พ่อแม่เข้มงวดมากเกินไป ระวัง!! ลูกกลายเป็น"เด็กเลี้ยงแกะ"
การเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีศักยภาพ ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งในยุคที่เด็กโตไว เข้าถึงข้อมูลได้หลากหลาย ยุคสมัยของพวกเขาแตกต่างจากพ่อแม่ ทำให้พ่อแม่หลายๆ ครอบครัว ต้องมองหาวิธีการ เคล็ดลับในการเลี้ยงดูลูก
KEY
POINTS
- พ่อแม่มี 3 แบบ คือ พ่อแม่ที่ชอบบงการลูก พ่อแม่ที่มักตามใจลูก และพ่อแม่ที่ให้ทางเลือกลูก เช็กว่าคุณเป็นพ่อแม่แบบไหน?
- การเลี้ยงลูกแบบไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป รับฟังและพร้อมที่จะเข้าใจลูก สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูก
- พ่อแม่คอยช่วยลูกแก้ปัญหาเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ โดยไม่ตำหนิหรือดุกล่าวก่อนจะฟังเหตุผล ก็จะไม่ทำให้เกิดเด็กเลี้ยงแกะภายในบ้านขึ้นมาได้
ความรัก ความอบอุ่น ความใกล้ชิดในครอบครัว เป็นสิ่งที่เด็กน้อยทุกคนต้องการ แต่พ่อแม่บางคนที่ต้องการให้ลูกน้อยมีระเบียบวินัย ก็มักจะเน้นย้ำในเรื่องนั้นๆ จนกลายเป็นความเข้มงวด และความเข้มงวดดังกล่าว มักจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อลูก เพราะนั่นอาจสร้างเครียดหรือความเชื่อมั่นในบางครั้งที่ลูกทำได้ก็มองว่าตัวเองชนะ เป็นคนที่ชอบการแข่งขัน ทำทุกวิธีทางเพื่อให้ตัวเองชนะ หรือง้อ ไม่กล้าในทุกๆ เรื่อง
นักวิชาการค้นพบว่า พ่อแม่ที่เข้มงวดกับลูกมากเกินไป จะส่งผลทำให้ลูกกลายเป็น “เด็กเลี้ยงแกะ” เด็กที่ชอบโกหก ไม่กล้าพูดความจริง หาข้ออ้างต่าง ๆ นานาเพื่อมาบอกปัดในสิ่งที่ตนเองทำ
ฟิลิปปา เพอร์รี่ นักจิตอายุรเวท กล่าวว่า พ่อแม่ที่เคร่งครัดในกฎระเบียบกลับกลายเป็นคนที่สร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับเด็ก ทำให้ลูกกลัวที่จะบอกความจริงกับพ่อแม่เพราะกลัวว่าถ้าบอกความจริงไปแล้วจะถูกทำโทษ เด็ก ๆ จึงเลือกที่จะโกหกหรือปกปิดเพื่อไม่ให้ตนเองถูกดุหรือต้องโดนพ่อแม่ทำโทษ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ชีวิตดีขึ้นถ้าลดเสพเรื่องไร้สาระ | บวร ปภัสราทร
"April Fool's Day" รู้จักการ “โกหก” 7 รูปแบบที่เจอได้ในชีวิตประจำวัน
วิจัยชี้เลี้ยงลูกแบบเข้มงวด ลูกกลายเป็นเด็กโกหก
ทฤษฎีนี้มีงานวิจัยรับรองจากนักจิตวิทยาชาวแคนาดาชื่อ วิคตอเรีย ทัลวอร์ โดยได้ทำการทดลองคัดเลือกเด็กจากสองโรงเรียนในแอฟริกา โรงเรียนแห่งแรกไม่เคร่งในกฎระเบียบมากนัก มีความยืดหยุ่นและให้อิสระ ส่วนอีกแห่งนั้นเข้มงวดในกฎระเบียบ และให้เด็ก ๆ ได้มาทดสอบการเล่นเกมที่มีชื่อว่า Peeping Game โดยการให้เด็กเดาว่าเสียงที่ได้ยินข้างหลังนั้นเกิดจากอะไร
