"พระโขนง-บางนา 2040" โมเดลเปลี่ยน "ย่านชายขอบ" เป็น "ย่านน่าอยู่" กรุงเทพฯ

"พระโขนง-บางนา 2040" โมเดลเปลี่ยน "ย่านชายขอบ" เป็น "ย่านน่าอยู่" กรุงเทพฯ

เล่าโปรเจค “พระโขนง-บางนา 2040 อนาคต ความฝัน ย่านของเรา” งานวิจัยจาก UddC-CEUS ที่ว่าด้วยอนาคตของย่าน "พระโขนง-บางนา" พื้นที่มากศักยภาพที่มีแผนพัฒนาย่าน เพื่อเปลี่ยน ‘ย่านชายขอบ’ ของกรุงเทพสู่ความเป็น "เมืองน่าอยู่" และเป็นโมเดลให้กับพื้นที่อื่นๆ

ถ้าเราเดินออกจากบ้านเพื่อไปขึ้นวินมอเตอร์ไซค์ ซื้ออาหาร รอรถแท็กซี่ และอีก ฯลฯ ความตั้งใจ เราจะสังเกตได้ว่า ชุมชนที่เราอยู่อาศัยและคิดว่าคุ้นเคยแห่งนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ที่ตรงนี้เคยเป็นป่าหญ้า เคยเป็นที่จอดรถสองแถว มีแผงขายก๋วยเตี๋ยว รถเข็นขายกล้วยทอด แต่จากนั้นก็เห็นเป็นไซต์ก่อสร้าง ก่อนจะกลายเป็นโครงการหมู่บ้านทาวน์โฮม 3 ชั้น ร้านค้าที่เคยมีเลยต้องย้ายไปตั้งที่อื่น” คือตัวอย่างคำบอกเล่าที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงของเมืองตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ทุกเมืองไม่เคยหยุดนิ่ง และไม่มีข้อยกเว้นสำหรับ กรุงเทพฯ ซึ่งอัดแน่นด้วยจำนวนประชากร และความต้องการที่หลากหลาย แต่ถึงเช่นนั้นคำถามอยู่ที่ว่า ในความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ กรุงเทพฯ เตรียมตัวไปถึงไหน? 

เมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง (UddC-CEUS) ร่วมกับภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเครือข่าย จัดงาน “พระโขนง-บางนา 2040 อนาคต ความฝัน ย่านของเรา” โดยเป็นการเสนอไอเดียพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อให้ย่านบางนา-พระโขนงหนึ่งในย่านอนาคตของกรุงเทพฯ สอดคล้องไปกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน  ยิ่งเฉพาะเจาะจงไปที่ความเปลี่ยนแปลงของเมืองซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของประชาชนโดยตรง อันเปรียบเปรยว่าเป็นปัญหาระดับ “เส้นเลือดฝอย” ที่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญตั้งแต่ช่วงหาเสียง

พระโขนง-บางนา 2040 คืออะไร? “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ได้คุยกับ ผศ. ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) หัวหน้าโปรเจคฯ  ถึงแนวทางฟื้นฟูกรุงเทพฯอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เมืองที่เติบโตอย่างไร้ทิศทางค่อยๆ ถูกซ่อมแซม เป็นเส้นเลือดฝอยที่ค่อยๆสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

ผศ. ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) 

  • ทำไมต้องเป็นพระโขนง-บางนา

พระโขนง-บางนา เป็นหนึ่งในตัวอย่างของแหล่งศักยภาพอื่นๆ โดยเป็น 1 ใน 6 พื้นที่ซึ่งทีมวิจัยฯ เรียกว่า เป็น Sub-CBD (ศูนย์กลางเศรษฐกิจรอง) เช่นเดียวกับย่าน ปิ่นเกล้า พระราม 2 ทางฝั่งทิศใต้และตะวันตก ย่านสะพานใหม่ รามอินทรา มีนบุรี ในด้านฝั่งทิศเหนือและตะวันออก ซึ่งบางนา-พระโขนงนี้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจรอง มีแหล่งงาน เป็นแหล่งธุรกิจ และการมีระบบขนส่งทางรางสายสีเขียว (BTS) ได้ต่อขยายถึงสถานีเคหะสมุทรปราการ ส่งผลให้ย่านนี้ถูกผสานเข้ากับแนวระเบียงการพัฒนาของภาคมหานคร นอกจากนี้ ระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลืองตามแนวถนนศรีนครินทร์ และสายสีเงินตามแนวถนนบางนา-ตราด จากสนามบินสุวรรณภูมิ จะทำให้ศักยภาพในการเข้าถึงและการพัฒนาอยู่ในระดับสูงมาก

