วัยรุ่นมี 'Sex ต้อง Safe' หยุดเอดส์รายใหม่ได้

วัยรุ่นมี 'Sex ต้อง Safe'  หยุดเอดส์รายใหม่ได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่า "การมีเซ็กส์“กับการใช้ชีวิตต้องไปด้วยกัน ถึงกับมีคำกล่าวว่า ”เซ็กส์"ไม่ต่างจากข้าวที่ถึงเวลาหิวก็ต้องได้กิน

KEY

POINTS

  • AHF เชื่อว่าถ้าเราเปิดรับและช่วยกันส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้อง ทุกคนสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยุติเอดส์ได้
  • ประเทศไทยได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ ปี 2560 – 2573 มีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา
  • ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาเอชไอวีให้หายขาด แต่ก็มีวิธีการรักษาเพื่อให้ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีมีสุขภาพที่ดีและมีชีวิตยืนยาวเหมือนคนทั่วไปได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่า "การมีเซ็กส์“กับการใช้ชีวิตต้องไปด้วยกัน ถึงกับมีคำกล่าวว่า ”เซ็กส์"ไม่ต่างจากข้าวที่ถึงเวลาหิวก็ต้องได้กิน และอาจจะเป็นสาเหตุของการมีชีวิตคู่ราบรื่นหรืออับปางไปเลยก็ได้ คำกล่าวที่ว่าไปกันไม่ได้ของสามี-ภรรยาที่หย่าร้างบางครั้งมาจากเรื่องบนเตียงที่ไม่สามารถพูดออกมาได้ในที่สาธารณะ และเป็นสิ่งที่อยากรู้อยากรู้ของกลุ่มคนที่เริ่มมีฮอร์โมนพลุ่งพล่านอย่างพวกเขา"วัยรุ่น

ไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่การมี “เซ็กส์”ที่ปลอดภัยต่างหากคือสิ่งที่ควรต้องคำนึง เพราะตัวเลขสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยเมื่อปี 2565 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 9,230 คน/ปี อายุต่ำกว่า 15 ปี 54 คน ผู้ใหญ่ 9,176 คน เฉลี่ยเยาวชนอายุ 15-24 ปี 4,379 คน อัตราถ่ายทอดเชื้อ เอชไอวีจากแม่สู่ลูก 1.96 % เสียชีวิตจากเอดส์ 10,9728 คน/ปี เด็กต่ำกว่า 15ปี 81 คน ผู้ใหญ่10,891คนเฉลี่ยเยาวชน 15-24 ปี 237 คน ผู้ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี 561,578คน เด็กต่ำกว่า 15 ปี 1,678 คน ผู้ใหญ่ 559,891 คน เยาวชนอายุ 15-24 ปี 25,643 คน ทัศนคติเชิงลบต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี 26.7 %

ขณะที่ปี 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 9,083 คน/ปี อายุต่ำกว่า 15 ปี 51 คน ผู้ใหญ่ 9,032 คน เฉลี่ยเยาวชนอายุ 15-24 ปี 4,236 คน อัตราถ่ายทอดเชื้อ เอชไอวีจากแม่สู่ลูก 1.72 % เสียชีวิตจากเอดส์ 12,072  คน/ปี เด็กต่ำกว่า 15 ปี 86 คน ผู้ใหญ่11,986 คนเฉลี่ยเยาวชน 15-24 ปี 257 คน ผู้ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี 576,397 คน เด็กต่ำกว่า 15 ปี 1,868  คน ผู้ใหญ่ 574,529 คน เยาวชนอายุ 15-24 ปี 27,000 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

