'วันไหว้บะจ่าง 2566' ต้องเตรียมของไหว้อะไรบ้าง? พร้อมวิธีไหว้เสริมเฮง

'วันไหว้บะจ่าง 2566' ต้องเตรียมของไหว้อะไรบ้าง? พร้อมวิธีไหว้เสริมเฮง

22 มิถุนายน เป็น "วันไหว้บะจ่าง 2566" ตามปฏิทินสากล (แต่ละปีจะไม่ตรงกัน) ชวนรู้การเตรียม "ของไหว้" ที่ต้องมี! รวมถึงวิธีตั้งโต๊ะไหว้บะจ่าง เรียนรู้ประวัติ ตำนาน และ "วิธีไหว้" เสริมเฮงรับความสิริมงคลช่วงกลางปี

"วันไหว้บะจ่าง 2566" เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญตามความเชื่อของลูกหลานคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งต่างก็รู้จักวันนี้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องการบูชา "เทพเจ้ามังกร" โดย วันไหว้บะจ่าง 2566 ตามปฏิทินจีน จะตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5  ของทุกปี ซึ่งตามปฏิทินสากลปีนี้ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2566 (แต่ละปีจะไม่ตรงกัน)

สำหรับใครที่กำลังจะเตรียมไหว้ขอพรเทพเจ้ามังกร ใน "วันไหว้บะจ่าง" นี้ จะต้องเตรียม "ของไหว้" และรู้ "วิธีไหว้" เสริมเฮงรับความโชคดี ดังนี้

\'วันไหว้บะจ่าง 2566\' ต้องเตรียมของไหว้อะไรบ้าง? พร้อมวิธีไหว้เสริมเฮง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

1. เตรียม "ของไหว้" วันไหว้บะจ่าง 2566

สำหรับ ของไหว้วันไหว้บะจ่าง 2566 เพื่อไหว้ขอพรเทพเจ้ามังกรตามความเชื่อของลูกหลานชาวจีน จะต้องเตรียมของไหว้ ได้แก่

  • บะจ่าง ใช้เป็นเลขคู่ เช่น 2 ลูก, 4 ลูก, 6 ลูก หรือ 8 ลูก
  • ผลไม้มงคล 5 อย่าง เช่น ส้ม แอปเปิ้ลแดง สาลี่ แก้วมังกร กล้วยหอม
  • น้ำชา 5 ถ้วย
  • กระดาษเงินกระดาษทองไหว้เจ้า (หงึ่งเตี๋ย) 2 ชุด
  • แจกันดอกไม้ 1 คู่
  • เทียนแดง 1 คู่
  • ธูป 5 ดอก

\'วันไหว้บะจ่าง 2566\' ต้องเตรียมของไหว้อะไรบ้าง? พร้อมวิธีไหว้เสริมเฮง

2. วิธีไหว้เสริมเฮง ฉบับซินแสนัตโตะ

การไหว้บะจ่างนั้นนิยมไหว้ใน "ช่วงเช้า" ตั้งโต๊ะไหว้หน้าตี่จู่เอี้ย ศาลบรรพบุรุษ หรือศาลเจ้าที่ก็ได้ โดยขณะไหว้ให้ตั้งใจขอพรต่อเทพเจ้ามังกร ในเรื่องความโชคดี การงาน ร่ำรวยเงินทอง

3. ประวัติและที่มา "เทศกาลไหว้บะจ่าง" 

เทศกาลไหว้บะจ่าง มีชื่อเรียกในภาษาจีนกลางว่า 端午节 (duān wŭ jié) (อ่านว่า ตวน-อู่-เจี๋ย) เป็นประเพณีที่สืบทอดมาจาก 2 เรื่องราวสำคัญที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน คือ "การบูชาเทพเจ้ามังกร" และ "ประเพณีแข่งเรือมังกร" ทำให้ชื่อทางการที่เป็นภาษาอังกฤษของวันไหว้บะจ่างจึงถูกเรียกว่า Dragon Boat Festival

