'Stand up to CANCER Together' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง

'Stand up to CANCER Together' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการรณรงค์ Stand up to CANCER Together ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง ลุกขึ้นสู้มะเร็งไปด้วยกัน เนื่องในวันมะเร็งโลก ประจำปี 2567

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่าในปี 2567 เป็นต้นไป โลกจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าปีละ 20 ล้านราย ขณะที่ประเทศไทย กรมการแพทย์ได้เผยสถิติว่าในปี 2566 มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ 140,000 คน/ปี หรือ 400 คน/วัน ที่สำคัญยังพบว่ามีอัตราการเกิดมะเร็งในคนอายุน้อยเพิ่มขึ้น โดยเกิดจากพฤติกรรมการกินมากถึง 30-40% ทำให้คนส่วนใหญ่มีความกังวลจากโรคมะเร็งที่เริ่มใกล้ตัวมากขึ้น

โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ อันดับ 1 มะเร็งตับและท่อน้ำดี อันดับ 2 มะเร็งปอด อันดับ 3 มะเร็งเต้านม อันดับ 4 มะเร็งลำไส้และทวารหนัก อันดับ 5 มะเร็งปากมดลูก

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี  องค์การอนามัยโลก(WHO) และองค์การสหภาพต่อต้านมะเร็งระหว่างประเทศ(UICC) ได้กำหนดให้เป็น ‘วันมะเร็งโลก’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั่วโลก มีความรู้ มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับโรคมะเร็ง และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้แก่ ‘มะเร็งสามารถป้องกันได้’

\'Stand up to CANCER Together\' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'รพ.จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์' อันดับ 5 สุดยอดองค์กรแห่งปี กลุ่มรพ.รัฐ

ปวดท้องน้อย อย่าปล่อยผ่าน ! เช็ก 5 สัญญาณเตือน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

 

รพ.จุฬาภรณ์ ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง ลุกขึ้นสู้มะเร็งไปด้วยกัน

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางถึงร้อยละ 70 ของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง  คาดการณ์ว่า ใน ปี 2573 ทั่วโลก จะมีคนตายจากโรคมะเร็ง ถึง 13 ล้านคนต่อ หากทุกประเทศยังไม่มีมาตรการการป้องกันโรค และควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง

วันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2566)ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง  โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ บูรณาการความร่วมมือเดินหน้ารณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมะเร็งแก่ประชาชนจัดบริการวิชาการโครงการรณรงค์เนื่องในวันมะเร็งโลก ประจำปี 2567  Stand up to CANCER Together ภายใต้ธีม Close the Care Gap ลดวิกฤติปิดช่องว่าง ลุกขึ้นสู้มะเร็งไปด้วยกัน ร่วมรณรงค์ลดวิกฤติโรคมะเร็งในประเทศไทย สร้างการตระหนักแก่ประชาชน เพราะทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอุบัติการณ์โรคมะเร็งได้

\'Stand up to CANCER Together\' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง

พร้อมทั้งผลักดัน และร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติของประเทศไทย เพื่อร่วมกันลดวิกฤติ ปิดช่องว่างให้คนไทยสามารถเข้าถึงการป้องกันดูแล และรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม

 

ลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็ง เพิ่มบริการทางการแพทย์

โดยมี รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม  พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายร่วมรณรงค์จากทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยศูนย์บริการสาธารณสุข 53 ทุ่งสองห้อง สโมสรนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน)

รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวถึงการจัดกิจกรรมเนื่องในวันมะเร็งโลกปีนี้ว่า โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาวิจัยและสถาบันการแพทย์ที่มีส่วนสำคัญในการร่วมส่งเสริมบริการความรู้ และการดูแลเชิงป้องกันเพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ มุ่งเน้นการให้บริการทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็งที่เป็นเลิศเพื่อให้ประชาชน

โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ขาดแคลนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการตรวจรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน เพื่อสนองพระปณิธานอันแน่วแน่ของ ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานผู้ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์แห่งนี้ เพื่อช่วยเหลือ และบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยโรคมะเร็ง รวมทั้งช่วยประเทศชาติในการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ การค้นคว้าวิจัยทางด้านวิชาการ และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากลทัดเทียมนานาประเทศ

“การจัดโครงการรณรงค์ Stand up to CANCER Together ภายใต้ธีม Close the Care Gap ลดวิกฤติปิดช่องว่าง ลุกขึ้นสู้มะเร็งไปด้วยกัน เพื่อร่วมตอกย้ำให้ทุกคนได้ตระหนัก และเข้าถึงการดูแลรักษาสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยงจากโรคมะเร็ง ด้วยมะเร็งบางชนิดสามารถรักษาได้หากตรวจพบในระยะแรกเริ่ม โดยให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการเข้าถึงสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของประเทศไทย เพราะทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดอุบัติการณ์โรคมะเร็งในประเทศได้”