‘เอชไอวี’ แนวโน้มติดเชื้อใหม่สูงขึ้น ปี 73 คาดเป็นกลุ่มเยาวชนกว่า 14%

ทัศนคติเชิงลบต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี 27.9 %  

เมื่อเร็วๆนี้ มูลนิธิ เอดส์ เฮลท์ แคร์ ประเทศไทย หรือ AIDS Healthcare Foundation (Thailand) (AFH) ร่วมกับ Impulse Bangkok และโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จัดกิจกรรมวันเอดส์โลก ประจำปี 2024 ภายใต้แนวคิด “Sex ต้อง Safe (เซฟแบบไหนให้ปลอดภัย ห่างไกลโรค)” เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เสริมสร้างค่านิยมให้คนรุ่นใหม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์และเพศศึกษาอย่างถูกต้อง พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยุติเอดส์

AFH จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2555 โดยปี 2557 ริเริ่มให้แรงงานข้ามชาติ ได้เข้าถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี ปี 2558 ได้ขยายขอบเขตการทำงานไปยังกลุ่ม ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย คนข้ามเพศ พนักงานบริการ ตลอดจนผู้ต้องขัง ไปยังจังหวัดต่างๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร เช่น นนทบุรี ราชบุรี ชลบุรี ตาก สมุทรสาคร สมุทรปราการ และระนอง โดยอาศัยความร่วมมือกับภาคีทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม

วัยรุ่นมี \'Sex ต้อง Safe\'  หยุดเอดส์รายใหม่ได้

8 จังหวัดติดเชื้อรายใหม่เกินครึ่ง

สำหรับการติดเชื้อรายใหม่ร้อยละ 50 ของประเทศไทยจะอยู่พื้นที่ 8 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นนทบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น ปทุมธานี สมุทรปราการ และนครราชสีมา “กฤษสยาม อารยวงค์ไชย” ผู้อำนวยการมูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ (ประเทศไทย)

 เปิดเผยว่า แม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่และผู้เสียชีวิตจากเอดส์ลดลง แต่จากข้อมูลปี 2566 รายงานว่า พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ทั้งหมด 9,083 ราย ซึ่งเป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี สูงถึง 4,236 ราย คิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ของ ผู้ติดเชื้อรายใหม่จึงถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง 

“นี่คือเหตุผลที่ AHF ประเทศไทยเชื่อว่าการสร้างความรู้ความเข้าใจ ควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเอชไอวีเอดส์ วิธีการป้องกันการติดเชื้อ การมีความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ การตรวจหาการติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ความสำคัญของการเข้าสู่ระบบการรักษา การไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติ และการเคารพสิทธิและความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน AHF เชื่อว่าถ้าเราเปิดรับและช่วยกันส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้อง ทุกคนสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยุติเอดส์ได้”

3เป้าหมายยุติเอดส์ในประเทศไทย

ทั้งนี้ประเทศไทยได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ ปี 2560 – 2573 มีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา โดยมีเป้าหมายลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ไม่ให้เกิน 1,000 คนต่อปี ลดการเสียชีวิตจากเอดส์ไม่เกิน 4,000 รายต่อปี และลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวี และเพศภาวะลง เหลือไม่เกินร้อยละ 10

 ในฐานะที่ทำงานที่มุ่งเน้นป้องกันการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่งเสริมการเข้าถึงการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในประชากรทุกกลุ่ม "กฤษสยาม"ฉายภาพว่า การติดเชื้อรายใหม่ 96 % เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน 67 % เพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย 20 % คู่ผลเลือดต่าง(คู่อยู่กัน/คู่ประจำ) 8 % คู่นอนชั่วคราวและนอกสมรส 1 % เพศสัมพันธ์จากการซื้อขายบริการ และติดเชื้อจากการฉีดสารเสพติดที่ไม่ปลอดภัย 4 % 

ใช้ถุงป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์

เขามองว่าดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ที่ง่ายและปลอดภัยด้วยการใช้ถุงยางอนามัย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ จะต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักก็ตาม การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ที่สำคัญจะต้องทำให้สังคมไทยตระหนักถึงการสื่อสารประเด็นการมีเซ็กส์ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะกลุ่ม“วัยรุ่น”ให้มากขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นใน ครอบครัว โรงเรียน เพื่อให้เห็นภาพที่ตรงกันและนำไปสู่การยุติปัญหาเอดส์ให้ได้ใน 2573