จากนั้นให้ผู้ใหญ่เข้ามาถามว่าเสียงที่ได้ยินคือวัตถุอะไร และได้แอบมองกันหรือไม่ ซึ่งคำเฉลยจริง ๆ แล้วก็คือลูกบอลของเล่น เพียงแต่เสียงมันไม่เหมือนกับเสียงของลูกฟุตบอล แต่ผลการทดสอบคือ เด็กที่มาจากโรงเรียนไม่เคร่งในกฎระเบียบมีทั้งโกหกและพูดความจริง ในขณะที่เด็กซึ่งมาจากโรงเรียนที่เข้มงวดนั้นเลือกที่จะพูดโกหกว่าไม่ได้แอบมอง
ผลการวิจัย ได้มองประเด็นนี้อย่างน่าสนใจว่า การที่เราเข้มงวดกับเด็กมากเกินไป ทำให้เขารู้สึกไม่มีอิสระ กดดันและกลัว ไม่กล้าพูดความจริง โกหกเพื่อหนีปัญหา ยิ่งถ้าคำโกหกเห็นผลโดยไม่ถูกผู้ใหญ่ต่อว่าก็จะทำให้เขาสร้างคำโกหกไปตลอดไปโดยไม่รู้ตัว ในทางตรงกันข้าม ถ้าพ่อแม่มีกฏเกณฑ์แบบยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องตามจับผิดทุกฝีก้าว และสามารถทำให้ลูกผ่อนคลาย ลูกก็จะกล้าเข้ามาเปิดอกคุยกับพ่อแม่มากขึ้น
สัญญาณเตือนคุณ เป็นพ่อแม่เข้มงวดเกินไป
การจัดระเบียบวินัยในครอบครัวเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่จะมีวิธีการใดบ้างที่จะบอก ได้ว่าเราเริ่มเข้มงวดกับลูกมากเกินไปแล้ว ครอบครัวคนไทยส่วนใหญ่มักค่อนข้างเข้มงวด และเน้นเรื่องการเชื่อฟัง ถ้าบอกให้มาต้องมาเดี๋ยวนี้ แต่การกระทำอย่างนั้นอาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
ฉะนั้นสัญญาณเตือนว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่เข้มงวดเกินไปนั้นมีอะไรบ้าง
- มีกฎเกณฑ์มากเกินไป
จนกระทั่งบางทีเราก็ไม่สามารถจดจำกฎเหล่านั้นได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณแล้วว่าเราเป็นคนที่เข้มงวดเกินไป แทนที่จะตั้งกฎเกณฑ์อะไรมากมายนั้น ก็ให้มีกฎน้อยข้อแต่สามารถปฏิบัติได้จริงจะดีกว่า โดยให้ฝึกทำเป็นประจำและสม่ำเสมอกับกฎเหล่านั้น จะเป็นการสบายใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
- คำพูดของคุณพ่อคุณแม่เกินความจริง
เช่นถ้าดื้ออย่างนี้เดี๋ยวจับโยนออกนอกหน้าต่าง หรือเดี๋ยวแม่จะทิ้งของเล่นของหนูให้หมดเลย และถ้าลูกพูดว่าเอาเลยแม่ จะยิ่งยุ่งกันใหญ่ เพราะเราไม่สามารถทำได้จริง ซึ่งยิ่งทำให้คำพูดของเราไม่มีความหมายและยากต่อการลงวินัยในคราวต่อไป ดังนั้น ให้เราคิดให้ดีก่อนพูด
- กฎของคุณพ่อคุณแม่เกินขอบเขตของการเป็นพ่อแม่
คุณพ่อคุณแม่สามารถมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับโรงเรียน การปฏิบัติตัวต่อเพื่อน หรือกฎของความปลอดภัยได้ แต่ไม่ควรจำกัดกฎส่วนตัวบางอย่างของลูก เช่น ให้ลูกเลิกฟังเพลงที่ลูกชอบ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องรสนิยมส่วนตัวที่ไม่ควรก้าวก่ายกัน เราควรเคารพในกติกาของทุกคน แต่ใช้วิธีคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน
