มองเมืองใหม่แบบ “ชัชชาติ” ต้องช่วยกัน ผมคนเดียวทำไม่ได้

มองเมืองใหม่แบบ “ชัชชาติ” ต้องช่วยกัน ผมคนเดียวทำไม่ได้

ผู้ว่าฯกทม. บอกทุกเวทีว่า ต้องช่วยกันสร้างเมืองที่ดีและน่าอยู่ อย่าฝากความหวังไว้ที่“ชัชชาติ”คนเดียว เราต้องสร้างเมืองไปด้วยกัน

สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องสำคัญของชีวิต และนำมาสู่การมี คุณภาพชีวิตที่ดี เมืองใหญ่ทั่วโลก ต่างขยับปรับเปลี่ยนแผนผังเมืองใหม่

โดยคำนึงถึง ธรรมชาติ มี ต้นไม้ มากขึ้น เพื่อให้คนได้ออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างมีความสุข ส่งผลต่อ สุขภาพจิต

  • เมืองที่ดี ต้องดึงดูดคนเก่ง

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า "เมืองที่ดีจะสามารถดึงคนที่มีความสามารถ มีศักยภาพมาอยู่เพื่อพัฒนาเมืองได้"

 

ในงานเสวนาเรื่อง “Towards sustainable future กรุงเทพฯ เมืองแห่งความยั่งยืน” ของ 𝑬𝒏𝒗𝒊𝒓𝒐𝒏𝒎𝒂𝒏 𝒙 𝑬𝒄𝒐𝒕𝒐𝒑𝒊𝒂 𝒉𝒆𝒂𝒓𝒔 𝒚𝒐𝒖: 𝑩𝒆 𝒂 𝒃𝒆𝒕𝒕𝒆𝒓 𝒚𝒐𝒖, 𝒇𝒐𝒓 𝒚𝒐𝒖 Ecotopia ชั้น 3 Siam Discovery เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565

มองเมืองใหม่แบบ “ชัชชาติ” ต้องช่วยกัน ผมคนเดียวทำไม่ได้ Cr. Kanok Shokjaratkul

“เมืองในอนาคต จะอยู่หรือแข่งกันได้ด้วยอะไร ไม่ได้แข่งด้วยการมีห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้า

แต่แข่งว่าเมืองไหนดึง คนเก่ง ได้มากกว่ากัน คนที่มีความสามารถพิเศษ (Talent) คือ คนที่สร้างเมือง สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ครีเอทเมือง

อย่างคนในอเมริกาไม่ได้เก่งอะไร แต่มีคนจีน คนไทย คนอินเดียไปอยู่ ที่สำคัญคือ ต้องมี คุณภาพชีวิตที่ดี ( Quality of Life) มี สิ่งแวดล้อมที่ดี

สิ่งแวดล้อมที่ดีไม่ใช่แค่อากาศที่หายใจ แต่มันคือ การอยู่รอด (Survival) ของเมือง

เวลาผมไปไหน คนมักจะบอกว่า "อาจารย์ฝากกรุงเทพฯด้วยนะ" ผมตอบว่า

ไม่ต้องฝาก ทุกคนต้องช่วยกัน ไปด้วยกัน คนเดียวทำไม่ได้หรอก นี่ไม่ใช่ฟอรั่มชัชชาติ แต่เป็นฟอรั่มกรุงเทพฯ”

มองเมืองใหม่แบบ “ชัชชาติ” ต้องช่วยกัน ผมคนเดียวทำไม่ได้ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • กรุงเทพฯเมืองแห่งความยั่งยืน

เราจะทำ กรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่ยั่งยืนได้อย่างไร ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานครตอบว่า พวกเราทุกคนต้องช่วยกัน

“ขยะของเราวันละ 30,000 ตัน ถ้าคุณไปฝังกลบ สร้าง มลพิษ ให้กับพื้นที่ในอนาคต อย่างนี้ ไม่ยั่งยืน ( sustainable )

หรือคุณไปสร้างภาระที่เป็น มลพิษ ทำให้เด็กเป็นโรคเรื้อรังในปอด คุณต้องไม่เอาทรัพยากรในอนาคตของลูกหลานมาใช้ในปัจจุบัน

