โครงการ Together Against RSV ป้องกันเด็กไทยติดเชื้อ RSV

โครงการ Together Against RSV ป้องกันเด็กไทยติดเชื้อ RSV

โรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอาร์เอสวี (RSV) ถือเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข โดยเฉพาะในทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดได้ง่าย

KEY

POINTS

  • โรค RSV เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในทารกและเด็กเล็ก และเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีมีอัตราเสี่ยงเสียชีวิตสูง
  • "Together Against RSV"โรงพยาบาลสมิติเวชร่วมมือกับซาโนฟี่ ป้องกัน

โรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอาร์เอสวี (RSV) ถือเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข โดยเฉพาะในทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดได้ง่าย และมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา

ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้ออาร์เอสวีมักมีอาการไข้ ไอ น้ำมูกไหล และเจ็บคอ ซึ่งอาการดังกล่าวจะปรากฏภายในระยะเวลา 4-6 วันหลังได้รับเชื้อ อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้ออาร์เอสวีมีความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดทั่วไป เนื่องจากสามารถลุกลามจนกลายเป็นโรคติดเชื้อในปอดที่รุนแรง ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดลมฝอย (bronchiolitis) และปอดอักเสบ (pneumonia) ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ติดเชื้ออาร์เอสวีสูงถึง 33.8 ล้านราย และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 160,000 ราย โดยร้อยละ 90 ของทารกและเด็กเล็กจะติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีภายในอายุ 2 ปี แม้ว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย แต่ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี โดยเฉพาะกลุ่มที่คลอดก่อนกำหนด หรือแม้แต่ทารกที่เกิดมาครบกำหนดและแข็งแรงดี ก็ยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อรุนแรง ซึ่งอาจต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เชื้อไวรัส RSV เริ่มระบาด ภัยร้ายคล้ายโควิด-19 เช็กอาการ-กลุ่มเสี่ยงสูง

ผนึกความร่วมมือป้องกันการติดเชื้ออาร์เอสวี

พญ.สุรางคณา เตชะไพฑูรย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวชและโรงพยาบาลบีเอ็นเอช และผู้อำนวยการโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล เครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล มุ่งมั่นในการให้บริการดูแลสุขภาพเด็กแบบครบวงจร โดยผสานเทคโนโลยีอันทันสมัยของ Smart Hospital เข้ากับความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมให้เด็กทุกคนมีพัฒนาการที่แข็งแรงและมีสุขภาพดีตั้งแต่แรกเกิด

เนื่องในโอกาสเปิดอาคารโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล ทางโรงพยาบาลได้ร่วมมือกับบริษัทซาโนฟี่ ในการเปิดตัวโครงการรณรงค์ "Together Against RSV" พร้อมทั้งเปิด ศูนย์วินิจฉัย รักษา และป้องกันการโรคติดเชื้อ RSV ซึ่งอักเสบ ถือเป็นสถานพยาบาลแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้บริการ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป สำหรับป้องกันการติดเชื้อ RSV ในทารก

โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการนี้ เป้าหมายของเราเป็นเด็กทารกแรกเกิดจนถึง 1 ปี   ทั้งนี้ ในอนาคต ทางโรงพยาบาลมุ่งหวังว่ายาดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้กับประชากรในทุกช่วงวัยได้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ RSV อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการ Together Against RSV ป้องกันเด็กไทยติดเชื้อ RSV

โครงการ Together Against RSV ป้องกันเด็กไทยติดเชื้อ RSV

รณรงค์สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาร์เอสวี

โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล คาดหวังว่าภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป Nirsevimab (เนอร์ซีวิแมบ) จะมีบทบาทสำคัญในการลดอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้ออาร์เอสวี รวมถึงช่วยลดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบและปอดบวม อันจะส่งผลให้เด็กไทยมีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยจากโรคดังกล่าว

เซนัป ซาดัท (Zainab Sadat) ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจวัคซีน บริษัทซาโนฟี่ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย กล่าวถึงความสำคัญของโครงการรณรงค์ ‘Together Against RSV’ ว่าซาโนฟี่มีความภาคภูมิใจที่ได้ริเริ่มแคมเปญนี้ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีความยินดีที่ได้เห็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาคมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การร่วมกันรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้ออาร์เอสวี ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทารก เราหวังว่าความร่วมมือครั้งนี้จะนำไปสู่การปกป้องสุขภาพของทารกไทยทุกคน และสอดคล้องกับพันธกิจของเราที่มุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