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

ทำไมต้องเป็นพื้นที่นี้? นั่นเพราะพื้นที่แห่งนี้มีครบทุกอย่าง ทั้งคนอยู่อาศัย แหล่งงาน ธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็นนวัตกรรม เรียกว่ายังเป็นพื้นที่แห่งโอกาส มีการเติบโต และยังมี 3 ปัจจัยที่ยังไปต่อได้คือ 1. ราคาที่อยู่อาศัย 2.การสัญจร และ 3. สิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้เกิดกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ที่กระจุกตัวกันอย่างหนาแน่น มีการรวมกลุ่มขององค์กรด้านนวัตกรรม ทำให้เกิดโอกาสในการเป็นแหล่งงาน สามารถสร้างงานให้อยู่ใกล้กับการอยู่อาศัยได้

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

“ถ้าเป็นเด็กจบใหม่ เริ่มทำงานได้ไม่นาน ถ้าอยากได้ที่อยู่อาศัยพื้นที่แห่งนี้ยังมีราคาที่เข้าถึงได้ หรือถ้าเป็นธุรกิจเกิดใหม่ อยากหาออฟฟิศ ที่นี่ยังพอมีแหล่งอาคารให้เข้าถึงได้ ถ้าเป็น CBD เดิม ทองหล่อ สาธร เอกมัย ตรงนี้ก็จะยากหน่อย ราคาก็จะไปสูงมากจนเข้าถึงไม่ไหว”

ในอดีตพระโขนงเปรียบเสมือนย่านชายขอบด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ เป็นย่านชานเมืองซึ่งมีชุมชนอาศัยอยู่ดั้งเดิม

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ย่านดังกล่าวกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงการที่อยู่อาศัยแนวตั้ง โครงการพัฒนาศูนย์การค้า และโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสาน และในส่วนนโยบายจากภาครัฐเองก็ต้องการผลักดันให้เป็น “ย่านนวัตกรรม” ที่จะดึงดูดนวัตกรและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้มาลงทุน ทำงาน

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

  • มีโอกาสแต่ยังไม่น่าอยู่

แม้ถ้อยความข้างต้นจะอธิบายว่า ย่านพระโขนง-บางนา จะมีปัจจัยแห่งการเติบโตครบครัน เป็นพื้นที่เกิดใหม่ ที่คนรุ่นใหม่วางไว้เป็นหมุดหมาย แต่จากการวิจัยก็พบว่า ในโครงสร้างเมืองที่เป็นอยู่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายความต้องการ ทั้งในระดับพื้นที่เองก็ยังไม่มีแผนระดับย่าน ส่งผลให้พื้นที่มีจุดอ่อนสำคัญไม่ว่าจะเป็น

1. ซอยลึก ซอยตัน ในซุปเปอร์บล็อค ไม่สามารถเดินเชื่อมถึงกันได้ ทำให้การจราจร สัญจรมีอุปสรรค

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

2. เดินไม่ได้ เดินไม่ดี แม้จะมี 6 สถานี คนก็ไม่เดิน ส่งผลให้การเติบโตเป็นเฉพาะจุด และต่อให้มีรถไฟฟ้าแต่เมื่อผู้คนยังไม่เดิน ส่งผลให้ธุรกิจ ร้านค้าเล็กๆรอบชุมชน รอบสถานรีรถไฟฟ้าไม่เติบโตเท่าที่ควร

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

3. ระบบขนส่งรองและเสริมมีอย่างจำกัด ทั้งจำนวนและระยะเวลา ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายและการสัญจรด้วยขนส่งสาธารณะ

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

4. รถติดแบบทั่วถึง

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

5. พื้นที่สีเขียวต่ำกว่ามาตรฐานและขาดแคลนติดอันดับ

6. บริการสาธารณสุขขาดแคลน ต้องเดินทางไปสถานพยาบาลนอกพื้นที่

7. พื้นที่เรียนรู้ขาดแคลน

8. เปราะบางน้ำท่วม

9.คลองยาวหลาบสิบกิโลเมตรแต่ยังไม่น่าอยู่

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

“ระบบขนส่งสาธารณะก็ยังมีอย่างจำกัดและไม่ทั่วถึงอยู่ดี อีกทั้งยังมีซอยลึกซอยตันอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้สัดส่วนที่คนจะสามารถเดินได้ก็น้อยมาก ทางเท้าที่มีอยู่ก็เป็นทางเท้าที่เดินไม่ได้ ถึงเดินได้ก็ยังไม่สะดวกและไม่น่าเดิน เรียกได้ว่า ‘เข้าถึงง่ายแต่ไปต่อยาก”