เรื่อง สิ่งแวดล้อม ที่ประชาชนรู้สึกมากที่สุดคือเรื่องขยะ น้ำเสีย น้ำเน่า ทุกปัญหาร้ายแรงเท่า ๆ กัน

ถ้าไปโฟกัสเรื่อง ฝุ่น เราก็ลืมเรื่องน้ำเสีย, เรื่องขยะ เราต้องก้าวไปด้วยกันทั้งหมด ขับเคลื่อนหลายสิ่งได้พร้อมกัน (Multitasking) ทุกอย่าง สตาร์ทแล้วลุยไปได้เลย

มองเมืองใหม่แบบ “ชัชชาติ” ต้องช่วยกัน ผมคนเดียวทำไม่ได้ Cr. Kanok Shokjaratkul

เรื่องแรก เรื่อง ฝุ่น เราไม่มีข้อมูลเลย เราต้องทำเรื่อง นักสืบฝุ่น เก็บข้อมูลรายปี

เรื่องที่สอง มีหลาย หน่วยงาน มาเกี่ยวข้อง (กรมควบคุมมลพิษ, คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ) เขามีแผนวางไว้แล้วแต่ก็นิ่ง เดี๋ยวกทม.จะเป็นเจ้าภาพให้

เรื่องที่สาม งบประมาณ 12,000 ล้านต่อปี เราใช้ด้านสาธารณสุข 6,000 ล้านบาท ใช้ในการศึกษา 4,000 ล้านบาท

แต่เราใช้เงินเรื่อง ขยะ เป็นสามเท่าของเรื่องการศึกษาเด็ก แล้วประเทศนี้จะไปต่อได้ยังไง

มองเมืองใหม่แบบ “ชัชชาติ” ต้องช่วยกัน ผมคนเดียวทำไม่ได้ Cr. Kanok Shokjaratkul

จริงๆ ขยะ ควรเป็น ทรัพย์สิน สร้างมูลค่า ถ้าแยกขยะ ก็จะไม่เหลือฝังกลบ ขยะเปียกเอาไปทำปุ๋ย ขยะแห้งเอามารีไซเคิล รียูส ที่เหลือก็เผา จบ ไม่เหลือ

อีกอย่างประเทศไทย กทม.ไม่มีข้อมูลเรื่อง Carbon Footprint เราต้องมีเป้าหมายก่อน เรื่องการขนส่ง, การประหยัดพลังงานในอาคาร, การปลูกต้นไม้, เรื่องก๊าซเรือนกระจก

ตอนนี้เรามีนโยบาย ปลูกต้นไม้ล้านต้น คุณปลูกเสร็จจะมีพิกัดจีพีเอส( GPS) ต้นไม้ของคุณ ปีหนึ่งถ่ายรูปอัพเดท ต้นไม้โตขนาดไหน

ตอนนี้มีคนจองมาแล้ว 500,000 ต้น ไม่เสียเงินสักบาท เราจะได้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ประเทศ"

มองเมืองใหม่แบบ “ชัชชาติ” ต้องช่วยกัน ผมคนเดียวทำไม่ได้ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ใช้เทคโนโลยีเป็น ชีวิตเปลี่ยนได้

เมื่อถามว่า ผู้ว่าฯสามารถเปลี่ยนกรุงเทพฯได้จริงหรือ ชัชชาติ ตอบว่า อย่าเพิ่งพูด จนกว่าจะทำได้ พูดแล้วไม่ทำ เป็นเรื่องตลก

“สามอาทิตย์ที่ผ่านมา ก็ได้เห็นสิ่งที่ดีนะ ระบบราชการ เมื่อก่อน ฟุตบาทมีหลุม ผู้ว่าฯสั่งรองผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯสั่งปลัด ปลัดสั่งรองปลัด รองปลัดสั่งลูกน้อง เป็นอย่างนี้สองเดือนเสร็จ

แต่พอเราเปลี่ยนรูปแบบเป็นแพลทฟอร์ม Traffy Fondue คุณเห็นปัญหา ถ่ายรูปส่งเข้ามาในแพลทฟอร์ม มีพิกัด GPS มีคนตอบ มีเวลา