โครงการ Together Against RSV ป้องกันเด็กไทยติดเชื้อ RSV

วิจัยและพัฒนาตัวยา 2 ชนิดป้องกันเชื้อ RSV

นพ.เซซาร์ มากาเรนัส (Dr. Cesar Mascarenhas) ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ กลุ่มธุรกิจวัคซีน บริษัทซาโนฟี่ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาตัวยาและวัคซีนสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของนวัตกรรมทางการแพทย์ในการช่วยลดภาระโรคและปกป้องสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยง

ปัจจุบัน กำลังดำเนินการวิจัยและพัฒนาตัวยา 2 ชนิด ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการทดลองทางคลินิก โดยมุ่งเน้นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส RSV อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 

  1. ตัวยาชนิดแรกเป็นวัคซีนที่พัฒนาขึ้นสำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังคงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 (Phase 3) ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะสามารถนำวัคซีนออกสู่ตลาดได้ หากผลการทดลองเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานและได้รับการรับรองจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านสาธารณสุข
  2. ตัวยาชนิดที่สอง ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ RSV และอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคหัวใจ ขณะนี้ตัวยาดังกล่าวอยู่ในระหว่างการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 (Phase 1) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาในมนุษย์

“บริษัทซาโนฟี่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูงและผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวด โดยมุ่งหวังให้ตัวยาและวัคซีนดังกล่าวสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบสาธารณสุข และลดภาระของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในประชากรกลุ่มเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญ"

การพัฒนาตัวยาและวัคซีนเหล่านี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส RSV โดยการป้องกันล่วงหน้าผ่านการสร้างภูมิคุ้มกันในกลุ่มเสี่ยง จะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรง ลดการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งซาโนฟี่มีความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการนำเสนอโซลูชันด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงได้ เพื่อปกป้องชีวิตของประชากรทั่วโลก

โครงการ Together Against RSV ป้องกันเด็กไทยติดเชื้อ RSV

แนวทางการป้องกันและภูมิคุ้ม

ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้ความรู้และการป้องกันโรคติดเชื้ออาร์เอสวีตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยระบุว่าโรคติดเชื้อ RSVเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ภาระของโรคนี้รุนแรงทั้งในแง่ของผลกระทบต่อสุขภาพและค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต หรือก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในอนาคต

ปัจจุบัน มีแนวทางการป้องกันโรคอาร์เอสวีที่พัฒนาแล้ว 2 วิธี ได้แก่

  1. การให้วัคซีนในมารดาขณะตั้งครรภ์ เพื่อถ่ายทอดภูมิคุ้มกันไปยังทารกแรกเกิด
  2. การให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Nirsevimab) แก่ทารก โดยสามารถให้ในทารกแข็งแรงดีที่อายุต่ำกว่า 8 เดือนทุกคน และอาจพิจารณาให้ในทารกอายุ 8-12 เดือน ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยง

ด้านศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่าเชื้อไวรัส Respiratory Syncytial Virus (RSV) เป็นสาเหตุสำคัญของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในทารกและเด็กที่มีโรคประจำตัว ฤดูกาลระบาดของเชื้อ RSV ในประเทศไทยมักเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กเล็กมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ RSV และลดอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรง

ทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกแนวทางการให้ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป Nirsevimab ซึ่งเป็นแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบให้เพียง โดสเดียว สามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพตลอดฤดูกาลระบาด ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป Nirsevimab สามารถให้แก่ทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด รวมถึงทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยสามารถให้ควบคู่กับวัคซีนพื้นฐานชนิดอื่น ๆ ได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรค RSV ในทารกและเด็กเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ

 

รศ.นพ.สรายุทธ สุภาพรรณชาติ ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ได้กล่าวปิดท้ายเกี่ยวกับการติดเชื้ออาร์เอสวีว่าการติดเชื้ออาร์เอสวีเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อสุขภาพของทารกและเด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงฤดูระบาด การตระหนักรู้และป้องกันโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดภาระโรคและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการรณรงค์ให้ความรู้ และส่งเสริมให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงให้แก่เด็กไทยในอนาคต

โครงการ Together Against RSV ป้องกันเด็กไทยติดเชื้อ RSV