ทั้งนี้ การทำให้เอดส์ให้หมดไปจากสังคมไทยเป็นเป้าหมายที่ต้องไปให้ถึง  สิ่งแรกที่ WHF พยายามสื่อสารคือให้ทุกคนตระหนักการมีเซ็กส์ที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันผู้ติดเชื้อรายใหม่ ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ติดเชื้อได้รับการตรวจคดกรอง นำไปสู่การรักษา ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านประมาณ 1-3   เดือนก็สา่มารถกดเชื้อและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกันคนปกติ ได้หรือติดเชื้อก็สามารถป้องกันได้ด้วยยา 

วิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาเอชไอวีให้หายขาด แต่ก็มีวิธีการรักษาเพื่อให้ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีมีสุขภาพที่ดีและมีชีวิตยืนยาวเหมือนคนทั่วไปได้ อย่างไรก็ดี มีวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ

วิธีการต่าง ๆ ต่อไปนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี:

  • การใช้ถุงยางอนามัย

เมื่อมีเพศสัมพันธ์ จะต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักก็ตาม การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

  • การใช้เข็มสะอาด

ทุกครั้งที่จะใช้ยาเสพติดด้วยการฉีด จะต้องใช้เข็มใหม่ที่สะอาดทุกครั้ง

  • การสอบถามประวัติการมีเพศสัมพันธ์ที่ผ่านมา

การทราบถึงสถานะการมีเชื้อเอชไอวีของคู่ของคุณจะช่วยทำให้คุณสามารถหาวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย ทั้งนี้ ยังมีผู้มีเชื้อเอชไอวีอีกเป็นจำนวนมากในประเทศไทยที่ยังไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้อเอชไอวี ดังนั้นคุณจึงควรที่จะชวนคู่ของคุณไปตรวจเอชไอวีพร้อมกัน

  • การมีเพศสัมพันธ์ในขณะมึนเมา

ในระหว่างการดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ หรือการใช้สารเสพติด อาจเป็นการยากที่คุณจะมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยหรือใช้ถุงยางอนามัยได้อย่างถูกต้อง หากคุณคิดว่าคุณอาจจะต้องดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ หรือใช้สารเสพติด แต่ก็ยังอยากมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย คุณสามารถขอคำปรึกษาจากเราได้

  • การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน หนองในเทียม หรือซิฟิลิส จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงมากขึ้นในการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการที่ปรากฏเด่นชัด

  • การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์หรือการมีคู่เพศสัมพันธ์น้อยราย

การมีคู่เพศสัมพันธ์น้อยรายจะช่วยลดความเสี่ยงในการรับเชื้อเอชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

สิทธิ30บาทตรวจฟรีปีละ2ครั้ง

ปัจจุบัน ชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพ ในผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจหาเชื้อฟรีปีละ 2 ครั้ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาให้ยาต้านไวรัส และยาป้องกันในกลุ่มเสี่ยง PrEP จำนวน 7,000 คน ส่วนยา PEP ให้ครอบคลุมกับทุกคน ที่มีข้อบ่งชี้

โดยปี 2567 สปสช. ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 3,500 ล้านบาท ดูแลเรื่องเอดส์ และงบที่ใช้เป็นยาต้านไวรัส จ่ายให้กับ ผู้ติดเชื้อในระบบ 250,000 คน และอีก 200 ล้านบาท ให้กับภาคประชาชน ในการรณรงค์ป้องกันการติดเชื้อ และเตรียมนำ safe test ชุดตรวจหาเชื้อเอชไอวีมาใช้ เพื่อให้ประตูการเข้าถึงบริการการรักษาง่ายขึ้น คนรู้ตัวว่าติดเชื้อเร็ว รับยาต้านไวรัสเร็วขึ้น