั้งนี้ สุขภาพกาย และสุขภาพใจ เป็นเรื่องเชื่อมกันมานาน สูงวัยที่อายุยืนยาว จะไม่มีปัญหาด้านสุขภาพใจ การนอน สำคัญนอกจากการออกกำลังกายและอาหาร นอกจากนี้ มุมมองต่อชีวิต คนที่มองบวก พบว่าอายุยืนยาว กว่าคนที่มองว่าทุกอย่างเป็นเรื่องลบ”
Well-being เน้นต้องป้องกัน
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ลักษณะเฉพาะของสูงวัยที่แตกต่างจากผู้ป่วยทั่วไป คือ R-A-M-P-S ได้แก่ Reduced body reserve พลังสำรองร่างกายลดลง Atypical Presentation อาการแสดงที่ไม่แน่นอน Multiple Pathology มีหลายโรคในเวลาเดียวกัน Polypharmacy ได้รับยาหลายชนิด Social Adversity ปัญหาด้านสังคม
ทั้งนี้ ความเป็นอยู่ที่ดี หรือ Well-being ไม่ใช่แค่การรักษาโรค แต่ต้องป้องกัน (Primary Prevention) ได้แก่ อาหารได้รับสารอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงภาวะอ้วน มีสุขภาพจิตที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ป้องกันอุบัติเหตุ หลีกเลี่ยงอบายมุข ตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคหรือโรคที่ซ่อนอยู่ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อยู่สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ และใช้ยาอย่างถูกต้อง และ การออกกำลังกาย
ซึ่งการออกกำลังกายที่เหมาะสมคือการเดิน การจ็อกกิ้ง ซึ่งดีกับหัวใจและปอดการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เช่น ยกเวทการออกกำลังกายที่เพิ่มความยืดหยุ่น เช่น โยคะการทรงตัว ป้อกกันการหกล้ม
‘สุขภาพดีมีชัยไปกว่าครึ่ง’
นายอัฐ ทองแตง ประธานคณะบริหาร กลุ่ม 5 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) (BDMS) กล่าวใน CEO Talk หัวข้อ A journey to longevity ว่าการทำให้ผู้คนสุขภาพดีมีอายุที่ยืนยาว โรงพยาบาลสามารถขยายบทบาทของการเป็นผู้ที่ให้การดูแลรักษาแบบ longevity ให้มากขึ้น
โดย 'กลุ่มโรงพยาบาลพญาไทและเปาโล' เน้นการเช็คอัพ (Check up) การตรวจสุขภาพ ให้คำแนะนำขณะที่ไม่ป่วย และสร้างวัฒนธรรมดูแลสุขภาพ Corporate หรือ องค์กร สร้างสุขภาพที่ดีให้แก่คนได้ในเชิง Prevention (ป้องกัน)ให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดี อายุยืน
BDMS ได้จัดโครงการ Occupation Medicine ร่วมกับ สถาบันการศึกษาทางการแพทย์แห่งรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา (Oregon Health & Science University-OHSU) สำรวจ Let’s Get Healthy (LGH) ที่มีข้อบ่งชี้เป็นประโยชน์อย่างมาก คือ Health Risk การประเมินสุขภาพขององค์กรทำให้เกิดเรื่องของ innovation program มีความสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น
วางแผนการดูแลสุขภาพของคนในองค์กรได้อย่างเหมาะสม สร้าง Health solution และสร้าง Health Culture ให้แก่องค์กร เดินไปสู่ longevity ไปด้วยกัน และโรงพยาบาลจะต้องมีส่วนช่วยถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้ป่วยและผู้คนให้มากที่สุด
นายณรงค์ฤทธิ์ กาละพุฒ ประธานคณะบริหาร กลุ่ม 7.1 BDMS และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health) กล่าวว่าการดูแลสุขภาพ ควรจะเริ่มก่อนอายุ 40 ปี หรืออายุ 40 ปี และต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อชะลอความแก่ สตาฟความหนุ่มสาว และสต็อปความแก่ 'N Health' พร้อมให้การดูแลเรื่องของสุขภาพ โดยให้บริการโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้าถึงบริการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในด้านต่างๆ
ทั้งการวินิจฉัยโรค (Diagnosis) การให้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดูแลรักษา (Treatment & Prognosis) การป้องกันโอกาสและความเสี่ยงต่อการเกิดโรค (Risk Assessment & Preventive) ครอบคลุมทุกการตรวจวิเคราะห์ราว 200 ล้านตัวอย่างต่อปี หรือราว 40,000 ตัวอย่างต่อวัน รวมไปสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับสาขาต่างๆ กว่า 70 สาขาทั่วประเทศ
ป้องกันสุขภาพ 6 ด้าน
นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก กล่าวว่า ปัจจัยสนับสนุนที่ช่วยให้กระแสรักสุขภาพเติบโตมาก คือ เรื่องผู้สูงอายุตราบใดที่อายุยืนยาว และสุขภาพดีทั้งกายและใจ ถือว่าเป็นกลุ่มผู้สูงอายุคุณภาพเมื่อผู้สูงอายุมากขึ้น ต้องรณรงค์ให้อายุยืนยาวแบบไม่ป่วย BDMS Wellness Clinic ต้องการเป็นผู้ช่วยในการป้องกันสุขภาพ และส่งเสริม Wellness Tourism โดยคาดการณ์ว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จะเป็นกลุ่มใหม่ที่ BDMS Wellness Clinic จะช่วยผลักดัน เพื่อให้คนบินมาสุขภาพดีที่เมืองไทย
