เที่ยว“วัดปทุมคงคา”ไหว้พระพุทธมหาชนก แวะดูแท่นสำเร็จโทษโบราณ

เที่ยว“วัดปทุมคงคา”ไหว้พระพุทธมหาชนก  แวะดูแท่นสำเร็จโทษโบราณ

ชวนไปเที่ยว"วัดปทุมคงคา"ไหว้พระพุทธมหาชนก ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ มีความงดงามมาก รวมถึงดู"แท่นสำเร็จโทษ"หรือแท่นประหารที่ยังหลงเหลืออยู่

สำหรับคนที่ชื่นชมกับความงามของวัดวาอารามสมัยอยุธยา วัดสำเพ็ง หรือวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร บนถนนทรงวาด ติดถนนสำเพ็ง เขตสัมพันธวงศ์ เป็นอีกวัดที่น่าไปเที่ยว 

ชวนไปกราบสักการะพระพุทธมหาชนก เพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิต...

ก่อนจะเล่าถึงประวัติความเป็นมาวัดวาอาราม และความงามของพระพุทธรูป...ขอเล่าถึงสถานที่ประหารชีวิตของคนในสมัยโบราณในวัดแห่งนี้สักนิด

แท่นหินสำเร็จโทษในวัดปทุมคงคา

แท่นสำเร็จโทษ หรือแท่นหินรองทุบหัวด้วยท่อนจันทน์ประหารผู้กระทำผิด มีมาก่อนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ในอดีตวัดแห่งนี้เป็นสถานที่ประหารนักโทษชั้นเจ้านาย ถ้าเป็นนักโทษธรรมดาจะประหารที่วัดพลับพลาชัย

ตามประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า  การสำเร็จโทษด้วยวิธีนี้ครั้งสุดท้ายกับสมาชิกราชวงศ์ ในปีพ.ศ. 2391 เจ้านายองค์สุดท้ายที่ถูกประหารคือ หม่อมไกรสร พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 และเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ด้วยข้อหาทำความเสื่อมเสียให้ราชวงศ์ ประพฤติพระองค์ในทาง "เล่นเพื่อน" ในสมัยของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 

โดยก่อนหน้านี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระษัตรี (พ.ศ. 2338 - พ.ศ. 2359) พระราชธิดาพระองค์ที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานวม ถูกสำเร็จโทษตอนพระชันษา 22  ปี

เที่ยว“วัดปทุมคงคา”ไหว้พระพุทธมหาชนก  แวะดูแท่นสำเร็จโทษโบราณ

เที่ยว“วัดปทุมคงคา”ไหว้พระพุทธมหาชนก  แวะดูแท่นสำเร็จโทษโบราณ การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ยกเลิกอย่างเป็นทางการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 นับตั้งแต่มีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ในรัชกาลต่อมา ซึ่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้การประหารชีวิตบุคคลทุกชนชั้นโดยการตัดศีรษะ

ปัจจุบันแท่นหินสำเร็จโทษ จึงเก็บรักษาอยู่ที่ศาลกรมหลวงรักษรณเรศร ภายในบริเวณวัด มีขนาดกว้าง 48 นิ้ว ยาว 60 นิ้ว หนาประมาณ 12 นิ้ว

พระพุทธมหาชนก ทรงเครื่องแบบกษัตริย์

ส่วนเรื่องราวการสร้างวัดปทุมคงคา ในช่วงรัชกาลที่ 1 ช่วงนั้นมีพระราชประสงค์จะสร้างพระนคร จึงโปรดฯให้ชาวจีนย้ายไปอยู่ท้องที่วัดสำเพ็ง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา

เมื่อวัดทรุดโทรมมากแล้ว กรมพระราชวังบวรสุรมหาสิงหนาท ทรงเป็นผู้ปฏิสังขรณ์ และเมื่อสร้างเสร็จรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดปทุมคงคา”

กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาสวัสดิวารีบูรณปฏิสังขรณ์ต่อ แต่ยังไม่ทันเสร็จถึงแก่อนิจกรรม

เที่ยว“วัดปทุมคงคา”ไหว้พระพุทธมหาชนก  แวะดูแท่นสำเร็จโทษโบราณ
จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพิศาลศุภผล ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดและพระพุทธรูปในพระอุโบสถ 

 พระพุทธมหาชนก พระประธานในพระอุโบสถ เดิมเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ เสริมฐานพระประธานให้สูงขึ้น ต่อฐานชุกชีทำรูปเทวราช ถือพุ่มฉัตรดอกไม้ทองสองข้าง จึงต่างจากพระพุทธรูปทั่วไปที่ห่มจีวร

ภายในพระอุโบสถวัดปทุมคงคา ประดับประดาด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังยุคต้นรัตนโกสินทร์ สังเกตได้จากภาพเทพชุมนุมบนฝาผนังสองด้าน อันเป็นเอกลักษณ์ช่วงรัชกาลที่ 1-3

เที่ยว“วัดปทุมคงคา”ไหว้พระพุทธมหาชนก  แวะดูแท่นสำเร็จโทษโบราณ

นอกจากนี้วัดแห่งนี้ยังมีห้องพระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา หลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่ภายในวิหาร 

รวมทั้งเป็นสถานที่สำคัญบรรจุอัฐิของดร.ป่วย อึ๊งภากรณ์ ที่บริเวณวิหารคดของวัด เนื่องจากท่านผูกพันกับวัดนี้และอัฐยายและแม่ท่าน ก็ฝังอยู่ใต้ฐานพระปฏิมาในวิหารคดเช่นกัน 

วัดปทุมคงคา อยู่บนถนนบรรทัดทอง เขตสัมพันธวงศ์ เปิดทุกวันเวลา 05.00-21.00 น.(ยกเว้นวันนักขัตฤกษ์ เวลาอาจเปลี่ยนแปลง) โทรศัพท์:02 233 3236

................

หมายเหตุ : จากการร่วมกิจกรรมทริป หลากหลายเรื่องลับ ฉบับไชน่าทาวน์ ของ KTC PR Press Club บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด เมื่อวันที่ 22 เมษายน 65

(ภาพ : KTC PR Press Club)

เที่ยว“วัดปทุมคงคา”ไหว้พระพุทธมหาชนก  แวะดูแท่นสำเร็จโทษโบราณ

แท่นหินสำเร็จโทษ