9 ตำนานวงการ"โทรทัศน์ไทย" จัดแสดงที่ MCOT MUSEUM

9 ตำนานวงการ"โทรทัศน์ไทย" จัดแสดงที่ MCOT MUSEUM

"MCOT MUSEUM" เปิดให้เข้าชมวิวัฒนาการวงการโทรทัศน์ไทย มีโซนต่างๆ ให้เยือน และสิ่งที่ห้ามพลาดชม 9 อย่าง สามารถเข้าชมเป็นหมู่คณะได้ครั้งละไม่เกิน 15 คน

ในอดีตผู้คนรับข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงผ่านการอ่านหนังสือพิมพ์ และการฟังวิทยุ จนเมื่อเทคโนโลยีด้านการสื่อสารถูกพัฒนาโทรทัศน์ จึงถือกำเนิดขึ้น และกลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยม 

ทำไมต้องมีโทรทัศน์

หลังผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ จากสงครามโลก ครั้งที่ 2 ผู้คนต่างต้องการความบันเทิง นักธุรกิจและ นักประดิษฐ์จึงเกิดแนวคิดที่จะนำโทรทัศน์กลับมาพัฒนาให้เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสาร ที่สามารถรับชมได้ทั้งภาพและเสียง 
 

9 ตำนานวงการ\"โทรทัศน์ไทย\" จัดแสดงที่ MCOT MUSEUM

จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้น เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีโทรทัศน์ จึงมีคำสั่งให้จัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 เพื่อสร้างความบันเทิงให้ประชาชน โดยในช่วงแรกดำเนินกิจการสถานีวิทยุ ท.ท.ท. เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเปิดสถานีโทรทัศน์

หลังจากนั้นไม่นาน สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 จึงเปิดทำการ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม บริเวณเดียวกับที่ตั้งของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน จึงถูกเรียกว่า ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในอาเซียน 

โดยมี จำนง รังสิกุล หรือ “หัวหน้าจำนง” ที่ชาวช่อง 4 ให้ความเคารพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนารูปแบบรายการและก่อตั้งสถานีโทรทัศน์

 

9 ตำนานวงการ\"โทรทัศน์ไทย\" จัดแสดงที่ MCOT MUSEUM

 

9 ตำนานวงการ\"โทรทัศน์ไทย\" จัดแสดงที่ MCOT MUSEUM

ช่วงแรกเริ่มเผยแพร่ภาพขาว-ดำ ระบบ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที และถ่ายทำด้วยการออกอากาศสด เพราะยังไม่มีเทคโนโลยีการบันทึกเทป ออกอากาศสัปดาห์ละ 4 วัน คือ อังคาร, พฤหัสบดี, เสาร์ และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.00 – 23.00 น. ต่อมาจึงเพิ่มวันและเวลาออกอากาศจนครบทุกวันMCOT MUSEUM 

นับตั้งแต่มีบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด ก็กลายเป็นหมุดหมายแรกของวงการโทรทัศน์ไทย จนพัฒนามาสู่มาเป็นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่อยู่คู่สังคมไทยมากว่า 70 ปี

MCOT MUSEUM ในอาคารปฏิบัติการวิทยุโทรทัศน์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ถนนพระราม 9 เปิดให้ประชาชนมาเยือนได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่

 โซนที่ 1 มองไกลให้ก้าวไกล(The Foresight) บอกเล่าความเป็นมาวิวัฒนาการสื่อสารมวลชนใน 3 ยุค คือ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด, องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

โซนที่ 2 มองต่างให้เติบโต(The Visionary) จัดแสดงภาพถ่ายและแนวคิดของปูชนียบุคคล ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้วงการโทรทัศน์ไทย

โซนที่ 3 มุมมองภาพสะท้อน( The Reflection)บทบาทอสมท.ที่อยู่คู่สังคมไทยมานานในฐานะองค์กรสื่อที่มีบทบาทคู่สังคม
................

9 ตำนานวงการ\"โทรทัศน์ไทย\" จัดแสดงที่ MCOT MUSEUM

9 ตำนาน วงการโทรทัศน์ไทยที่ไม่ควรพลาด 

1. กล้องโทรทัศน์ตัวแรกในประเทศไทย

กล้องยี่ห้ออาร์ซีเอ ใช้งานในห้องส่งตั้งแต่วันออกอากาศโทรทัศน์วันแรก (วันที่ 24 มิถุนายน 2498)

2. สมุดลงนามเยี่ยมชมในวันเปิดสถานีวิทยุ ท.ท.ท. (วันที่ 31 มกราคม 2497)

สมุดเล่มนี้มีลายมือชื่อ พร้อมคำอวยพร เขียนด้วยลายมือของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น พร้อมลายมือชื่อ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดหาวิทยุโทรภาพในประเทศไทย

3. เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์เครื่องแรกในประเทศไทย

เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ยี่ห้ออาร์ซีเอ ระบบภาพขาวดำ เริ่มใช้งานตั้งแต่ ปี 2502 บันทึกละครโทรทัศน์เรื่องขุนศึกเป็นรายการแรก

4. กล้องถ่ายภาพยนตร์ ขนาด 16 ม.ม. ยี่ห้อ ARRIFLEX

เป็นกล้องที่ใช้ในงานบันทึกภาพข่าว ตั้งแต่ยุคช่อง 4 ถึงยุคช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ผ่านการใช้งานทำข่าวบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญมาแล้วทั่วโลก

สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือกล่องเก็บกล้อง ซึ่งติดสติ๊กเกอร์ตราสัญลักษณ์สถานีโทรทัศน์ของ อสมท ตั้งแต่สมัยช่อง 4 ถึงช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

5. ไมโครโฟนแบบต่างๆ ที่เคยเป็นทรัพย์สินของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด

6. มุมถ่ายภาพกับฉากผู้ประกาศข่าวช่อง 4

7.ภาพถ่ายต้นฉบับ การทำงานของคนทำงานโทรทัศน์ในอดีต ซึ่งครั้งหนึ่งเคยจัดแสดงที่ด้านหน้าห้องส่งช่อง 4 บางขุนพรหม

8. ภาพถ่ายและแนวคิดของปูชนียบุคคล ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้วงการโทรทัศน์ไทย ทั้งผู้ประกาศข่าว ดารา นักแสดง รุ่นบุกเบิก

9. ยอดเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง 4

Antenna “Batwing” ยอดเสาส่งสัญญาณรูปปีกค้างคาว เสาส่งต้นแรกในประเทศไทย ซึ่งเคยตั้งอยู่ใกล้สี่แยกบางขุนพรหม เป็นเสาส่งที่แพร่กระจายสัญญาณสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ไปไกล 15 จังหวัดรอบกรุงเทพ

.............

MCOT MUSEUM เปิดให้เข้าชมเป็นหมู่คณะ จำกัดการเข้าชม(ช่วงโควิดระบาด )ครั้งละไม่เกิน 15 คน ในวันและเวลาทำการ

ลงทะเบียนล่วงหน้า กรุณาติดต่อ ฝ่ายสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร บมจ.อสมท โทรศัพท์ 02 201 6392 – 3

9 ตำนานวงการ\"โทรทัศน์ไทย\" จัดแสดงที่ MCOT MUSEUM