นพ.ตนุพล เน้นแนวทางการป้องกันสุขภาพ 6 ด้าน โดย 6 Pillars of Lifestyle Medicine ได้แก่
- Whole food, Plant-based Nutrition (อาหาร) รับประทานอาหารสุขภาพดี
- Physical Activity (กิจกรรมทางกาย) ต้องออกกำลังกาย ขอให้ได้ 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
- Restorative sleep (การนอนหลับที่มีคุณภาพ) อย่าอดนอน นอนให้ได้ 8 ชั่วโมง และนอนให้ได้ตอน 4 ทุ่ม
- Social connection (การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม)
- Avoid Risky Substances (หลีกเลี่ยงสารหรือวัตถุที่เป็นอันตราย) หลีกเลี่ยง หรืองดบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
- Stress Management (การควบคุมความเครียด) สุขภาพจิต ถ้าจิตดีไม่เครียด ครอบครัวมีความสุข จะนำมาซึ่งความสุขกายและสุขใจ
การพักผ่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์
การนอน ซึ่งการนอนหลับให้ตรงเวลา นอนให้ครบ 8 ชั่วโมง นอนก่อน 4 ทุ่ม คุณภาพการนอนที่ดี จะช่วยลดปัญหาสุขภาพ
ผู้ที่นอนไม่หลับมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าถึง 5 เท่า ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้ NK-cell อ่อนแอ มีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสมากขึ้นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และการหลั่งอินซูลินลดลง แรงขับทางเพศต่ำ ระดับฮอร์โมนเพศที่ต่ำกว่า และความสนใจในเรื่องเพศน้อยลง เกิดอุบัติเหตุ อาการง่วงนอนทำให้การตอบสนองช้าลง
ผิวแก่ก่อนวัย การหลังโกรทฮอร์โมนและเมลาโทนินลดลง ความดันโลหิตสูง การนอนหลับไม่เพียงพอ เพิ่มระดับคอร์ตินซอลน้ำหนักเพิ่ม ส่งผลต่อระดับหลังของฮอร์โมนเลปตินและเกรลิน และการควบคุมความรู้สึกหิวโรคหัวใจ นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง เสี่ยงโรคหัวใจ 2 เท่า รวมถึง การนอนหลับกับการใช้ทรัพยากร จะช่วยลดการใช้น้ำ ไฟฟ้า ลดการกิน และลดการสร้างขยะได้อีกด้วย
กลุ่มเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
นพ.สุทร บวรรัตนเวช ผู้อำนวยการใหญ่ ศูนย์อุบัติเหตุและออร์โธปิดิกส์ ในเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า Osteoporosis (โรคกระดูกพรุน) ว่าเป็น Silent Killer (ฆาตกรเงียบ) ที่เกิดขึ้นในสังคมผู้สูงอายุ เพศผู้หญิงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าและเร็วกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะเมื่อหมดประจำเดือน หรือผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง การสลายกระดูกจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ จึงเริ่มสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ถึง 40 - 50% อายุมวลกระดูกของคนเราหนาแน่นที่สุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ
- ผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 10 คน ใน 100 คน
- ผู้หญิงอายุเกิน 70 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 20 คน ใน 100 คน
- ผู้หญิงอายุเกิน 80 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 40 คน ใน 100 คน
ในครอบครัวที่พ่อหรือแม่มีโรคกระดูกพรุนแล้วมีกระดูกหัก ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วกระดูกหักด้วย
ถ้าเคยกระดูกหักโอกาสที่จะเกิดกระดูกหักซ้ำเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.5 เท่า การดื่มเหล้า เบียร์ หรือแม้แต่ไวน์ในปริมาณมากกว่า 3 แก้ว/วันทำให้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนเร็วขึ้น
คนที่ผอมเกินไปจะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าและมีความเสี่ยงกระดูกหักเพิ่มขึ้น 2 เท่าของคนรูปร่างปกติ การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ นอกจากทำให้ร่างกายเสียสมดุลแล้วยังอาจขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีนคนไม่ออกกำลังกายมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า พบว่าผู้หญิงที่นั่งมากกว่า 9 ชั่วโมง/วัน เสี่ยงกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้หญิงที่นั่งน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันถึง 50 %
ถ้าได้รับเกลือมากกว่า 1 ช้อนชา/วัน ชา กาแฟมากกว่า 3 แก้ว/วัน น้ำอัดลมมากกว่า 4 กระป๋อง/สัปดาห์ และทานโปรตีนมากกว่า 10 - 15% ในแต่ละมื้อของอาหาร มีความเสี่ยงกระดูกพรุนสูง