‘เอส สไปน์ฯ' ทุ่ม 2 พันล้าน ดัน รพ.เฉพาะทาง ศูนย์กายภาพบำบัด-ดูแลความเสื่อม

‘เอส สไปน์ฯ' ทุ่ม 2 พันล้าน ดัน รพ.เฉพาะทาง ศูนย์กายภาพบำบัด-ดูแลความเสื่อม

“เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ” ทุ่ม 2 พันล้าน ดัน รพ.เฉพาะทาง รองรับผู้ป่วยที่มาใช้บริการทางด้านความเสื่อมของร่างกาย พร้อมศูนย์กายภาพบำบัด คาดว่าเปฺิดให้บริการได้กลางปี 2568 ตั้งเป้าเป็น Medical Hub ภายใน 3 ปี

KEY

POINTS

  • โรคกระดูกสัน หลังมักเกิดจากความเสื่อมของอายุการใช้งานตามอายุผู้ป่วย ขณะที่คนอายุน้อยเริ่มมีอาการของโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังจากการนั่งผิดท่า นั่งนาน ประสบอุบัติเหตุถูกกระแทกแรงๆ ยกของหนัก การเล่นกีฬา
  • รพ. เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โรงพยาบาลเฉพาะด้านกระดูกสันหลัง ทุ่มงบประมาณ 2 พันล้านบาท ขยาย รพ.เฉพาะทาง ศูนย์กายภาพบำบัด รองรับความเสื่อมของร่างกายด้วยเปิดให้บริการกลางปี 2568 
  • พร้อมนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยเฉพาะเครื่องมือเจาะรูส่องกล้องผ่าตัดขนาด 5 มิลลิเมตร ที่ให้ผลลัพธ์เทียบเท่ากับการผ่าตัดเปิดแผลขนาดใหญ่ ตั้งเป้าเป็น Medical Hub ทางด้านกระดูกสันหลัง ภายใน 3 ปี 

เริ่มต้นมาจากคลินิก ก่อนพัฒนาเป็นโรงพยาบาลเฉพาะด้านกระดูกสันหลัง “เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ” ในปี 2551 เน้นรักษาที่ต้นเหตุให้หายอย่างยั่งยืน ด้วยการค้นหาสาเหตุโรคด้วยเครื่อง MRI ช่วยวินิจฉัยการรักษาได้ตรงจุด และผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีการเจาะรูส่องกล้อง MIS SPINE Minimally Invasive Spine Surgery ฟื้นตัวไวผู้ป่วย 95% กลับบ้านได้ภายใน 1 วัน ผ่านไป 7 ปีรักษาคนไข้มากกว่า 10,000 ราย ถึงวันนี้คืนทุนเป็นที่เรียบร้อย และขยาย รพ.เฉพาะทาง ที่รองรับความเสื่อมของร่างกายด้วยงบ 2 พันล้านบาทเปิดให้บริการกลางปีหน้า  

 

เนื่องจากประชากรไทยในปัจจุบันมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น และโรคกระดูกสัน หลังมักเกิดจากความเสื่อมของอายุการใช้งานตามอายุผู้ป่วย จึงทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น คนอายุน้อยเริ่มมีอาการของโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังมากขึ้น จากการนั่งผิดท่า นั่งนาน ประสบอุบัติเหตุถูกกระแทกแรงๆ ยกของหนัก การเล่นกีฬา

 

รวมถึงปัญหาเรื่องปวดคอที่เกิดจากการก้มใช้โทรศัพท์ หรืออยู่ในอริยาบทที่ผิดจากวิสัยที่มนุษย์ใช้งาน เป็นโรคที่เพิ่มมาจาก Office Syndrome ซึ่งทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มและส่งผลแนวโน้มการรักษาผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีและ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

 

‘เอส สไปน์ฯ\' ทุ่ม 2 พันล้าน ดัน รพ.เฉพาะทาง ศูนย์กายภาพบำบัด-ดูแลความเสื่อม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

‘เอส สไปน์ฯ' ลงทุน 2 พันล้านบาท ขยาย รพ.เฉพาะทาง

 

“นพ.ดิตถพงษ์ บุญอำพล” ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ กล่าวว่า อาการส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังและระบบประสาทอาการ จะมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และ กระดูกงอกทับเส้นประสาท

 

นอกจากนี้ ยังมีอาการกระดูกแตกทับเส้นประสาท ซึ่งมักจะเจอในกลุ่มคนอายุน้อย และกระดูกเคลื่อน กระดูกพรุน ในกลุ่มผู้ป่วยอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ที่เข้ารับการรักษาและผ่าตัดเกินกว่า 50 % อายุ 50-55 ปี และผู้ป่วยอายุ 55-60 ปีอายุน้อยสุด 15 ปี ทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มและส่งผลให้โรงพยาบาลเติบโตแนวโน้มการรักษาผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี

 

