'กระเพาะอาหารทะลุ' อันตรายแค่ไหน ? ใครคือกลุ่มเสี่ยง

เมื่อรู้สึกปวดท้องท้องรุนแรง ท้องบวมแข็งผิดปกติ ไข้สูง อ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย หอบ อย่างชะล่าใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน 'กระเพาะอาหารทะลุ' กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องระวัง คือ ผู้ที่เคยเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เพราะมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากขึ้น และเสี่ยงกระเพาะทะลุได้
KEY
POINTS
- กระเพาะทะลุ (Gastrointestinal Perforation) เกิดจากหลายปัจจัย เป็นภาวะที่ที่ผนังกระเพาะอาหารเกิดการมีรูขึ้น
- มีสาเหตุเกิดจากโรค และอาการเจ
เมื่อรู้สึก ปวดท้องท้องรุนแรง ท้องบวมแข็งผิดปกติ ไข้สูง อ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย หอบ อย่างชะล่าใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน 'กระเพาะอาหารทะลุ' ได้
กระเพาะทะลุ (Gastrointestinal Perforation) เกิดจากหลายปัจจัย เป็นภาวะที่ที่ผนังกระเพาะอาหารเกิดการมีรูขึ้น ทำให้เชื้อแบคทีเรีย กรดในกระเพาะอาหาร หรือเศษอาหาร เข้าไปสัมผัสในโพรงช่องท้อง ส่งผลให้มีปวดท้องรุนแรง มีความเสี่ยงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตได้
กระเพาะทะลุเกิดจากสาเหตุใด
เกิดจากโรค และอาการเจ็บป่วยต่างๆ
- การติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร
- แผลในกระเพาะอาหาร
- การอักเสบของลำไส้
- โรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs แอสไพริน ยาสเตียรอยด์ และยาเคมีบำบัดบางชนิด
- การผ่าตัดบริเวณกระเพาะอาหาร
เกิดจากอุบัติเหตุ และพฤติกรรม
- ได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกบริเวณท้อง และส่งผลกระทบกระเทือนถึงภายในกระเพาะอาหาร
- การถูกแทงเข้าที่ท้อง หรือถูกยิงเข้าที่ท้อง
- การรับประทานสารกัดกร่อน หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไป
- เครียดเป็นประจำ
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่เป็นประจำ
อาการกระเพาะทะลุ
- ปวดท้องรุนแรง
- ท้องบวมแข็งผิดปกติ
- ไข้สูง
- อ่อนเพลีย
- หายใจเหนื่อย หอบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- แพทย์เตือนกลุ่มวัยทำงานเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง
- "ท้องอืด" กินเร็ว เสี่ยงโรคร้าย! เช็กอาหารแต่ละอย่าง กระเพาะย่อยนานแค่ไหน?
- “เครียดลงกระเพาะ” โรคฮิตที่อย่ามองข้ามความเครียด จุดเริ่มต้นของโรคร้าย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระเพาะทะลุ
- ความเครียด
- ดื่มแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่
- ใช้ยาเสพติด เช่น โคเคน หรือแอมเฟทามีน
- ติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร
- ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดและต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่นแอสไพริน โอบูโพรเฟน) ยาสเตียรอยด์ และยาเคมีบำบัดบางชนิด
- เจ็บป่วยด้วยโรคทำให้มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารผิดปกติ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร
- ผ่าตัดกระเพาะอาหาร
- อุบัติเหตุทางร่างกาย เช่น มีดหรือกระสุนทะลุกระเพาะอาหาร การกลืนวัตถุลงกระเพาะอาหาร เช่น ของเล่น เครื่องเขียน เป็นต้น
- การส่องตรวจกระเพาะอาหารด้วยกล้องแม้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก
กลุ่มเสี่ยงกระเพาะทะลุ เป็นใครได้บ้าง?