- มีความรักที่มีเงื่อนไขกับลูก
แม่อาจใช้คำพูดว่า “แม่รักลูกนะ แต่แม่ไม่อยากให้ลูกมีความประพฤติอย่างนี้” หรือพูดว่า “พ่อเชื่อว่าลูกทำได้ดีกว่านี้” อย่าพูดว่า “ลูกเป็นเด็กเหลือขอจริงๆ ถ้าลูกทำสิ่งนี้ไม่ได้” ถ้าเราทำอย่างนั้นเรากำลังทำให้ใจลูกแตกสลาย
- ไม่ทำตามที่พูด
มีวิธีการพูดที่ไม่ตรงกับความหมาย หรือใช้น้ำเสียงที่บอกความเป็นนัย เนื้อหาของสิ่งที่เราพูดมีความหมายมากกว่าคำพูดที่เราพูดออกไป
- อย่าบังคับด้วยเวลา
ถ้าเราขอให้ลูกทำอะไรที่ยาก อย่าจำกัดด้วยเวลา เพราะนั่นจะทำให้ลูกเครียด แต่ให้ใช้วิธีทำไปด้วยกันกับลูก
- ลูกเริ่มถอยห่างความสัมพันธ์
หากลูกเริ่มพูดโต้แย้งถึงสิ่งที่เกิดขึ้นน้อยลงทุกทีๆ อาจเป็นสัญญาณว่าเราเข้มงวดเกินไป หรืออาจเปรียบเปรยได้ว่า “เรา
- พ่อแม่ชอบกระแนะกระแหน ควบคุม และย้ำเตือนความผิดพลาดประจำบ่อยๆ
สิ่งเหล่านี้ไม่สมควรทำในฐานะที่เราเป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง อาจชนะการสู้รบแต่เราแพ้สงคราม” ลูกอาจทำในสิ่งที่เราต้องการแต่ลูกจะไม่เปิดเผยหรือบอกให้เราทราบเมื่อเวลาเราไม่สบายใจหรือมีปัญหา
- ลูกไม่อยากชวนเพื่อนมาบ้าน
บ้านจำเป็นต้องมีกฎและลูกจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อมีกฎเหล่านั้นด้วย แต่หากคุณพ่อคุณแม่ใช้เวลาเตือนเรื่องกฎต่างมากๆ เกินไป หรือวิพากษ์วิจารณ์ลูกต่อหน้าเด็กอื่นลูกจะรู้สึกอึดอัด และไม่อยากชวนเพื่อนมาบ้านเพราะอาย และบ้านไม่เป็นที่น่าอยู่อีกต่อไป
- ลูกเริ่มทำหูทวนลม
หากลูกเริ่มไม่สนใจสิ่งที่เราพูด ทำหูทวนลม นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน เราต้องให้โอกาสลูกแสดงความคิดเห็น ไม่จำเป็นที่เราต้องเห็นด้วยกับลูก แต่เคารพในกฎ ในสิทธิของแต่ละคน
- ให้ลูกเอาแต่เรียน เรียน เรียนไม่มีเล่นเลย
เด็กๆ จำเป็นต้องมีทุกอย่างๆที่สมดุล ทั้งเล่นทั้งเรียน สมองจะทำงานได้ดีถ้ามีทั้งอย่างเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน
- เป็นพ่อแม่เผด็จการ
ลองดูหรือปรึกษากับคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นว่าทำเหมือนกับเราไหม เช่นถ้าหากไม่ยอมให้ลูกเข้าอินเตอร์เน็ตเลยทั้งๆ ที่มีคุณพ่อคุณแม่คุมอยู่ นั่นอาจหมายถึงว่าเราเข้มงวดเกินไปแล้วก็ได้
- ห้ามทุกอย่าง
กลัวไปหมดไม่เพียงแต่ไม่สนับสนุนให้ทำแต่ยังห้ามอีก แทนที่จะพูดว่า ถ้าเป็นได้แม่ไม่อยากให้เล่นแต่ถ้าลูกต้องการเล่นจริงๆ ต้องอยู่ในการควบคุมและในสายตาของแม่
- กฎคือกฎห้ามถาม
เราควรมีกฎที่ชัดเจน สม่ำเสมอ ปฏิบัติได้เพราะจะช่วยให้ลูกรู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นได้หากไม่ทำตาม แต่กฎต่างๆ ควรยึดหยุ่นได้ ไม่ใช่กฎคือกฎห้ามถาม เพราะเมื่อไหร่ที่มีปัญหาลูกสามารถขอความช่วยเหลือได้
- เป็นพ่อแม่ที่มีเหตุผลไม่ใด้ใช้แต่อำนาจ
พ่อแม่ที่ใช้แต่อำนาจต้องการชนะและไม่ยอมฟังเหตุผล ควบคุมตลอดเวลา ส่วนพ่อแม่ที่มีเหตุผลจะเข้าใจและให้โอกาสลูกเสมอ เดินเคียงข้างลูกตลอดไป
- เย็นชาเหมือนน้ำแข็ง
การเป็นพ่อแม่ที่ดีควรมีความอบอุ่น แต่มั่นคง ไม่ใช่เยือกเย็น ใจร้าย รากฐานของครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญ กว่าจะเลี้ยงลูกแต่ละคนให้เติบโตไปในทางที่ดี ไม่ใช่เรื่องง่าย กฎที่หละหลวมเกินไป หรือเข้มงวดจนเกินไป ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้น กฎในครอบครัวควรมีความเหมาะสม และสมดุล เพื่อเราจะได้ลูกที่น่ารัก และครอบครัวที่มีความสุขตลอดไป เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอ
ลักษณะพ่อแม่ในปัจจุบัน มี 3 แบบ
ครอบครัวยุคใหม่ จะมีพ่อแม่อยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่
1.พ่อแม่ที่ชอบบงการลูก :ไม่ใช้เหตุผล ทำให้เด็กขาดไร้ซึ่งอิสรภาพ
ถ้าคุณเป็นแบบนี้ คุณมักจะเข้มงวดกับลูก ยึดแน่นกับกฎระเบียบจนขาดความยืดหยุ่น เพื่อให้ลูกเชื่อฟังคำสั่งคุณอยู่ตลอดเวลา หากลูกคนไหนเชื่อฟังโดยทำตามที่พ่อแม่บอกก็จะได้รางวัล แต่ถ้าคนไหนไม่ทำตามก็จะถูกลงโทษ ลูกบางคนก็อาจเติบโตมาด้วยการปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด ทำตัวเป็นเด็กดี เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ หรือ อาจกลายเป็นคนที่กลัวพ่อแม่และผู้ใหญ่ ไม่เรียนรู้ที่จะคิดเอง คอยเฝ้าขอคำแนะนำจากคนอื่นๆอยู่ตลอดเวลา
แต่เด็กบางคนอาจถูกลงโทษอยู่ตลอดเวลา เพราะพ่อแม่มักเข้มงวดเรื่องกฎระเบียบ หรือบางครั้งก็ใช้อารมณ์โกรธ ว่ากล่าวรุนแรง เมื่อเด็กไม่เชื่อฟัง ทำให้เด็กรู้สึกไม่พอใจพ่อแม่ บ่อยครั้งที่หาทางเอาคืน เลียนแบบความรุนแรง ต่อต้านพ่อแม่ที่เข้มงวดตั้งแต่อายุยังน้อย หรือต่อต้านเมื่อตอนโตขึ้น หากคุณเผลอที่เป็นพ่อแม่แบบนี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
- เด็กๆจำเป็นที่ต้องมีความไว้วางใจ และไม่กลัวพ่อแม่
- เด็กๆจำเป็นต้องมีโอกาสเลือก เพื่อเรียนรู้ข้อจำกัดในเรื่องต่างๆ และมีความรับผิดชอบ
2.พ่อแม่ที่มักตามใจลูก :ให้อิสระลูกแบบไม่มีขอบเขต ปฏิเสธลูกไม่เป็น ยอมทุกอย่างเพื่อลูก
