ปี67 ตลาดความงามขยายตัว9.5% ดันเครื่องสำอาง Soft Powerของไทย

ปี67 ตลาดความงามขยายตัว9.5%  ดันเครื่องสำอาง Soft Powerของไทย

ตลาดเครื่องสำอางมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่ทำให้ตลาดเครื่องสำอางมีแนวโน้มมูลค่าการตลาดที่เพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจากตลาดอีคอมเมิร์ซ การเลือกซื้อเครื่องสำอางทำได้ง่ายขึ้น

KEY

POINTS

  • ภาพรวมตลาดความงามของไทยในปี 2567 คาดว่าจะมีมูลค่า 3.40 แสนล้านบาท ขยายตัว 9.5% ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่จะมีภาวะการแข่งขันที่สูงมากขึ้น
  • ความท้าทายของผู้ประกอบการ คือ ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามายกระดับผลิตภัณฑ์และการให้บริการ รวมถึงสร้างความโดดเด่นของแบรนด์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
  • "ตลาดเครื่องสำอางไทย” ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง และเป็น1ใน5อุตสาหกรรมสำคัญที่ช่วยเพิ่มจีดีพีของประเทศไทย รัฐบาลสามารถสนับสนุนสร้างให้เป็น Soft Power ได้ 

ตลาดเครื่องสำอางมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่ทำให้ตลาดเครื่องสำอางมีแนวโน้มมูลค่าการตลาดที่เพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจากตลาดอีคอมเมิร์ซ การเลือกซื้อเครื่องสำอางทำได้ง่ายขึ้น จากการคาดการณ์ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า คาดการณ์ว่าในปี 2567 ธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทยจะมีมูลค่าถึง 2.81 แสนล้านบาท สูงกว่าปี 2566 ถึง 10.4%

โดยตลาดเครื่องสำอางที่ผลิตภายในประเทศ คิดเป็น 85% ของธุรกิจเครื่องสำอางในไทย และตลาดเครื่องสำอางที่นำเข้าจากต่างประเทศ คิดเป็น 15% ซึ่งประเภทเครื่องสำอางที่ครองตลาดในไทย ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว (Skincare) มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 46.8% แยกเป็น 2 หมวดหมู่ย่อย ได้แก่ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า (84%) ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกาย (16%) 2. ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผม (Haircare) มีส่วนแบ่งตลาด 18.3% แยกเป็น 2 หมวดหมู่ย่อย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม (83%) และผลิตภัณฑ์จัดแต่งผม (17%)

ขณะที่ 3. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย (Hygiene) มีส่วนแบ่งตลาด 16.3% 4. ผลิตภัณฑ์ตกแต่งใบหน้า (Makeup) มีส่วนแบ่งตลาด 13.5% แยกเป็น 4 หมวดหมู่ย่อยได้แก่ ผลิตภัณฑ์ตกแต่งผิวหน้า (56%) ผลิตภัณฑ์ตกแต่งริมฝีปาก (26%) ผลิตภัณฑ์ตกแต่งตา (17%) ผลิตภัณฑ์ตกแต่งเล็บ (1%) และ5. น้ำหอม (Fragrance) มีส่วนแบ่งตลาด 5.1%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

คนไทยสวยทุกยุค! หนุนตลาดเครื่องสำอางโตแกร่ง กูรูแนะแบรนด์ไทยเร่งปรับตัว

จับเทรนด์ผู้บริโภคไม่หยุดสวย" ดัน"ตลาดเครื่องสำอางโลก"โตต่อเนื่อง

ตลาดความงาม3.40 แสนล้านบาท

“เกศมณี เลิศกิจจา” นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย กล่าวถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยในปี 2567ว่า ปีนี้ตลาดความงามของไทยมีอัตราการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นประมาณ 30% ในบางรายการ และค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว รวมทั้งกำลังซื้อในประเทศโดยเฉพาะตลาดกลางและล่างที่ยังไม่คึกคักมากนัก ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างแน่นอน