- ผู้ที่รับประทานยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาหม้อ ยาลูกกลอนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดการระคายเคือง กระเพาะอาหาร จนเกิดแผล และเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร หากแผลลึกอาจส่งผลให้กระเพาะทะลุได้
- ผู้ป่วยที่เคยมีแผลในกระเพาะอาหาร หากมีสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร จะมีโอกาสเกิดแผลในกระเพาะอาหารซ้ำได้มากขึ้น
- การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร มักเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ทำให้เกิดการอักเสบและแผลในกระเพาะอาหาร
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่กระเพาะอาหารชนิดโตเร็ว อาจเกิดกระเพาะทะลุได้ โดยเฉพาะช่วงที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
การวินิจฉัยกระเพาะทะลุ
- ในขั้นต้นแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย ตรวจเลือด และตรวจภายในช่องท้องผ่านภาพถ่ายทางรังสีวิทยา เพื่อวินิจฉัยอาการ หาสาเหตุของโรค และหาความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- เอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนบน เพื่อหาจุดที่มีการทะลุในอวัยวะภายในช่องท้อง
- การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ระบุตำแหน่งที่มีรูบริเวณกระเพาะอาหาร
- ตรวจปริมาณเกลือแร่ และความเป็นกรดด่างในโลหิต
- ตรวจการทำงานของตับ และไต
- การตรวจปริมาณการลดลงของเม็ดเลือดแดง
- การตรวจปริมาณการของเม็ดเลือดขาว
วิธีรักษากระเพาะทะลุ
- รักษาแผลตามสาเหตุ
- ผ่าตัดเพื่อปิดรอยรั่ว และล้างช่องท้อง
ภาวะแทรกซ้อนของกระเพาะทะลุ
- ภาวะเลือดออก
- ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้อง
- การเกิดฝีในช่องท้อง
- ลำไส้ขาดเลือด
- ติดเชื้อในกระแสเลือด
แผลในกระเพาะ ต้องระวัง
สำหรับแผลในกระเพาะอาหาร เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้กระเพาะทะลุ เกิดจาก กรดและน้ำย่อย ที่หลั่งออกมาทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเผ็ด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์
ดังนั้น เราสามารถป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อเอช ไพโลไร ซึ่งติดต่อผ่านการบริโภคอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ ป้องกันโดยการกินอาหารที่สะอาดปรุงสุก ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือให้สะอาด
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพราะมีผลให้เยื่อบุกระเพาะอ่อนแอ ทำให้แผลหายช้า และเกิดแผลกลับเป็นซ้ำได้บ่อยมาก
- งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ - NSAID
- ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
- กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ รวมทั้งให้ยากำจัดเชื้อ เอช ไพโลไรด้วย
- ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน ปวดท้องรุนแรง หรือเบื่ออาหารน้ำหนักลดลงมาก ควรรีบไปพบแพทย์
ผู้ป่วยแผลในกระเพาะอาหารควรกินอาหารชนิดไหน?
- กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินบ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
- ดื่มนมได้ถ้าดื่มแล้วท้องไม่อืด
- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง เพราะทำให้ระคายเคืองแผลมากและปวดมากขึ้น
- อาหารทอด หรือไขมันสูงเพราะย่อยยากจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารขยายตัวมากทำให้ปวดมากขึ้น
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ช็อกโกแลต และงดน้ำอัดลมเพราะมีแก๊สมากกระเพาะขยายตัวทำให้ปวดมากขึ้นและกระตุ้นให้หลั่งกรดเพิ่มขึ้นด้วย
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นจัด
เมื่อมีอาการปวดแน่นท้อง ควรรับประทานอาหารชนิดใด?
- ในรายที่ปวดรุนแรง อาจต้องกินเป็นอาหารเหลวทุกชั่วโมง เช่น น้ำข้าว น้ำซุป น้ำเต้าหู้
- เมื่อดีขึ้น เริ่มกินโจ๊กได้
- เมื่อทุเลามากขึ้น จึงเปลี่ยนเป็นข้าวต้มและข้าวสวยได้ตามลำดับ
- ถ้ามีอาการแน่นท้องมาก ควรกินวันละ 6 มื้อ โดยแบ่งปริมาณมาจากมื้ออาหารปกติครึ่งหนึ่ง คือมื้อเช้าแบ่งเป็นเช้าและสาย มื้อกลางวันแบ่งเป็นกลางวันและบ่าย และมื้อเย็นแบ่งเป็นเย็นและค่ำ รวมเป็น 6 มื้อ (แต่ละมื้อให้กินปริมาณอาหารน้อยลง แต่กินให้บ่อยขึ้น)
อ้างอิง : รพ.ขอนแก่น ราม , รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย , คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี , รพ.เพรชเวช