เปิดให้บริการมาแล้ว 7 ปี ผ่าตัดคนไข้มากกว่า 10,000 ราย ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดแผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ทำให้ได้รับความนิยม จากปากต่อปาก ส่งผลให้โรงพยาบาลเติบโต แนวโน้มการรักษาผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีผู้ที่มาใช้บริการ 85% เป็นคนไทย 15% จากกลุ่มประเทศ CLMV ประเทศอาหรับ และชาวจีน และปีนี้ เราสร้าง รพ.เพิ่มอีก 1 แห่ง ขนาด 59 เตียง ใช้งบลงทุน 2 พันล้านบาท

 

"คาดว่าจะเปฺิดให้บริการได้กลางปี 2568 จะเป็นส่วนที่รองรับผู้ป่วยที่มาใช้บริการทางด้านความเสื่อมของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เข่าเสื่อม หรือกระดูกสันหลังและข้อ และทำเป็นศูนย์กายภาพบำบัด และภายใน 3 ปี เราตั้งเป้าเป็น Medical Hub ทางด้านกระดูกสันหลัง เราคิดว่าเราสู้ได้ไม่แพ้ใครในโลกนี้" 

 

‘เอส สไปน์ฯ\' ทุ่ม 2 พันล้าน ดัน รพ.เฉพาะทาง ศูนย์กายภาพบำบัด-ดูแลความเสื่อม

เพราะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำให้คนไข้พอใจ โดยเฉพาะเครื่องมือเจาะรูส่องกล้องผ่าตัดขนาด 5 มิลลิเมตร ที่ให้ผลลัพธ์เทียบเท่ากับการผ่าตัดเปิดแผลขนาดใหญ่ ทำให้คุณภาพการรักษาที่ดี คนไข้มีความพึงพอใจจนเกิดการบอกต่อ และผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในปัจจุบัน ล้วนรับรู้มาจากการบอกต่อเกินกว่าครึ่งจากผู้ป่วยทั้งหมด

 

ซึ่งการรักษาด้านอื่นๆ ประมาณ 80% ที่เหลือให้บริการผ่าตัดเฉลี่ย 200 เคส/เดือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้ป่วย 3 แสนบาท/การผ่าตัด 1 ครั้ง ขณะนี้ พูดได้ว่าคืนทุนหมดแล้วและการลงทุนสร้างรพ.ใหม่กู้เพิ่มเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น 

 

ศูนย์เฉพาะทาง รับสังคมสูงวัย

ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เอส สไปน์ฯ กล่าวด้วยว่า ในอนาคตโรงพยาบาลแห่งใหม่ จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กายภาพบำบัดด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย ศูนย์กายภายบำบัด จึงมีความเป็น โดยเฉพาะการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ที่มีพยาธิสภาพที่สมอง ซึ่งมีช่วงเวลาระยะเวลาการเกิดโรคไม่เกิน 6 เดือน

 

ในทางการแพทย์ถือว่าเป็นช่วงเวลาทอง (Golden period) ของการฟื้นฟูเนื่องจากจะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของสมองและกล้ามเนื้อ ลดความพิการซ้ำซ้อน หรือเกิดความพิการน้อยที่สุด ขณะเดียวกันจะตั้งศูนย์เฉพาะทางด้านต่างๆ ที่สอดรับไปกับสังคมสูงวัย เช่น ศูนย์ทางด้านการดูแลตา ศูนย์ที่ดูแลเข่า หรืออื่นๆ ด้วย 

 

“การทำงานที่มีจะเน้นให้เจ้าหน้าที่ทุกคนทั้งแพทย์ พยาบาลและทุกภาคส่วน มีความสุข สนุกกับงาน และมี work life balance เมื่อทุกคนทำงานด้วยความสุข  ทำให้คุณภาพการรักษาที่ดี คนไข้คนไข้ก็จะได้รับบริการที่ดี มีความพึงพอใจจนเกิดการบอกต่อ ทำให้มีคนมาใช้บริการมากขึ้นสำหรับโรงพยาบาลที่สร้างใหม่คาดว่าคืนทุนได้ภายใน 10-15ปี”

 

‘เอส สไปน์ฯ\' ทุ่ม 2 พันล้าน ดัน รพ.เฉพาะทาง ศูนย์กายภาพบำบัด-ดูแลความเสื่อม

 

ธุรกิจที่มาพร้อมกับ“สังคมสูงวัย”

ปัจจุบัน การลงทุนธุรกิจบริการสุขภาพและการแพทย์ที่ครอบคลุม ครบวงจรตลาดผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นบริการบ้านพักคนชรา หลากหลายรูปแบบทั้งรายเดือน หรือให้บริการผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้านเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย

 

สถานบริการด้านฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเฉพาะทาง อาทิ ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่ให้บริการด้านกายภาพบำบัด และฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบ แตก หลังการรักษาในโรงพยาบาลให้บริการสถานที่พักฟื้นผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหลอดเลือดสมอง มีพยาบาล และผู้ช่วยพยาบาลคอยให้การดูแล รวมถึงมีบริการฟื้นฟูร่างกายโดยนักกายภาพบำบัดปัจจุบันผู้ป่วยกลุ่มนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ทั้งเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ

