'Gen Z-Millennial' เครียดน้อยลง แต่กังวลเรื่องค่าครองชีพ-สิ่งแวดล้อม

'Gen Z-Millennial' เครียดน้อยลง แต่กังวลเรื่องค่าครองชีพ-สิ่งแวดล้อม

ดีลอยท์ ประเทศไทย ได้จัดทำการสำรวจ Deloitte Global 2024 Gen Z and Millennial Survey – Thailand Perspective ซึ่งเป็นผลการศึกษาสะท้อนมุมมองของ Gen Z  (เจนซี) และ Millennial (มิลเลนเนียล) ชาวไทย ที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม

KEY

POINTS

  • Gen Z และ Millennial ในประเทศไทย มีความเครียดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา ค่าครองชีพเป็นต้นเหตุของความกังวลอันดับ 1
  • ขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อม Gen Z และ Millennial มีความกังวลสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกอย่างมีนัยสำคัญ มองว่าภาครัฐและภาคธุรกิจควรมีบทบาทมากกว่านี้ โดยคนรุ่นใหม่พร้อมใจจะมีส่วนผลักดันในเรื่องนี้ 
  • ส่วนการทำงาน คนไทยรุ่นใหม่เลือกองค์กรที่ตอบโจทย์ในการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน (Work life Balance) มีโอกาสในการเรียนรู้ และเป็นงานที่มีความหมาย 

ดีลอยท์ ประเทศไทย ได้จัดทำการสำรวจ Deloitte Global 2024 Gen Z and Millennial Survey – Thailand Perspective ซึ่งเป็นผลการศึกษาสะท้อนมุมมองของ Gen Z (เจนซี) และ Millennial (มิลเลนเนียล) ชาวไทย ที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม โดยผลสำรวจดังกล่าว ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เป็นปีที่ 13  เพื่อทำการสำรวจมุมมองแนวคิดเชิงลึกของคนในเจนซี และมิลเลนเนียล จำนวน 22,841 คนจาก 44 ประเทศทั่วโลก  แบ่งเป็น เจนซี 14,468 คน และ มิลเลนเนียล 8,373 คน เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนพ.ย. 2566 ถึงมี.ค. 2567 ตามคำจำกัดความของดีลอยท์ ในรายงานฉบับนี้ คนเจนซี มีอายุระหว่าง 19 – 29 ปี และ มิลเลนเนียล มีอายุระหว่าง 30 – 41 ปี

สำหรับในประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมการตอบแบบสอบถามทั้งหมด 301 คน แบ่งเป็น เจนซี 201 คน และมิลเลนเนียลชาวไทย จำนวน 100 คน มีการกระจายตัวของเพศหญิงชายเท่า ๆ กัน แต่ 15% ของเจนซี และ 60% ของมิลเลนเนียลมีสถานะเป็นผู้ปกครองแล้ว การดำเนินการนี้ เพื่อเป็นการติดตามความเปลี่ยนแปลงด้านแนวคิดและมุมมองต่าง ๆ ของกลุ่มเจนซีและมิลเลนเนียล ที่เป็นกำลังสำคัญในตลาดแรงงานทั่วโลก

“อริยะ ฝึกฝน” กรรมการบริหาร ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดังกล่าวจะสะท้อนมุมมองเชิงลึกของคนไทยในทั้งสองเจเนอเรชั่นดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในปีเดียวกันของคนในเจเนอเรชั่นเดียวกันทั่วโลก  จากผลการสำรวจในปีนี้พบว่า

เรื่องที่ GenZ มีกังวลมากที่สุดคือ

  • ค่าครองชีพ (ร้อยละ 37)
  • การว่างงาน (ร้อยละ 36)
  • ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และความมั่งคั่ง (ร้อยละ 21)

ปัจจัยที่มิลเลนเนียลมีความกังวล 3 อันดับแรกได้แก่

  • ค่าครองชีพ (ร้อยละ 37)
  • การความเหลื่อมล้ำทางรายได้และความมั่งคั่ง (ร้อยละ 26)
  • ความไม่มั่นคงทางการเมือง/ความขัดแย้งระดับโลก (ร้อยละ 24)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เข้าใจความต่าง! ทำไม? คน Gen Z ถึงอยู่ร่วมกับคน Gen อื่นยาก

"คนรุ่นใหม่" เลือกองค์กรตอบโจทย์ Work life Balance

คนรุ่นใหม่ไทยมีเป้าหมายในการทำงานที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกพนักงาน

  • ร้อยละ 96 ของ เจนซีในประเทศไทย และ ร้อยละ 99 ของมิลเลนเนียล ตอบว่าการมีเป้าหมายในการทำงานค่อนข้างสำคัญหรือสำคัญมากต่อความพึงพอใจในงานและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเจนซีและมิลเลนเนียลทั่วโลกที่ร้อยละ 86 และ ร้อยละ 89 ตามลำดับ
  •  ร้อยละ 91 ของ เจนซีในประเทศไทย และ ร้อยละ 93 ของ มิลเลนเนียลในประเทศไทย บอกว่างานปัจจุบันทำให้ตนเองรู้สึกถึงความมุ่งหมาย (Purpose)
  • ร้อยละ 55 ของ เจนซี และ ร้อยละ 60 ของ มิลเลนเนียลในประเทศไทย ปฏิเสธงานที่ได้รับมอบหมายที่ขัดต่อจริยธรรมและความเชื่อของตนเอง
  • ร้อยละ 55 ของเจนซี และ ร้อยละ 57 ของมิลเลนเนียล ปฏิเสธที่จะร่วมงานกับองค์กรที่ขัดต่อจริยธรรมและความเชื่อของตนเอง โดยจะเลือกทำงานกับองค์กรที่ตอบโจทย์ในการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน (Work/life Balance) มีโอกาสในการเรียนรู้ และ เป็นงานที่มีความหมาย

สิ่งที่ "เจนซีและมิลเลนเนียล" อยากได้จากนายจ้าง

ภาพรวม เจนซีและมิลเลนเนียลในประเทศไทยเห็นว่านายจ้างมีความใส่ใจต่อพนักงาน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก

  • เจนซี ร้อยละ 70 และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 74  ตอบว่านายจ้างให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงาน
  • เจนซี ร้อยละ 77 และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 76 ตอบว่ารู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยกับผู้จัดการอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่น ๆ
  • เจนซี ร้อยละ 73 และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 68 บอกว่าหัวหน้างานรู้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรเมื่อมีการพูดคุยสื่อสารเมื่อเกิดความเครียด
  • คำตอบของเจนซีและมิลเลนเนียลคนไทยทั้งสองกลุ่ม  สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ ร้อยละ 52 และร้อยละ 59 ตามลำดับ

\'Gen Z-Millennial\' เครียดน้อยลง แต่กังวลเรื่องค่าครองชีพ-สิ่งแวดล้อม

กังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

เมื่อถามถึงความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

  • เจนซีและมิลเลนเนียลในประเทศไทย ร้อยละ 81 และ 92 ตามลำดับ ตอบว่ามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนกลุ่มเดียวกันทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ ที่ร้อยละ 62 และ 59 ตามลำดับ
  • เจนซี ร้อยละ 90 และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 91 มองว่าภาครัฐและภาคธุรกิจควรมีบทบาทในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากขึ้น
  • เจนซี  ร้อยละ 92  และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 93 ยอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

"โดยแนวปฏิบัติยอดนิยม ได้แก่ หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าแฟชั่นด่วน (Fast Fashion) ลดการเดินทาง ศึกษาข้อมูลด้านการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัทก่อนการอุดหนุนสินค้าของบริษัทนั้นๆ ทานมังสะวิรัติ หรือ วีแกน (Vegan) และ เลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้า"

ปัญหาทางเศรษฐกิจ ส่งผลสุขภาพจิจชองคนรุ่นใหม่

เจนซี ในประเทศไทย ร้อยละ 42 และ มิลเลนเนียล ร้อยละ 60 รู้สึกดีถึงดีมากกับสภาพจิตใจโดยรวมของตนเองในปัจจุบัน เทียบกับปี 2566 โดยคนทั้งสองกลุ่ม ระบุว่ามีความเครียดน้อยลง

ผู้ตอบแบบสอบถามเจนซีที่บอกว่ารู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา ลดลงจากร้อยละ 51 เหลือร้อยละ 40 และ มิลเลนเนียล ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 39 เหลือร้อยละ 38 เหตุผลที่สร้างความเครียดได้แก่ การเงินในอนาคต การเงินในชีวิตประจำวัน และ งาน

นอกจากนั้น ความคาดหวังของเจนซีและมิลเลนเนียลไทยต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินว่าจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้าลดลง เมื่อเทียบกับปี 2566