 “สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย ได้วิเคราะห์ภาพรวมตลาดความงามของไทยในปี 2567 คาดว่าจะมีมูลค่า 3.40 แสนล้านบาท ขยายตัว 9.5% ใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะที่ปัจจุบันสมาคมฯ มีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกเครือข่ายประมาณ 1,000 ราย ส่วนผู้ประกอบการความงามและเครื่องสำอางทั่วประเทศมีจำนวนหลายหมื่นราย ตั้งแต่รายเล็กไปจนถึงรายใหญ่ ซึ่งกว่า 97% เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี และอีก 3% เป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาร่วมงานเพื่อการขยายให้เครื่องสำอางไทยไปสู่เวทีโลก” เกศมณี กล่าว

ปี67 ตลาดความงามขยายตัว9.5%  ดันเครื่องสำอาง Soft Powerของไทย

ยกระดับผลิตภัณฑ์รับแข่งขันสูง

เกศมณี กล่าวต่อว่าการเติบโตในตลาดความงามที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากการขายในช่องทางอีคอมเมิร์ซในสัดส่วนถึง 28% โดยปีนี้คาดว่ายอดขายจากช่องทางดังกล่าวยังเติบโตได้ถึง 13% ทั้งนี้สินค้าระดับเคาน์เตอร์แบรนด์ปี 2566 มีมูลค่า 4.45 หมื่นล้านบาท เติบโต 9% และปีนี้คาดว่าเติบโต 13% หรือมีมูลค่า 5 หมื่นล้านบาท ด้านสินค้าระดับกลางปี 2566 มีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท เติบโต 8.8% และสินค้าระดับล่าง ที่เข้าถึงง่ายปี 2566 มีมูลค่า 1.58 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าเติบโต 11.6% ในปีนี้

“ความท้าทายของผู้ประกอบการในขณะนี้ คือ ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามายกระดับผลิตภัณฑ์และการให้บริการ รวมถึงการสร้างความโดดเด่นของแบรนด์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและเหมาะกับผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้เป็นเรื่องการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ทั้งการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่ชูจุดเด่นเรื่องการไม่มีกำแพงภาษี ทำให้คู่แข่งในตลาดล้น เช่น ประเทศอินโดนีเชีย หลังเปิดเออีซี มีการประกาศมาตรฐานฮาลาลขึ้นมาเป็นจุดเด่นที่สามารถส่งสินค้าจำหน่ายได้กว้างขวางมากขึ้น ทางสมาคมจึงต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือ”เกศมณี กล่าว

ปี67 ตลาดความงามขยายตัว9.5%  ดันเครื่องสำอาง Soft Powerของไทย

ชูเครื่องสำอางไทยเป็นSoft Power

ตลาดเครื่องสำอางไทย” ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง และเป็น1ใน5อุตสาหกรรมสำคัญที่ช่วยเพิ่ม จีดีพี(ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ)ให้ประเทศไทยขณะนี้จีน กัมพูชาลาวเมียนมามาเลเซียที่มาเที่ยวไทย ต่างซื้อสินค้าความงามในไทยกลับไปเป็นของฝาก เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณภาพ มีจุดแข็งในเรื่องวัตถุดิบที่ดีมาจากธรรมชาติ 100% ผสมผสานกับความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย และมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้เห็นได้จากเครื่องสำอางแบรนด์ดังจากประเทศเกาหลี ที่เคยเข้ามาทำตลาดในไทยสุดท้ายต้องพ่ายแพ้กลับไป