 

ลักษณะการให้บริการ จะเป็นการพักฟื้นหลังรักษาช่วง Golden Period for Stroke คือ ระยะเวลา 3-6 เดือนแรกหลังเกิดโรคซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หากได้รับการรักษาในช่วงเวลานี้ จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุดบริการของ ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จึงเป็นอีกหนึ่ง ‘ทางเลือก’ ที่ช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

 

เพราะจะมีศูนย์กายภาพบำบัด ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสหเวชกรรมคลินิกโรคหลอดเลือดสมองโรคกระดูกและข้อ กายภาพบำบัดสุขภาพจิตและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุผู้ป่วยพักฟื้น ผู้ป่วยติดเตียง รวมทั้งดูแลปัญหาสุขภาพจิตที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิต ในแง่ของผู้สูงอายุจะเห็นได้บ่อย เช่น อาการนอนไม่หลับ ซึมเศร้า ความเครียดให้คำแนะนำสำหรับญาติ เพื่อให้เข้าใจอาการและผลกระทบจากการดูแลผู้ป่วยด้วย

 

‘เอส สไปน์ฯ\' ทุ่ม 2 พันล้าน ดัน รพ.เฉพาะทาง ศูนย์กายภาพบำบัด-ดูแลความเสื่อม

 

สังคมสงเคราะห์กับเวชศาสตร์ฟื้นฟู

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เป็นสถาบันการแพทย์ระดับชาติที่มีภารกิจสำคัญในการให้บริการด้านฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ระดับตติยภูมิแก่ผู้ป่วยและคนพิการ โดยมีทีมสหวิชาชีพเฉพาะที่หลากหลายเพื่อให้บริการผู้ป่วยและคนพิการ

 

นพ.ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ มุ่งเน้นภารกิจการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มีทีมสหสาขาวิชาชีพ แต่ละวิชาชีพ ที่สามารถให้บริการผู้ป่วยและคนพิการ ได้อย่างครอบคลุม

 

หนึ่งในทีมสหวิชาชีพนั้น ก็มีวิชาชีพ สังคมสงเคราะห์ที่ให้บริการผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่มีความพิการ และมีปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือ วางแผน แก้ไข ป้องกัน ติดตาม การประสานงาน การเยี่ยมบ้าน การสงเคราะห์ การจัดหาแนะนำแหล่งทรัพยากรต่างๆ

 

ตลอดจนการให้คำปรึกษาเรื่องการประกอบอาชีพ การศึกษาต่อ ตามกระบวนการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ และการแนะนำสิทธิสวัสดิการประเภทต่างๆ เช่น การกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ และสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับจากสิทธินั้นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ และพึ่งพาตัวเองได้อย่างแท้จริง

 

เปิดให้บริการคลินิกการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้น (Occupational therapy intensive clinic)ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ที่มีพยาธิสภาพที่สมอง (Acquired Brain Injury) ระยะเวลาการเกิดโรคไม่เกิน 6 เดือนในทางการแพทย์ถือว่าเป็นช่วงเวลาทอง (Golden period) ของการฟื้นฟูเนื่องจากจะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของสมองและกล้ามเนื้อ ลดความพิการซ้ำซ้อน หรือเกิดความพิการน้อยที่สุด

 

โดยใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวรยางค์ส่วนบนและฟื้นฟูทักษะความสามารถการหยิบจับวัตถุ เช่น Constraint-induced movement therapy (CIMT), Mirror Therapy, เทคนิค Repetitive facilitation exercise (Kawahira Method) เทคนิคที่นำมาใช้เป็นเทคนิคที่มีหลักฐานงานวิจัยรองรับและใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับสากล

 

นำเครื่องมือพิเศษซึ่งเป็น Computer based therapy, Robotic based therapy และ Virtual reality based therapy มาใช้ร่วมกับการฟื้นฟูรยางค์ส่วนบน ส่งเสริมแรงจูงใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูนักกิจกรรมบำบัด 1 คนต่อผู้รับบริการไม่เกิน 2 คนฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นเป็นรายครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ความถี่ในการรับบริการ 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์

 

รูปแบบกิจกรรมบำบัดไม่ว่าจะเป็นด้านทักษะความสามารถในการฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ด้านการทำวิจัย และด้านการเผยแพร่องค์ความรู้ สำหรับด้านทักษะความสามารถนั้น นักกิจกรรมบำบัดในคลินิกการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นได้ผ่านการอบรมเทคนิคการฟื้นฟู Repetitive facilitation exercise (Kawahira Method) จาก Laboratory of KAWAHIRA ณ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

 

เปิดให้บริการครอบคลุมทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) โดยมีนักกิจกรรมบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับให้บริการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด พร้อมทั้งมีสถานที่ อุปกรณ์การฟื้นฟู เทคนิคและเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งต้นแบบบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายในผู้ที่มีพยาธิสภาพที่สมอง