\'Gen Z-Millennial\' เครียดน้อยลง แต่กังวลเรื่องค่าครองชีพ-สิ่งแวดล้อม

ความคาดหวังต่อภาพรวมเศรษฐกิจ

  • เจนซี ลดลงจากร้อยละ 27 เหลือร้อยละ 15 และ
  • มิลเลนเนียล ลดลงจากร้อยละ 26 เหลือร้อยละ 22

ความคาดหวังต่อสถานการณ์การเงินของตัวเอง

  • เจนซี ลดลงจากร้อยละ 37 เหลือ ร้อยละ 19 
  • มิลเลนเนียล ลดลงจากร้อยละ 38 เหลือร้อยละ 33

ความคาดหวังต่อสถานการณ์โดยรวมของเศรษฐกิจ/การเมือง

  • เจนซี ลดลงจากร้อยละ 27 เหลือร้อยละ 15
  • มิลเลนเนียล ลดลงจากร้อยละ 24 เหลือร้อยละ 23

ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 42 ของ เจนซี และ ร้อยละ 45 ของมิลเลนเนียล เชื่อว่าองค์กรภาคธุรกิจสร้างผลกระทบเชิงบวกกับสังคม ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 49 และ 47 ตามลำดับ

"คนไทยรุ่นใหม่มีความคาดหวังว่าภาคธุรกิจควรมีบทบาทในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมองภาคธุรกิจควรสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของพนักงาน ให้ผลตอบแทนที่เท่าเทียมและโปร่งใส สนับสนุนด้านทุนการศึกษา และ สร้างความมั่นใจว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะไม่มาซ้ำเติมให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเพิ่มมากขึ้น"

มานิตา ลิ่มสกุล ผู้จัดการอาวุโส ฝ่าย Human Capital ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าวว่าการมีสุขภาวะทางจิตที่ดี หรือ Mental Well-being เป็นเรื่องสำคัญมาก กลุ่มเจนซีและมิลเลนเนียล คือ แรงงานหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกในวันนี้ องค์กรที่มีความเข้าใจ ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และ สามารถปรับเปลี่ยนวิธีในการดูแลคนรุ่นใหม่ได้อย่างถูกต้อง จะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญ

ดร. โชดก ปัญญาวรานันท์ ผู้จัดการฝ่าย Clients & Market ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ผลการสำรวจมีความน่าสนใจและสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของคนไทยที่มีความแตกต่างจากค่าเฉลี่ยโลกในในหลายแง่มุม ถ้ามองให้ละเอียดกว่านั้น จะเห็นถึงความแตกต่างกันของคนในแต่ละเจนอีกด้วย

\'Gen Z-Millennial\' เครียดน้อยลง แต่กังวลเรื่องค่าครองชีพ-สิ่งแวดล้อม

YouTube ครองใจ Gen Z ร้อยละ 89  ยกให้เป็นแพลตฟอร์มโปรด

YouTube แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำการฉลองครบรอบ 10 ปีในประเทศไทย ด้วยผลสำรวจจาก Kantar เปิดเผยให้เห็นว่า YouTube ครองใจผู้ชม Gen Z ในไทยอย่างท่วมท้น โดย ร้อยละ 89 ยกให้เป็นแพลตฟอร์มโปรด และ ร้อยละ 88 มองว่า YouTube ตอบโจทย์ความสนใจของพวกเขาได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นเพลง เกม หรือคอนเทนต์อื่นๆ ที่ตรงใจ

นอกจากนั้น พฤติกรรมการรับชมของ Gen Z ยังเป็นที่น่าสนใจ โดยพวกเขาใช้เวลากับ YouTube มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยเฉพาะหลังเลิกเรียนหรือเลิกงาน และนิยมชมวิดีโอที่มีความยาวมากกว่าคลิปสั้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาดและผู้สร้างคอนเทนต์ในการวางกลยุทธ์

อีกทั้ง  Gen Z ยังเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่สำคัญบน YouTube โดย Top 5 อินฟลูเอ็นเซอร์ที่ Gen Z ไทยชื่นชอบเป็น YouTuber ทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลและศักยภาพของคนรุ่นใหม่ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่น่าสนใจ และเข้าถึงผู้ชมได้อย่างกว้างขวาง

ภาวิต จิตรกร ซีอีโอของ GMM Music เปิดเผยถึงการทำงานร่วมกับ YouTube ว่าได้มีการใช้เครื่องมือและ Data เพื่อพัฒนาช่อง YouTube ของ GMM Music และในเครือ โดยทุกปีมีรายได้จาก YouTube เติบโตร้อยละ 25 และยอดผู้ติดตามเติบโต ร้อยละ 40 ของทุกปี รวมถึงรายได้จากโฆษณาก็โตเฉลี่ย ร้อยละ 20% 