ข้อมูลจาก thaiPhDinchina ระบุว่า เทศกาลไหว้บะจ่างนั้น แรกเริ่มเดิมทีมาจากการบูชาเทพเจ้ามังกร ซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของชาวไป่เยว่ 百越族 ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตั้งแต่ช่วงกลางลงไปยังตอนใต้ ว่ากันว่าชาวไป่เยว่มีการสักตัวด้วยรูปมังกร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าตนคือลูกหลานมังกรอีกด้วย

\'วันไหว้บะจ่าง 2566\' ต้องเตรียมของไหว้อะไรบ้าง? พร้อมวิธีไหว้เสริมเฮง

ชาวไป่เยว่เดินทางข้ามฟากไปมาหาสู่กันด้วยเรือที่ทำจากไม้ท่อนเดียวเป็นพาหนะ ในอดีตจึงมีการจัดแข่งพายเรือมังกร เพื่อเป็นการเคารพบูชาเทพเจ้ามังกรในช่วงเวลานั้น  ว่ากันว่าในการแข่งพายเรือมังกรนั้น จะมีการนำเอาอาหารใส่ลงกระบอกไม้ไผ่ หรือห่อด้วยใบไม้แล้วโยนลงน้ำ เพื่อแสดงความเคารพต่อเทพเจ้ามังกร เพื่อให้ปกป้องคุ้มครองลูกหลานอีกด้วย

นอกจากนี้ เทศกาลไหว้บะจ่างยังเชื่อมโยงกับตำนานเกี่ยวกับนักกวีจีนที่ชื่อ "ชวีหยวน" นักกวีตงฉินผู้รักชาติยิ่งชีพ แต่กลับถูกขุนนางกังฉินกลั่นแกล้งใส่ร้ายและเป่าหูให้ฮ่องเต้หลงเชื่อว่าชวีหยวนเป็นคนทรยศ ทำให้ฮ่องเต้สั่งเนรเทศเขาออกนอกเมืองนั้น

ขณะที่เดินทางออกจากเมือง ชวีหยวนก็เกิดความน้อยใจอย่างมาก จึงได้กระโดดน้ำตายที่ "แม่น้ำเล่ยหลัวเจียง" ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 (วันไหว้บะจ่าง) เมื่อคนใกล้ชิดได้รับรู้ข่าวการตายของนักกวีคนนี้ จึงขอให้ชาวบ้านไปช่วยกันงมหาศพ และพากันนำ "ข้าวห่อใบไผ่" โยนลงไปในน้ำ เพื่อหวังให้ฝูงปลาไม่มากินศพของเขา 

ด้วยความที่ "ชวีหยวน" เป็นที่รักของประชาชน เรื่องราวของเขาจึงสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น และผูกโยงเข้ากับ "เทศกาลไหว้บะจ่าง" นัยว่าเป็นการรำลึกถึง "กวีชวีหยวน" ผู้รักชาตินั่นเอง

4. เทศกาลไหว้บะจ่าง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

เทศกาลไหว้บะจ่างมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ต่างๆ อีกทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของเทศกาลนี้ก็พบในญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนามอีกด้วย

ในประเทศจีนเทศกาลไหว้ "บะจ่าง" ถูกระบุให้เป็นเทศกาลที่กำหนดวันหยุดโดยรัฐบาล นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) กับทาง UNESCO ในปี 2009 ถือเป็นเทศกาลแรกของจีนที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

กิจกรรมและประเพณีต่างๆ ที่ชาวจีนนิยมทำกันในเทศกาลไหว้ "บะจ่าง" ได้แก่ ดูแข่งเรือมังกร, กินบะจ่าง, แขวนใบอ้ายเฉ่าและใบชางผู (เป็นสมุนไพรจีนที่เชื่อว่าช่วยเสริมสิริมงคล ขับไล่สิ่งชั่วร้าย), ดื่มเหล้ายา เป็นต้น

-----------------------------------------------

อ้างอิง : ซินแสนัตโตะ, fengshuimee, thaiphdinchina, China Cultural cemter in BKK