ปัจจุบันกลุ่มสุขภาพและความงามเป็นธุรกิจที่สร้างเงินให้จำนวนมากเนื่องจากความงามที่แข็งแรงจะต้องมาจากภายในและภายนอก "เกศมณี" กล่าวต่อไปว่าตลาดเครื่องสำอางมี SMEs จำนวนมาก แต่ที่ผ่านมาSMEs ที่จำหน่ายเครื่องสำอางไม่มีพื้นที่ขาย ไม่มีตลาดชัดเจนในต่างประเทศและจะเป็นขายออนไลน์จึงอยากให้รัฐบาลช่วยสร้าง Soft Power โดยเข้าไปสนับสนุนจัดหาพื้นที่ว่างหรือตึกว่างให้ผู้ประกอบการนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายเพื่อเป็นศูนย์รวมสินค้าความงามจากนั้นส่งเสริมให้เป็นสถานที่สำหรับกลุ่มบริษัททัวร์นำนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้าเช่นเดียวกับในต่างประเทศ

“อยากให้รัฐสนับสนุนเครื่องสำอางมากขึ้น อย่าง ส่งเสริมการจัดแสดงสินค้าระดับนานาชาติให้เกิดขึ้นในประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือ SMEs และถือเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวได้อีกด้วย รัฐบาลควรสร้างความตระหนักให้กับนักท่องเที่ยว และคนไทยนิยมสินค้าไทย เหมือนที่เกาหลีใต้ทำสำเร็จในเรื่องของการสร้าง Soft Power อีกทั้ง สิ่งที่รัฐควรทำอย่างเร่งด่วน คือการทะลายกำแพงของต้นทุนของSMEs ในเรื่องของพื้นที่จัดแสดงสินค้า โดยการให้รัฐเข้ามาเพิ่มพื้นที่จัดแสดงสินค้าภายใต้รัฐบาลเองมากกว่าเอกชน" เกศมณี กล่าว

ปี67 ตลาดความงามขยายตัว9.5%  ดันเครื่องสำอาง Soft Powerของไทย

“Chand Tha Nha” เครื่องสำอางภูมิปัญญาไทย

“จันทนา เซลบีย์ ปางพุฒิพงศ์” อายุ 63 ปี เจ้าของแบรนด์ Chand Tha Nha (จันทน์ทาหน้า) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากภูมิปัญญาไทย ซึ่งเริ่มต้นช่วงโควิด-19ได้ทำผลิตภัณฑ์ลดสิวไปแจกแก่น้องๆ ที่รับอุปการะ และแจกไปสถานเด็กกำพร้าที่อื่นๆ โดยมีแพทย์เป็นที่ปรึกษา ทุกขั้นตอนใช้แลปของพฤกษา คลินิกในการดำเนินการ และผ่านกระบวนการดำเนินการขอสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นที่เรียบร้อย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นสามารถนำมาจำหน่ายได้อย่างถูกกฎหมาย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค

“ใช้เวลากว่า 2 ปี ในการคิดค้นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผิวพรรณครบวงจรตั้งแต่การล้างหน้า บำรุง การป้องกัน และไม่ได้ทำเฉพาะยาแก้สิวร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอย่างครบวงจร ที่มาจากภูมิปัญญาของไทย เน้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ใช้ง่าย และราคาไม่แพง ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 3 เริ่มทำการตลาดออนไลน์ ในปีนี้จะมุ่งเน้นการตลาดออฟไลน์ และมีแผนการตลาดและกลยุทธ์ในการขยายตลาดไปสู่ชาวต่างชาติมากขึ้น”

“Chand Tha Nha” เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากภูมิปัญญาของคนไทย ด้วยความตั้งใจให้คนที่พึ่งเกษียณ หรือคนวัยทำงานได้ใช้เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งผู้สูงอายุสมัยนี้อายุยืน หากดูแลร่างกายตัวเอง ทำให้ตัวเองมีความสุข และทำในสิ่งที่ตนเองรักตนเองสนใจจะทำให้ไม่เป็นภาระของลูกหลาน และสร้างรายได้ให้ตนเองได้

ปี67 ตลาดความงามขยายตัว9.5%  ดันเครื่องสำอาง Soft Powerของไทย