“ต่อให้มีรถไฟฟ้า มีสถานี แต่ถ้าเป็นเช่นนี้ลักษณะก็จะเป็นคนมาลงสถานี แล้วนั่งรถเข้าบ้าน แต่ธุรกิจโดยรอบไปต่อไม่ได้ ไม่มีคนเดิน ร้านค้าก็จะปิดตัวลงไป ยิ่งคนใช้รถมากเท่าไหร่ ก็ต้องเจอกับสภาพรถติดมากเท่านั้น ทำให้เกิดฝุ่นควัน ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจตามมา หรือตามอาคารที่ทันสมัย องค์กรที่มีนวัตกรรมก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเฉพาะในพื้นที่ของเขา สวยงาม ดูดีแบบพื้นที่ใครมัน แต่ชุมชนโดยรอบไม่ได้ประโยชน์”

  • รวมพลังเปลี่ยนพระโขนง-บางนา

โครงงานวิจัยได้พัฒนาร่วมกับหลายภาพส่วน ทั้งเอกชน ภาครัฐ ชุมชนในพื้นที่ ในระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา จนเกิดเป็นแผนพัฒนาย่านและโมเดลผ่านแนวคิดหลัก 11 ด้าน ซึ่งครอบคลุมทั้งการพัฒนาพื้นที่ (Hardware) และด้านกลไกการบริหารจัดการ (Software)  ได้แก่

1.การจัดทำแผนพัฒนาระดับย่านด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม

2.การสร้างย่านน่าอยู่เพื่อดึงดูดเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะเศรษฐกิจนวัตกรรมและธุรกิจสร้างสรรค์

3.การพัฒนาให้ย่านเดินได้-ย่านเดินดีกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

4. การพัฒนาพื้นที่สีเขียวขนาดเล็กกระจายทั่วย่านจากที่ดินที่รอการพัฒนาเพื่อยกระดับสุขภาวะชุมชน

5. การปรับปรุงอาคารที่มีการใช้ประโยชน์ไม่เต็มศักยภาพสู่พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ของเยาวชนและประชาชน

6. การพัฒนาที่ดินรอการพัฒนาสู่พื้นที่สร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจและสังคม

7. การพัฒนาพื้นที่ริมคลองสู่พื้นที่เดินได้ นั่งได้ สัญจรได้ บรรเทาน้ำท่วมได้

8. การพัฒนาการสัญจรที่หลากหลายด้วย ล้อ ราง เรือ และเท้า

9. การพัฒนาพื้นที่ทดลองทางนวัตกรรม (Innovation Sandbox) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เช่น รถแดง น้ำท่วม ฝุ่นควัน 

10. การพัฒนาโมเดลจตุรภาคี (Public Private People Partnerships, P4s) ในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และวิชาการ เพื่อขับเคลื่อนย่าน

11. การทดลองแนวคิดการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) ในกระบวนการจัดทำโครงการพัฒนาย่าน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนาในย่าน

แผนดังกล่าวนี้ จะถูกขับเคลื่อนผ่านจตุรภาคี คือภาครัฐท้องถิ่น กรุงเทพมหานครและสำนักต่างๆ ภาครัฐส่วนกลาง เช่น สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีหน้าที่ผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และอยู่ในพื้นที่ ภาคเอกชน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ และภาคพลเมืองซึ่งหมายถึงชุมชน โรงเรียน ภาควิชาการ

“ถ้าภาครัฐและภาคเอกชน อยากจะให้พื้นที่ตรงนี้น่าอยู่ ต้องช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตพื้นที่ สมมมติสำนักนวัตกรรมฯ หรือทรูดิจิทัลอยากจะให้พื้นที่นี้เป็นย่านนวัตกรรม และย่านนวัตกรรมมันคือคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมีสิ่งดึงดูด และสิ่งดึงดูดไม่ใช่แค่เงินเดือน แต่ดึงดูดด้วยคุณภาพชีวิต อันนี้คือทริคเคอร์สำคัญ ที่ร่วมมือกันทำได้”

"ความฝันนี้ใช้เวลาไม่น้อย แต่ก็ต้องเริ่มทำ ที่ผ่านมาในระดับชุมชน ในระดับองค์กรก็ทำกันบ้างแล้ว เช่น การปรับปรุงพื้นที่สีเขียวรอบๆสำนักงาน การร่วมมือพัฒนาคลองระหว่างเอกชนกับชุมชน แต่จากนี้อยากให้ผู้ว่าฯ รับรองแนวทาง แผนที่ทำร่วมกันนี้มาเป็นโมเดลทดลองนโยบาย ทั้งยุทธศาสตร์กทม. นโยบาย 9 ด้าน 9 ดี ให้พระโขนงเป็น Sand box"