\'Stand up to CANCER Together\' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง

นอกจากนั้น เป็นการผลักดัน และขับเคลื่อนการยกระดับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เพื่อขยายโอกาสทางการรักษาแก่ประชาชน และเติมเต็มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ เพื่อร่วมกันลุกขึ้นสู้มะเร็ง ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง เพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงการป้องกันดูแล และรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพ

ทั้งนี้ สำหรับโครงการรณรงค์ Stand up to CANCER Together ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง ลุกขึ้นสู้มะเร็งไปด้วยกัน ได้จัดบริการวิชาการเสวนาให้ความรู้ครอบคลุมทุกมิติของโรคมะเร็งจากคณะแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และภาคีเครือข่าย

นพ.ศุภกร พิทักษ์การกุล รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่าโรคมะเร็งแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ซึ่งสถิติในขณะนี้ บางโรคมะเร็งมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่บางโรคมะเร็งแนวโน้มลดลง  โดยมะเร็งที่พบได้บ่อยในคนไทย 5 อันดับแรก ยังคงเป็นมะเร็งกลุ่มเดิม  ได้แก่

มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเวลาพูดถึงเรื่องการวิเคราะห์โรคมะเร็งจะต้องแยกระหว่างมะเร็งที่เกิดขึ้นในเพศหญิง และเพศชน เพื่อทำให้เกิดการรักษาที่ตรงจุด

“ภาครัฐได้ให้ความสำคัญในการรักษาโรคมะเร็ง โดยมีนโยบายมะเร็งครบวงจร ที่จะดูแลตั้งแต่การคัดกรอง การเข้าสู่กระบวนการรักษา ตั้งแต่การผ่าตัด เคมีรังสี หรือการประคับประคองอาการ ซึ่งมะเร็ง เป็นโรคที่หากตรวจพบได้เร็วจะรักษาได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น การคัดกรองมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาหายขาดจากโรค หรือรักษาได้ดียิ่งขึ้น  ปัจจุบันภาครัฐได้มีการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็ง ทั้ง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งสำไส้ โดยีการตรวจให้ฟรี ยิ่งในกลุ่มของมะเร็งปากมดลูกมีชุดอุปกรณ์ตรวจเช็กได้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแลรักษา และหายจากโรคได้” นพ.ศุกกร กล่าว

\'Stand up to CANCER Together\' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง

ชวนรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็ง ป้องกันโรค

พร้อมทั้งรณรงค์เชิญชวนสตรีไทยอายุระหว่าง 30-59 ปี เข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง HPV DNA Self-sampling ฟรี ‘เลิกเขิน เลิกอาย ไม่ต้องขึ้นขาหยั่ง’ ซึ่งเป็นชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้โครงการกองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยศูนย์บริการสาธารณสุข 53 ทุ่งสองห้อง เข้าร่วมให้บริการประชาชน และถึงแม้ว่าสถิติจำนวนผู้ป่วยมะเร็งจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่จำนวนผู้รอดชีวิตก็เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน เพราะความก้าวหน้าของการวินิจฉัยที่รวดเร็ว และแม่นยำกว่าสมัยก่อน

นอกจากนั้น ยังมีเสวนาในช่วง ‘มะเร็งรุกมา เราลุกขึ้นสู้ด้วยกัน’ กับทีมแพทย์โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ นำโดย พญ.จอมธนา ศิริไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งวิทยา ผศ.พญ.เจษฎาพร พร้อมเที่ยงตรง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ พญ.เอมวิภา ลือประสิทธิ์สกุล แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมโลหิตวิทยา ร่วมเสวนาสร้างความรู้ความเข้าใจถึงนวัตกรรมความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งในด้านของการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่รวดเร็วและแม่นยำ

การรักษามะเร็งทางโรคเลือดด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกโดยการใช้เซลล์ตัวเองบำบัด (Autologous Stem Cell Transplant) โดยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งชนิด Multiple Myeloma โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิข้าราชการสามารถเบิกจ่ายตรงเพื่อเข้าถึงการรักษาด้วยนวัตกรรมดังกล่าวได้อีกด้วย

การรักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพคือ การรักษาที่เข้าถึงผู้ป่วยมะเร็งทุกคนได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเป้าหมายที่ต้องการให้ผู้ป่วยกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างยืนยาว โรงพยาบาลจุฬาภรณ์จึงมุ่งเน้นการรักษาโรคมะเร็งด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงที่ได้มาตรฐานสากลภายใต้การดูแลรักษาร่วมกันโดยแพทย์เฉพาะทางสหสาขาเพื่อร่วมกันวินิจฉัยข้อมูล และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมเพื่อทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยมะเร็งแต่ละราย ตลอดจนการดูแลชีวิต และจิตใจ และการดูแลแบบประคับประคองด้วยแนวทางการดูแลทางการแพทย์แบบองค์รวมที่มุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

ศูนย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้รับการรับรองมาตรฐานโดยสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป หรือ ESMO (European Society for Medical Oncology) ให้เป็น ‘ESMO Designated Centres of Integrated Oncology and Palliative Care’ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองนี้อีกด้วย

\'Stand up to CANCER Together\' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง

ปิดท้ายการเสวนาด้วยการ ‘เติมเต็มการดูแลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็ง’ ทั้งในด้านการวางแผนมีบุตรสำหรับผู้เป็นมะเร็ง ร่วมเสวนากับ พญ.กตัญญุตา นาคปลัด แพทย์เฉพาะทางด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ พญ.จิดาภา สำราญ แพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งนรีเวชวิทยา และด้วยการประสบกับปัญหาเตียงผู้ป่วยไม่เพียงพอ พยาบาลวิชาชีพ จุฑามาศ มูลภิชัย หน่วยพยาบาลเคมีบำบัด และสิน  วิวัฒน์ธนพร ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้ขึ้นมาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ถึงการปิดช่องว่างของข้อจำกัดดังกล่าวของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ด้วยการเปิดบริการให้ยาเคมีบำบัดที่บ้าน

 สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ หรือ Home Chemotherapy เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ลดวิกฤติปัญหาเรื่องเตียงเต็ม และเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยมะเร็ง และญาติที่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ในขณะให้ยาเคมีบำบัด

\'Stand up to CANCER Together\' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง

ภายในงานยังมีบูธกิจกรรมต่างๆ เพื่อผู้ป่วยมะเร็ง อาทิ การให้คำปรึกษา และแจกอุปกรณ์เสริมบุคลิกภาพ เช่น เต้านมเทียม วิกผม หมวก การแนะนำโภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง วิธีการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัดที่บ้าน และกิจกรรม ‘เย็บเต้านมเทียม’ กับโครงการ Sabina Sewing Cup Sewing Heart ‘เย็บเต้ารวมใจ สู้ภัยมะเร็งเต้านม’ โดยมี รัก-สุลักษมิ์ ศิริภัทรพงศ์ มิสแกรนด์สุราษฏร์ธานี 2022 และสโมสรนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำคณะนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จิตอาสามาร่วมทำกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตและปลูกฝังการช่วยเหลือประชาชนด้วยความเพียร และจิตเมตตา ร่วมทำกิจกรรมเย็บเต้านมเทียมเพื่อส่งมอบให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

การต่อสู้กับโรคมะเร็งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกคนที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง และพร้อมลุกขึ้นสู้มะเร็งไปด้วยกัน สำหรับผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ที่ต้องการเข้ารับการปรึกษาเพื่อวางแผนการรักษาโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ทั้งการผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา การปลูกถ่ายไขกระดูก และเซลล์บำบัด เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตรวจเพทสแกน สามารถเข้าถึงช่องทางบริการทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็งผ่านทาง LINE Official Account โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ @chulabhornhospital (กดเพิ่มเพื่อน: http://nav.cx/8DqLuQm)

กดเมนู 'บริการโรคมะเร็ง' และเลือกหัวข้อบริการและชนิดมะเร็งที่ต้องการปรึกษาเพื่อเข้าถึงการติดต่อเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ พร้อมเตรียมเอกสารเพื่อส่งปรึกษา อาทิ ประวัติการรักษา รายงานการผ่าตัด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รายงานผลทางรังสีวินิจฉัยพร้อมซีดี รายงานผลทางพยาธิวิทยา ผลชิ้นเนื้อพร้อมสไลด์บล็อก (ถ้ามี) ผลชิ้นเนื้อไขกระดูก (ถ้ามี) เพื่อคัดกรองประวัติและอาการกับแพทย์ก่อนนัดหมายเข้ารับบริการต่อไปเพื่อประหยัดเวลา และลดการเดินทางมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น

\'Stand up to CANCER Together\' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง \'Stand up to CANCER Together\' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง \'Stand up to CANCER Together\' ลดวิกฤติ ปิดช่องว่าง สู้โรคมะเร็ง