มันจะบอกเลยว่า ณ เวลานี้ หน้าสยามดิสคัฟเวอรี่มีฟุตบาทแตกหัก ผมไม่ต้องสั่งให้เขตรับผิดชอบ เขาต้องมาดูทุก ๆ ชั่วโมง พอเห็นเรื่องนี้ก็คว้าไปแก้เลย

มองเมืองใหม่แบบ “ชัชชาติ” ต้องช่วยกัน ผมคนเดียวทำไม่ได้ Cr.กรุงเทพมหานคร

วันแรกที่เปิด มีคนแจ้งปัญหาเข้ามา 20,000 เรื่อง ตอนนี้มีคนแจ้งมาแล้ว 44,000 เรื่อง แก้ไปแล้ว 10,000 กว่าเรื่อง โดยที่ผมไม่ต้องเซ็นคำสั่งเลย ไม่ต้องสั่งงานเลย เขตเห็น เขาก็ไปแก้

ข้อดี คือ ได้เห็นงานแต่ละเขต มี งบซ่อม อยู่แล้ว จากเดิมซ่อมสองเดือน เปลี่ยนมาซ่อมวันเดียว เอาเทคโนโลยีมาใช้ ก็เปลี่ยนชีวิตแล้ว

นักวิชาการ คนเก่ง ๆ มีเยอะ คนรุ่นใหม่จะเป็นคำตอบ เพราะเขามีวิธีการแก้ (Solution)

คนรุ่นใหม่ไม่มีประสบการณ์ ไม่กลัว ไม่มีกรอบ เขาคิดนอกกรอบ ถ้าคนมีประสบการณ์ กลัวกฎระเบียบ กลัวผิด ก็ไม่ทำอะไร

มองเมืองใหม่แบบ “ชัชชาติ” ต้องช่วยกัน ผมคนเดียวทำไม่ได้ Cr.กรุงเทพมหานคร

  • สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำ มีผลต่อสิ่งแวดล้อม รัฐต้องเข้าไปช่วย

สิ่งแวดล้อม มันต้องเริ่มจาก Soft Power (การเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมของผู้อื่น โดยไม่ต้องใช้การบังคับ)

ไม่ใช่เอา กฎหมาย ไปบังคับ เป็น จิตสำนึก ที่คนคิดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม อาจต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ในโรงเรียน ให้เป็นพฤติกรรมเลย

ส่วนคนหาเช้ากินค่ำ คนรายได้น้อย อาจไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีเวลามาดูแลสิ่งแวดล้อม รัฐต้องเข้าไปช่วย

ต้องเกลี่ยเอาส่วนเหลือของคนที่มี ไปช่วยคนที่มีรายได้น้อย ไม่เฉพาะเรื่องรายจ่าย เรื่องการดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมด้วย

เชื่อว่าถ้าคนมีความเข้าใจเรื่องพื้นฐานและอยู่ใน จิตสำนึก คนที่อยู่ในสภาพลำบาก เขาฉลาดกว่าเรานะ อย่างคนที่คลองเตย

เขามีชีวิตรอดได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด รีไซเคิลไม่รู้กี่รอบ เพราะทุกอย่างของเขาเป็นมูลค่าหมด จริง ๆ แล้วเขาดูแลสิ่งแวดล้อมมากกว่าเราอีก

มองเมืองใหม่แบบ “ชัชชาติ” ต้องช่วยกัน ผมคนเดียวทำไม่ได้ Cr.กรุงเทพมหานคร

  • ทุกคนต้องช่วยกันแยกขยะ

ในเรื่องของการ แยกขยะ ผู้ว่าฯชัชชาติบอกว่า คนชอบบอกว่า แยกแล้วก็ไปรวมในรถขยะ

“เราต้องแยกขยะแน่นอน ต้องทำ แบบจำลอง ( Prototype)ในสองเขตก่อน เขตในเมืองกับเขตนอกเมือง เพื่อให้มีคาแรคเตอร์ต่างกัน

เริ่มจากแยก ขยะเปียก กับ ขยะแห้ง ก่อน เป็น ขยะรีไซเคิล ส่วนหนึ่ง แล้วมีระบบเข้ามาจัดการ

มีแปลงผักในเมือง ทำ ปุ๋ยหมัก เอามาใช้ได้ครบวงจร พอทำได้สองเขตแล้ว ก็ขยายไปทั่วกรุงเทพได้”