“โครงการอาสาจุฬาภรณ์” ปี 67  มุ่งสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

“โครงการอาสาจุฬาภรณ์” ปี 67  มุ่งสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จัดงานแถลงข่าวความก้าวหน้า “โครงการอาสาจุฬาภรณ์” ซึ่งเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน พร้อมผู้นำชุมชนและผู้ที่สนใจด้านสุขภาพเพื่อสร้างชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืน

โดยมี รศ.นพ.ธีรภัทร อึ้งตระกูล รักษาการคณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน พร้อมด้วยผศ.นพ.วิสุทธิ์ ล้ำเลิศธน รักษาการรองคณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน และประธานโครงการอาสาจุฬาภรณ์ ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ กันตถาวร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ และผศ. ดร.วิริยะ มหิกุล อาจารย์ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน หัวหน้าโครงการวิจัยชุมชนอาสาจุฬาภรณ์ ร่วมกันรายงานความก้าวหน้าและเสนอมุมมองการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ของโครงการฯ

ในงานมีการเสวนา “เมืองสุขภาพดีสร้างได้” โดย นพ.กมล พรมลังกา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านหลวง จ.น่าน ตัวแทนอาสาจุฬาภรณ์ชุมชนเมืองและชุมชนชนบท และตัวแทนนักศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน และ การเสวนา “แนวทางการบูรณาการสหสาขาเพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบอาสาจุฬาภรณ์” โดย ดร.สีใส ยี่สุนแสง รองผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค นายดุสิต ศรีโคตร ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนการจัดหลักประกันสุขภาพ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ผศ.นพ.วิสุทธิ์ ล้ำเลิศธน อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด ผศ.ดร.วิริยะ มหิกุล อาจารย์ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ลอองดาว ทองนาค และผศ.ดร.กมลวรรณ แช่มช้อย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

พยาบาลศาสตร์จิตอาสาเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ : ปันรัก ปันน้ำใจให้น้อง

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คว้า 5 รางวัลประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ 

"อาสาจุฬาภรณ์" สร้างต้นแบบชุมชนเข้มแข็งด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

ภายในงานมีพิธีมอบเกียรติบัตรแก่อาสาจุฬาภรณ์ รวม 51 ราย และจัดกิจกรรมพัฒนาอาหารและโภชนาการ เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน กิจกรรมศิลปะคลายเครียด และกิจกรรมโยคะชุมชน โดยตัวแทนอาสาจุฬาภรณ์ด้วย

โครงการอาสาจุฬาภรณ์  ดำเนินงานภายใต้พระปณิธานของ ศ. ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานและนายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงมุ่งหวังให้ประชาชนทุกคน ได้รับการบริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียมและไม่เหลื่อมล้ำ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

“โครงการอาสาจุฬาภรณ์” ปี 67  มุ่งสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ดำเนินการโครงการอาสาจุฬาภรณ์มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 ถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างต้นแบบของชุมชนที่มีความเข้มแข็งด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยอาศัยหลักการ "สร้างคน สร้างเครื่องมือ และสร้างระบบ" เพื่อรองรับการบริการชุมชน ในขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของชุมชน ส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี บูรณาการไปพร้อมกับการวิจัยชุมชน นับเป็นโครงการที่ช่วยพัฒนาชุมชนจากฐานรากและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพของชุมชนให้มีความมั่นคงและมีคุณภาพอย่างยั่งยืน

พื้นที่ชุมชนเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนเมืองโดยรอบราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และชุมชนชนบท ที่อ.บ้านหลวง จ.น่าน ในโครงการมีเครือข่ายอาสาจุฬาภรณ์ จำนวน 363 คน มีการจัดกิจกรรมอบรมความรู้ด้านสุขภาพทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ การให้บริการด้านสุขภาพ การวิจัยชุมชนโดยที่ประชาชนมีส่วนร่วม พร้อมกับบูรณาการการเรียนการสอนให้นักศึกษา ได้มีโอกาสเข้าถึงและรับทราบปัญหาของประชาชนทั้งในเขตเมืองและชนบทมากยิ่งขึ้น

โครงการอาสาจุฬาภรณ์ มีการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ในการดูแลสุขภาพชุมชนให้กับอาสาจุฬาภรณ์อย่างต่อเนื่อง เช่น ทักษะการสัมภาษณ์ การเก็บข้อมูล พัฒนาความสามารถในเป็นผู้นำชุมชนในแต่ละด้าน ตามดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิต ทั้งทางกาย จิตใจ สัมพันธภาพ และสภาพแวดล้อม

“โครงการอาสาจุฬาภรณ์” ปี 67  มุ่งสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการอาสาจุฬาภรณ์ จนถึงปัจจุบัน นับว่ามีความก้าวหน้าและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี นับเป็นโครงการที่มีการบูรณาการสหสาขา สร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อการสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

“โครงการอาสาจุฬาภรณ์” ปี 67  มุ่งสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

“โครงการอาสาจุฬาภรณ์” ปี 67  มุ่งสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

“โครงการอาสาจุฬาภรณ์” ปี 67  มุ่งสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

“โครงการอาสาจุฬาภรณ์” ปี 67  มุ่งสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

“โครงการอาสาจุฬาภรณ์” ปี 67  มุ่งสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน