'Protection Beyond Flu' การป้องกันที่มากกว่าไข้หวัดใหญ่

'Protection Beyond Flu' การป้องกันที่มากกว่าไข้หวัดใหญ่

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 คนจากทั่วโลกและภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าร่วมสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ระดับภูมิภาคเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่

KEY

POINTS

  • เผยผลการศึกษา การป้องกันด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในผู้สูงอายุได้ถึง 48.9% และลดการนอนโรงพยาบาล 64.4%
  • 8 จาก 10 รายของผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่คือผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้สูงอายุเสี่ยงป่วยหนักจากไข้หวัดใหญ่มากกว่าคนวัยทำงานถึง 10 เท่า

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 คนจากทั่วโลกและภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าร่วมสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ระดับภูมิภาคเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ พร้อมแนะนำการดูแลป้องกันผู้สูงอายุจากไข้หวัดใหญ่  Protection Beyond Flu "การป้องกันที่มากกว่าไข้หวัดใหญ่"

ในการประชุมได้นำเสนอข้อมูลสำคัญในหลายประเด็น ได้แก่ ภาระโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยที่มีโรคร่วม ผลกระทบของไข้หวัดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลยุทธ์การเพิ่มอัตราการรับวัคซีนในประเทศ และวิธีการประเมินวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ดีขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าได้เลือกตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพ การอภิปรายเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการรับมือกับไข้หวัดใหญ่โดยการให้การป้องกันที่มากขึ้นเพื่อลดภาระโรคและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

ไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่เพียงแค่หวัดธรรมดา แต่สามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบอวัยวะสำคัญและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดบวม หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่อาการรุนแรงประมาณ 3-5 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนรุนแรงประมาณ 290,000 - 650,000 ราย

สำหรับประเทศไทย ตามข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 603,000 ราย เพิ่มขึ้น 25% จากปี 2566 ที่มีผู้ป่วย 484,000 ราย และมีผู้เสียชีวิต 47 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'ไข้หวัดใหญ่' ป่วยสูงขึ้น 1.5 เท่า 2 กลุ่มอายุอัตราป่วยสูงสุด

สงสัยหรือไม่!! ฉีดวัคซีนป้องกันแล้ว ทำไม? ยังเป็น 'ไข้หวัดใหญ่'

สูงอายุป่วยไข้หวัดใหญ่เสี่ยงสูงกว่าวัยทำงาน 10 เท่า

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่สูงกว่าวัยทำงานถึง 10 เท่า ในขณะที่ 8 จาก 10 รายของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดใหญ่พบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี

ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และรักษาการหัวหน้าฝ่ายบริการและวิจัยคลินิก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ได้ร่วมการอภิปรายในเวทีและแบ่งปันความก้าวหน้าของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ในประเทศไทย ความตระหนักถึงภัยของไข้หวัดใหญ่และภาระโรคได้เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ

โดยภาครัฐได้ริเริ่มโครงการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้แก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 เริ่มจากปีละ 1-2 ล้านโดสแก่ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านโดสต่อปี เมื่อรวมกับ 3 ล้านโดสจากตลาดภาคเอกชน อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน (VCR) จะอยู่ที่ 12% ของประชากร และ 30% ของประชากรผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าสูงในภูมิภาคของเรา แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลกที่อยู่ที่ 75% สำหรับกลุ่มเปราะบาง ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการรับวัคซีนเป็น 12 ล้านโดสในปีต่อๆ ไป เพื่อปกป้องประชากรกลุ่มเปราะบางได้ดียิ่งขึ้น

\'Protection Beyond Flu\' การป้องกันที่มากกว่าไข้หวัดใหญ่

อัตราการเข้ารับวัคซีนในผู้สูงอายุลดลงเรื่อยๆ

ผลกระทบที่แท้จริงของไข้หวัดใหญ่มักถูกประเมินต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการรายงานที่ต่ำกว่าความเป็นจริงและภาระจากภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดใหญ่ มีการประมาณการว่าภาระทางเศรษฐกิจระดับชาติจากไข้หวัดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 3.04 พันล้านบาทต่อปี โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการรักษาแบบผู้ป่วยนอกอยู่ที่ 7,632 บาท ในขณะที่ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในเฉลี่ยอยู่ที่ 178,000 บาท เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญกับการป้องกันผู้สูงอายุเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ

Dr George Kassianos ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันจากสหราชอาณาจักร เน้นย้ำถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุว่า แม้ว่าอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน (VCR) จะมีความสำคัญ แต่เมื่อเร็วๆ นี้เราสังเกตว่าอัตราการเข้ารับวัคซีนในผู้สูงอายุลดลงเรื่อยๆ ปัจจัยสำคัญเกิดจากความลังเลในการรับวัคซีน ความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง ความสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน และการขาดข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่และภาวะ แทรกซ้อน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ประชากรผู้สูงอายุและผู้ดูแล เกี่ยวกับความสำคัญของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับการป้องกัน

\'Protection Beyond Flu\' การป้องกันที่มากกว่าไข้หวัดใหญ่

เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการนำเสนอวิธีการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ผู้สูงอายุ การพัฒนาคุณภาพการออกแบบการทดลองทางคลินิกและยกระดับมาตรฐานหลักฐานทางการแพทย์ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเน้นการสร้างหลักฐานจากระเบียบวิธีการศึกษาที่มีคุณภาพสูง รวมถึงการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCTs) ร่วมกับหลักฐานจากการใช้งานจริง

"ในการวัดประสิทธิผลของวัคซีน สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาผลลัพธ์ทางคลินิกด้วยระเบียบวิธีที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วยการผสมผสานการสุ่มเข้ากับหลักฐานจากการใช้งานจริง จากการศึกษา ผมได้สุ่มพลเมืองเดนมาร์คอายุ 65 – 79 ปีที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูงช่วยลดความรุนแรงถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคปอดอักเสบได้ถึง 64.4% และช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในผู้สูงอายุได้ถึง 48.9% เมื่อเทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน ในสถานการณ์จริง" กล่าวโดย Prof. Tor Bering-Sorensen หัวหน้าการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูงในผู้สูงอายุในประเทศเดนมาร์คมาหลายปี

\'Protection Beyond Flu\' การป้องกันที่มากกว่าไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ สามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบอวัยวะสำคัญและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง อาทิ เพิ่มความเสี่ยง 10 เท่า ในการเกิดโรคหัวใจ, 8 เท่า ในการเกิดหลอดเลือดสมอง หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานถึง 75% จึงควรป้องกันผู้สูงวัย ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมตามช่วงวัย ซึ่งนอกจากจะป้องกันจากไข้หวัดใหญ่แล้วยังสามารถลดความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อนได้ด้วย ซึ่งหมายถึง Protection Beyond Flu  

\'Protection Beyond Flu\' การป้องกันที่มากกว่าไข้หวัดใหญ่