'โรคกระดูกและข้อ' ไม่แก่ก็ป่วย เพราะปัจจัยเสี่ยงมีมากกว่าเรื่องอายุ     

'โรคกระดูกและข้อ' ไม่แก่ก็ป่วย  เพราะปัจจัยเสี่ยงมีมากกว่าเรื่องอายุ     

ผู้ป่วย “โรคทางกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ” แนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการที่ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ แต่ใช่ว่าจะเป็นเพียงปัจจัย เพราะบางภาวะเพศหญิงเสี่ยงกว่าเพศชาย

KEY

POINTS

  • ภาวะกระดูกพรุน เพศชายจะเป็นน้อยกว่าเพศหญิง ด้วยฮอร์โมนเพศที่ผู้ชายจะมีตลอด แต่ผู้หญิงนั้นฮอร์โมนจะหายตอนหมดประจำตัว 
  • ผู้สูงอายุทุกคนจะเป็นภาวะกระดูกพรุน  ขึ้นอยู่กับ “ต้นทุนของแต่ละคน” แบ่งเป็น “ต้นทุนที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้”  และ “ต้นทุนที่สะสมมาจากช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน” 
  • “คนที่มีภาวะเนือยนิ่ง” ลักษณะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น ความแข็งของมวลกระดูกน้อยกว่ากลุ่มที่แบ่งเวลามาออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างชัดเจน

ผู้ป่วย “โรคทางกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ” แนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการที่ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ แต่ใช่ว่าจะเป็นเพียงปัจจัย เพราะบางภาวะเพศหญิงเสี่ยงกว่าเพศชาย บางโรคคนมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเสี่ยงกว่าคนเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งการจะลดความเสี่ยงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าต้อง “สะสมต้นทุนร่างกายเอาไว้” และเมื่อเจ็บป่วย “การดูแลแบบองค์รวม” ออกแบบรักษาและฟื้นฟูให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ลดโอกาสกลับเป็นซ้ำ  

โรคทางกระดูกและข้อที่เกิดขึ้นจากภาวะเสื่อมของร่างกาย ที่เจอบ่อย คือ “ข้อเสื่อม” เช่น กระดูกต้นคอเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม คนไข้จะมาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บ ขัดตามข้อในตำแหน่งต่างๆ นอกจากนี้ ยังเจอเรื่องของความแข็งแรงของกระดูกลดลง เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น โครงสร้างของกระดูกจะอ่อนแอไปตามกาลเวลา กระดูกจะบางลงเรื่อยๆจนถึงจุดที่บางมากๆ เรียกว่า “ภาวะกระดูกพรุน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

คนเป็นเบาหวาน กินนมยังไง ให้ไม่เสี่ยงกระดูกพรุน

ดูแล 'สูงวัย'เมื่อพลัดตกหกล้ม เรื่องไม่เล็กที่ต้องเฝ้าระวัง

กระดูกพรุนชายเป็นน้อยกว่าหญิง

ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อสะโพกและข้อเข่า รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ให้ข้อมูลว่า กระดูกพรุนทำให้เวลาเดินแล้วเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย จะทำให้กระดูกหัก ข้อสะโพกหัก ส่งผลให้ชีวิตเปลี่ยน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุอาจะต้องนอนติดเตียง ต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยเพศชายจะเป็นน้อยกว่าเพศหญิง ด้วยฮอร์โมนเพศที่ผู้ชายจะมีตลอดแต่ผู้หญิงนั้นฮอร์โมนจะหายตอนหมดประจำตัว ซึ่งฮอร์โมนเพศมีผลในการยับยั้งการสลายตัวของกระดูก ทั้งนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ จะทราบเมื่อเกิดอุบัติเหตุกระดูกหักแล้วตรวจเจอ เป็นเหมือนระเบิดเวลา

ตามคำแนะนำของสมาคมโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย จึงแนะนำการตรวจคัดกรองมวลกระดูก หากไม่มีโรคประจำตัว ในเพศหญิงควรตรวจมวลกระดูกตอนอายุ 65 ปีอย่างน้อยสัก 1 ครั้ง เพศชาย อายุ 70 ปี ส่วนคนที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคที่ใช้ยาสเตียรอยด์ คนที่มีฮอร์โมนเพศน้อยลง คนที่เข้ารับการผ่าตัดรังไข่ หรืออัณฑะก่อนวัยอันควร มีประวัติครอบครัวเสี่ยงกระดูกพรุนมาก หรือมีประวัติกระดูกหัก ควรตรวจก่อนอายุ 65 ปี หรือก่อน 70 ปี

\'โรคกระดูกและข้อ\' ไม่แก่ก็ป่วย  เพราะปัจจัยเสี่ยงมีมากกว่าเรื่องอายุ     

ต้องสะสมต้นทุน ลดโอกาสป่วย 

แต่ก็ใช่ว่าผู้สูงอายุทุกคนจะเป็นภาวะกระดูกพรุน ผศ.นพ.กุลพัชร บอกว่า ขึ้นอยู่กับ “ต้นทุนของแต่ละคน” แบ่งเป็น “ต้นทุนที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้” ซึ่งพันธุกรรมมีส่วน หากมีคนในครอบครัวสายตรงที่เป็นกระดูกพรุนจะมีความเสี่ยงมากขึ้นกว่าคนที่มีประวัติครอบครัวแข็งแรงดี และ “ต้นทุนที่สะสมมาจากช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน” จะช่วยลดโอกาสการเป็นกระดูกพรุนเมื่ออายุมากน้อยลง เช่น การออกกำลังกาย เล่นกีฬาเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดีอย่างเพียงพอ  

“แม้การออกกำลังกาย การทานอาหารมีแคลเซียม วิตามินดีอย่างเพียงพอควรต้องทำต่อเนื่องมากตั้งแต่เด็กจนไม่ว่าวัยไหนก็ทำได้หมด หากตอนนี้เราอยู่ในช่วงวัยรุ่น หรือวัยกลางคนแล้วเริ่มทำเลย ก็จะลดความเสี่ยงและโอกาสที่จะเป็นกระดูกพรุนตอนอายุมากก็จะน้อยลง ถือว่ายังทัน หรือแม้แต่กระดูกพรุนแล้วก็ยิ่งต้องทำ เพราะจะลดความเสี่ยงที่กระดูกจะพรุนมากกว่าเดิม”ผศ.นพ.กุลพัชร กล่าว 

คนเนือยนิ่งเสี่ยงเข่าเสื่อมมากที่สุด   

สำหรับในวัยทำงานหรือวัยกลางคน โดยปกติโครงสร้างกระดูกและข้อจะต้องไม่ค่อยเจอปัญหา แต่หากเริ่มมีอาการป่วยตั้งแต่อายุน้อยต้องมาพิจารณาว่าร่างกายมีปัจจัยเสี่ยง ที่กระตุ้นให้เจ็บเร็วหรือไม่ เช่น บางคนมีโรคประจำตัว ข้ออักเสบเก๊าซ์ โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน มีประวัติอุบัติเหตุรุนแรงหรือจากการกีฬา ฉะนั้น หากเริ่มมีอาการเจ็บ ขัด ตัวอย่าง ข้อเข่าเริ่มมีเสียง ลุกเดินเจ็บ ขึ้นลงบันไดลำบาก และเป็นเรื้อรังหลายเดือนไม่ดีขั้น ควรต้องเข้ารับการตรวจในรายละเอียด เพื่อให้ทราบถึงจุดที่ผิดปกติ 

อย่างไรก็ตาม วัยทำงานมีปัจจัยเสี่ยงที่เรียกว่า “ภาวะเนือยนิ่ง” ไม่ค่อยactive ส่วนใหญ่นั่งทำงานในออฟฟิศ กลับบ้านนั่งดูจอ ไม่ค่อยมีเวลาเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อแข็งแรงหรือไม่ได้ออกกำลังกาย เป็นความน่ากังวล เนื่องจากมีการศึกษาชัดเจนว่า

“คนที่มีภาวะเนือยนิ่ง” ลักษณะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น ความแข็งของมวลกระดูกน้อยกว่ากลุ่มที่แบ่งเวลามาออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างชัดเจน ทำให้มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะบาดเจ็บง่าย กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบง่าย น้ำหนักตัวจะมากมีโอกาสทำให้บาดเจ็บข้อต่อต่างๆ