GMM Music เปิด 8 เคล็ดลับที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จบน YouTube 

1. ใช้ Data คาดการณ์ยอดวิว

  • นำข้อมูลจาก YouTube มาวิเคราะห์เพื่อทำนายแนวโน้มความสำเร็จของแต่ละคอนเทนต์

2. เข้าใจแฟนคลับ

  • ศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้ชม เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจและสร้างโอกาสทางธุรกิจ 

3. ใช้ YouTube Shorts ดึงดูดผู้ชม

  •  สร้างคลิปสั้นเพื่อเพิ่มการเข้าถึงและนำผู้ชมไปสู่คอนเทนต์อื่นๆ

4. เพิ่มยอดวิวแบบ Organic

  •  ใช้เทคนิค SEO, การจัดการหน้าโฮม, เพลย์ลิสต์ และการเชื่อมโยงคอนเทนต์

5. สร้างรายได้จากคลิปยาว

  •  เน้นการสร้างคอนเทนต์ที่มีความยาวเพื่อเพิ่ม Watch Hours และรายได้จากโฆษณา

6. โฟกัสคอนเทนต์ CPM สูง

  •  เลือกสร้างคอนเทนต์ที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้สูง

7. ใช้ Playlist และ Live Streaming

  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ชมและยืดอายุของคอนเทนต์

8. สร้างโฆษณาจากข้อมูล

  •  นำข้อมูลจากคอนเทนต์ที่ประสบความสำเร็จมาใช้ในการสร้างโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ

YouTube Shorts วิดีโอสั้นที่มาแรง

YouTube Shorts รูปแบบวิดีโอสั้นที่มีความยาวไม่เกิน 60 วินาที กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยมียอดดูเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 130 ต่อวันเมื่อเทียบกับปี 2023 และมีจำนวนผู้ชมที่ล็อกอินเข้ามาดู YouTube Shorts เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ  35 ต่อวัน

ผู้ชมชาวไทยร้อยละ 98 ระบุว่า ดูทั้งคลิปสั้นและคลิปขนาดยาวบน YouTube โดย ร้อยละ 80  มองว่า YouTube Shorts ตอบโจทย์ในการเจาะลึกเนื้อหาและหัวข้อเฉพาะที่พวกเขาสนใจ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ในการเข้าถึงผู้ชมกลุ่มใหม่ และสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่หลากหลาย

มุกพิม อนันตชัย หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ YouTube ประเทศไทยและเวียดนาม  กล่าวว่า YouTube ไม่ได้เป็นเพียงแพลตฟอร์มสำหรับความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการศึกษา การอนุรักษ์วัฒนธรรม และการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทยอี รวมถึงช่วยให้นักเรียนนักศึกษาเข้าถึงหลักสูตรออนไลน์ เปิดโอกาสให้ชุมชนได้นำเสนอประเพณีอันดีงามของตน และช่วยให้นักเคลื่อนไหวมีพื้นที่ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงประเด็นสำคัญต่างๆ

\'Gen Z-Millennial\' เครียดน้อยลง แต่กังวลเรื่องค่าครองชีพ-สิ่งแวดล้อม

AI อนาคตของ YouTube การสร้างสรรค์คอนเทนต์

YouTube มุ่งมั่นที่จะนำศักยภาพของ AI มาใช้ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม และช่วยให้ครีเอเตอร์สร้างสรรค์คอนเทนต์ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น ฟีเจอร์ Dream Screen ที่ช่วยเพิ่มวิดีโอหรือภาพพื้นหลังลงใน Shorts ได้ง่ายๆ เพียงพิมพ์ไอเดียลงใน Prompt ซึ่งเป็นการนำ AI มาช่วยให้การสร้างสรรค์คอนเทนต์เป็นเรื่องง่ายและสนุกมากขึ้น

YouTube ยังให้ความสำคัญกับการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างมีความรับผิดชอบ โดยมีข้อกำหนดให้ครีเอเตอร์ต้องเปิดเผยต่อผู้ชม เมื่อเนื้อหาที่ดูสมจริงถูกสร้างขึ้นโดย Generative AI เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและช่วยปกป้องชุมชน YouTube

อ้างอิง: thestandard.co