ถ้าคุณเป็นแบบนี้ คุณมักจะให้อิสระกับลูกหลานจนไร้ขอบเขต บางทีก็เปลี่ยนแปลงข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ ทำให้เด็กไม่เรียนรู้ว่าสิ่งที่ควรทำนั้นมีขอบเขตอยู่ตรงไหน ทำให้เด็กไม่ถูกฝึกให้รับผิดชอบในการกระทำของตนเอง คิดว่าทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น หากคุณเผลอที่เป็นพ่อแม่แบบนี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
- เด็กๆจำเป็นต้องมีขีดจำกัด เพื่อเรียนรู้ที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม • เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้ว่า คนอื่นๆก็มีความสำคัญ ด้วยเหมือนกัน (ลูกไม่ใช่ศูนย์กลางของทุกสิ่ง) • หากอยากให้ลูกโตเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ ก็ต้องให้เด็กรับผิดชอบต่อตนเองเสียก่อน
3.พ่อแม่ที่ให้ทางเลือก :มีอิสระและขีดจำกัดที่มีขอบเขตพอเหมาะ พอควร และพอดี
หลายคนคงเคยได้ยินว่า การเลี้ยงดูลูกแบบประชาธิปไตย จะทำให้เด็กเป็นคนรับผิดชอบ ซึ่งไม่ได้หมายถึงให้เด็กต้องยอมตาม แต่เป็นความสมดุลระหว่าง “สิทธิหรืออิสระ” กับ “ขอบเขตหรือความรับผิดชอบ”
พ่อแม่แบบนี้จะปฏิบัติ 2 แบบด้วยกัน คือ กำหนดขอบเขตความพอดีให้เด็ก และ ให้เด็กมีทางเลือกภายในขอบเขตนั้น เช่น “ลูกสามารถเลือกซื้อของเล่นอันไหนก็ได้นะ ที่ราคาต่ำกว่า 100 บ.” “ลูกมีการบ้าน 3 วิชา ลูกจะทำวิชาไหนก่อนดี”
สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้กับวิธีการที่พ่อแม่ให้ทางเลือก
- เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ(ฝึกให้เด็กมีส่วนร่วมตามความเหมาะสม ไม่ใช่ทุกครั้งไป)
- ทางเลือกของเขามีความสำคัญ
- ทางเลือกบางอย่างมาพร้อมกับความรับผิดชอบ
"สิ่งที่สำคัญการเลี้ยงลูกอย่างสม่ำเสมอให้เติบโตไปที่ดีที่ดีชี้ให้เห็นกฎง่าย ๆ ที่ไม่จำเป็นเกินไปหรือเป็นสาเหตุเกินไป ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้นกฎจะต้องเหมาะสมและสมดุลเพื่อให้เราได้ลูกที่ ครอบครัวที่มีความสุขตลอดไปเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอ"
ผลเสียด้านจิตวิทยา เมื่อพ่อแม่ควบคุมลูก
คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเปิดเผยว่า พ่อแม่ประเภทที่ดุและควบคุมลูกวัยรุ่นอย่างเข้มงวด อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและความสำเร็จทางการศึกษาเมื่อลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โดยผลการวิจัยดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร Child Development เน้นการศึกษาติดตามผลกระทบระยะยาวต่อวัยรุ่นที่ได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่เข้มงวดและปกป้องมากเกินไป
“พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู รวมถึงแพทย์ควรตระหนักว่าการที่พ่อแม่พยายามควบคุมเด็กวัยรุ่นอาจขวางกั้นพัฒนาการของเด็กได้ วิธีการเลี้ยงดูเช่นนี้ไม่ได้มีผลแค่ฉุดรั้งพัฒนาการของวัยรุ่นเป็นการชั่วคราวเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อพัฒนาการพึ่งพาตัวเองในช่วงเวลาสำคัญ” เอมิลี่ โลบ นักวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียและหัวหน้าคณะวิจัยกล่าว
เป้าหมายของการวิจัย
การเลี้ยงดูเด็กเป็นความรับผิดชอบที่สาหัสหนักหนา แต่การควบคุมไปถึงจิตใจอาจมีผลเสียต่อเด็กเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ได้ พ่อแม่ที่ปกป้องลูกเกินเหตุ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “พ่อแม่แบบเฮลิคอปเตอร์” (บินอยู่เหนือหัวลูกตลอดเวลา) และแม่ที่เข้มงวดมากๆ ซึ่งมักเรียกว่า “แม่เสือ” กลุ่มนี้คือพ่อแม่ประเภทที่ชอบควบคุมลูกและพยายามจัดการทุกเรื่องแทนลูก
เป้าหมายของการวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาผลระยะยาวของการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ที่ควบคุมวัยรุ่นด้านจิตวิทยาว่าจะติดตัวไปเมื่อวัยรุ่นโตเป็นผู้ใหญ่อย่างไร
คณะศึกษาได้ข้อสรุปว่าพ่อแม่ที่พยายามควบคุมลูกด้วยวิธีรุกล้ำชีวิตส่วนตัว ต่อให้มีความตั้งใจดีก็ตาม อาจจะเป็นการใช้วิธีที่ผิด เพราะจากการศึกษาพบว่าเด็กกลุ่มที่พ่อแม่ใช้วิธีเช่นนี้มีปัญหาในระยะยาว รวมถึงมีความมั่นใจในตัวเองต่ำ ผลการเรียนแย่ลง เนื่องจากโดนบั่นทอนไม่ให้มีความมั่นใจ ส่งผลให้ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้
ผลการวิจัยเปิดเผยว่าคนที่เติบโตมาภายใต้ครอบครัวที่พ่อแม่ควบคุมความประพฤติของตนอย่างเข้มงวดในตอนที่อายุ 13 มีความเกี่ยวพันกับการมีความรักที่ประคับประคองกันน้อยกว่าในผู้ที่มีคนรักในช่วงอายุ 27 ปี
ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นด้วยว่าลูกหลานที่ผู้ปกครองควบคุมชีวิตมากเกินไปมีโอกาสมีคนรักน้อยกว่าเมื่ออายุ 32 ปี และประสบความสำเร็จทางการศึกษาน้อยกว่าเมื่ออายุเท่ากัน ช่วงอายุที่มีผลมากที่สุดที่พ่อแม่จะเริ่มควบคุมลูกคือระหว่าง 15 ถึง 16 ปี ตามผลการวิจัย วัยรุ่นเหล่านี้ยังมีจิตใจที่เติบโตน้อยกว่า และเป็นที่รักของเพื่อนๆ น้อยกว่า
“ต่อให้ผู้ปกครองพยายามแนะแนวทางให้ลูกๆ ตลอดเวลา เพื่อหวังให้ลูกประสบความสำเร็จ แต่การเลี้ยงดูเด็กวัยรุ่นอย่างควบคุมเกินไปก็มีแนวโน้มจะขัดขวางพัฒนาการในขั้นพื้นฐานที่สุด ซึ่งยากต่อการเยียวยา” โจเซฟ อัลเลน ศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียและผู้ร่วมวิจัยกล่าว
อ้างอิง:rajanukul ,thaichildrights