รวมถึง เกิดการอักเสบเรื้อรังของกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ที่เรียกว่า “ออฟฟิศซินโดรม” และวัยทำงานมีปัญหาเรื่องหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมทับเส้นประสาทได้ หรือหมอนรองกระดูกสันหลังอักเสบ จากลักษณะงานที่ต้องใช้กำลังมาก ยกของหนัก

“จากการติดตามคน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่มีภาวะเนือยนิ่ง ไม่วิ่งเลย กลุ่มที่วิ่งในระดับออกกำลังกายทั่วไป และกลุ่มที่วิ่งอาชีพ นักกีฬาวิ่ง วิ่งไม่เกิน 92 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ จนถึงตอนมีอายุมากเพื่อดูว่ามีคนเป็นข้อเข่าเสื่อมกี่เปอร์เซ็นต์ พบว่า กลุ่มที่วิ่งแบบออกกำลังกายทั่วไป วิ่งไม่เกิน 92 กิโลเมตรต่อสัปดาห์จะเจอน้อยที่สุดเพียง 3.5 %  ส่วนกลุ่มที่วิ่งอาชีพหรือวิ่งมากกว่า 92 กิโลเมตรต่อสัปดาห์จะมีความเสี่ยงมากที่สุดอยู่ที่ 13.1 % แต่กลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายจะมีความเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม 10.2 % ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่วิ่งแบบออกกำลังกายทั่วไป”ผศ.นพ.กุลพัชร กล่าว

ต้องดูแลแบบองค์รวม 

ขณะที่ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและผู้อำนวยการศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ(PRINCE OF BONES)  กล่าวว่า ปัจจุบันคนไม่ได้มองเพียงรักษาได้ แต่ต้องการการดูแลรักษาที่ครบวงจรและเบ็ดเสร็จ ซึ่ง ณ PRINCE OF BONES รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ขอให้นิยามว่า “ครบ” โดยครอบคลุมตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยรักษา เทคโนโลยีอุปกรณ์การผ่าตัด ทีมแพทย์ และการกายภาพบำบัดเป็นแบบองค์รวม ครบ เบ็ดเสร็จ ทั้งขั้นตอนการรักษาและผู้รักษา

ตัวอย่างเช่น ข้อเท้าพลิก ดูแลด้วยการพักใช้งานกับการมากายภาพบำบัดหรือใช้เครื่องมือต่างๆ แทนที่จะพัก 5-7 วันทำงานไม่ได้ กลายเป็นพัก 2-3 วันแล้วกลับสู่การทำสิ่งต่างๆได้เร็วขึ้น หรือ ตีเทนนิสแล้วเจ็บข้อศอก อาจจะพักกินยาแก้ปวด แต่ในรายละเอียดของการรักษา จะไม่ใช่แค่กินยาแก้ปวด ต้องมองหาถึงจุดตั้งต้น สาเหตุของอาการ นำมาสู่การรักษา และแนวทางป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

“การที่คนไทยสามารถเลือกเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อได้ จะไม่ใช่แค่ยาแก้ปวด แต่ทำให้รู้ถึงต้นเหตุ การวางแผนการดูแลรักษาในระยะยาว การจัดการปัญหาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เพราะการแก้ที่ปลายเหตุไม่พอ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ”นพ.ปรัชญ์ กล่าว 

ทั้งนี้ ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ(PRINCE OF BONES) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีแพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อเกี่ยวกับออโธปิดิกส์ทั่วไป อุบัติเหตุ ข้อสะโพกและข้อเข่า มือ กระดูกสันหลัง เท้าและข้อเท้า และเวชศาสตร์การกีฬา

อีกทั้ง มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลภาครัฐใกล้เคียง ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วย แบ่งเบาภาระของภาครัฐ ในราคาที่เหมาะสมโดยไม่ต้องรอคิวนาน ออกแบบการรักษาและฟื้นฟูแบบองค์รวมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ผู้ป่วยมีผลลัพธ์การรักษาที่ดีและได้มาตรฐาน