ผศ.นิรมล กล่าวว่า ความสำคัญคือจะสร้างความเชื่อมโยงให้พื้นที่อาศัย พื้นที่งาน พื้นที่ธุรกิจ เชื่อมโยงถึงกัน ไม่จำเป็นต้องสร้างเมืองใหม่ หาย่านใหม่ที่ไม่รู้ให้ใครไปอยู่

แต่การฟื้นฟูเมืองเดิม เป็นวิถีของการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ ค่อยๆฟื้นฟู ปรับปรุงไป เช่นเดียวกับในต่างประเทศ ที่มีความเสื่อมโทรม ซากปรักหักพังตามยุคสมัย แต่ค่อยๆพลิกฟื้นกลับคืนมาได้  อาทิ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ถูกพัฒนามาจากความเสื่อมโทรมตามสภาพกาลเวลา

ย่าน Otemachi – Marunouchi – Yurakucho (OMY) พื้นที่โดยรอบสถานีโตเกียว ย่านเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ในช่วงปี ค.ศ. 1985–1991 ซึ่งเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ ส่งผลให้พื้นที่ที่เคยเป็นไข่แดงย่านเศรษฐกิจขาดความสามารถในการแข่งขัน แต่ก็กลับมาพลิกฟื้นได้

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ ไทม์ไลน์ของย่าน Otemach ที่เคยประสบปัญหาและพลิกฟื้นขึ้นมา

  • จินตนาการ พระโขนง-บางนา หากไร้แผน

นอกจากนี้ งานวิจัยยังฉายภาพอนาคตย่านพระโขนง-บางนา เปรียบเทียบหากมีการวางแผนพัฒนา และในกรณีที่ปล่อยให้เป็นไปตามวิถีดั้งเดิม ดังนี้

ภาพที่ 1 : ภาพอนาคตฐาน “รถไฟฟ้ามาหานะเธอ” มีรถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งมวลชนหลัก ไม่มีการปรับปรุงพื้นที่ ชีวิตของผู้คนในย่านจะมีค่าแค่ภายในซอยย่อย กิจกรรมจะกระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นบนบริเวณปากซอยบริเวณทางลงจากสถานีรถไฟฟ้าเท่านั้น อาคารตึกแถว ถูกทิ้งร้างไม่ได้ใช้งาน

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

2.ภาพอนาคตฐานทางเลือก “The Wolf of Wall”  การพัฒนายังคงกระจุกอยู่ที่บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้า BTS และแกนถนนสายหลัก การพัฒนากระจุก ไม่มีการเชื่อมต่อและเชื่อมโยงพื้นที่เข้าด้วยกัน ที่ดินถูกตัดขาดรอการพัฒนา แม้จะมีการแบ่งพื้นที่ร้านค้าและผู้ประกอบการแต่ก็จะอยู่แค่บริเวณขนส่งมวลชนสายหลัก ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งขยะ น้ำเสีย และฝุ่น สภาพเศรษฐกิจมีการแบ่งเป็น 2 โลกอย่างชัดเจน

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

ภาพที่ 3 : ภาพอนาคตที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น คืออาคารร้างและทรุดโทรม ไม่มีการใช้งาน ส่งผลให้พื้นที่ไม่มีพลวัตรของคนและเศรษฐกิจ ทางเท้าเดินไม่ได้ ย่านเงียบเหงา และเศรษฐกิจไม่คึกคัก มีพื้นที่รกร้างไม่มีการพัฒนาและกลายเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม 

\"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ ภาพที่ 4 : ภาพอนาคตที่พึงปรารถนา “Downtown Cha Cha Cha” พื้นที่ feeling good เกิดจากภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งผู้ประกอบการรายย่อยและรายใหญ่ รวมถึงภาคประชาชนมีบทบาทในการร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่ มีแกนกลางพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน มีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่แห่งใหม่ๆ เกิดขึ้น  \"พระโขนง-บางนา 2040\" โมเดลเปลี่ยน \"ย่านชายขอบ\" เป็น \"ย่านน่าอยู่\" กรุงเทพฯ

ติดตามความคืบหน้าและสอบถามถึงผลการวิจัยฉบับเต็มได้ที่ ร่วมสร้างย่านพระโขนง-บางนา

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือ Urban Design and Development Center (UddC)