ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร ลงมิชลินไกด์ ปี 66

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร ลงมิชลินไกด์ ปี 66

ททท.มุ่งเป้าผลักดันการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Gastronomy Tourism คัดสรรเชฟสร้างสรรค์เมนูอีสาน ลงคู่มือ “มิชลิน ไกด์” ปี 66

ททท.จัดงานประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การคัดสรรร้านอาหารครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย คู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นฉบับที่ 6 ของไทย

ปักหมุด 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, อุบลราชธานี, อุดรธานี, ขอนแก่น เพื่อผลักดัน การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism)

 

เผยอัตลักษณ์โดดเด่นด้านอาหารและวัฒนธรรม เตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ รองรับนักชิมและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565

ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า  คู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับปี 2566 ของไทย ขยายขอบเขตการคัดสรรแนะนำร้านอาหารเข้าสู่ 4 จังหวัดภาคอีสาน

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร ลงมิชลินไกด์ ปี 66

“ได้แก่ จังหวัด นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี และ ขอนแก่น  โดยคู่มือฉบับดังกล่าวมีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ปลายปี 2565  ในชื่อ ‘มิชลิน ไกด์ นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี และ ขอนแก่น 2566’ (The MICHELIN Guide New City Announcement 2023) 

เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมอาหารอีสานที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว มาพร้อมรสชาติจัดจ้าน มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจโดยได้รับอิทธิพลจากหลากหลายวัฒนธรรม

มีสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีความโดดเด่น ตลอดจนเสน่ห์ของ วิถีชุมชน ที่มีเอกลักษณ์ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม และยังสามารถเดินตามรอยร้านอร่อยที่ ‘มิชลิน ไกด์’ ได้คัดสรรไว้ให้

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร ลงมิชลินไกด์ ปี 66

ในปัจจุบันมี เชฟ ชาวอีสาน จำนวนมากที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านอาหารจากร้านอาหารชื่อดังในต่างประเทศ กลับมาเปิดร้านอาหารที่บ้านเกิดของตนเอง

โดยเลือกนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรุงอย่างพิถีพิถันเพื่อยกระดับอาหารอีสานให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการรับประทานอาหารแก่นักเดินทาง

ททท. เล็งเห็นถึงความพร้อมของ 4 จังหวัดที่สามารถสะท้อน วัฒนธรรมอาหาร การกินของคนไทย

และสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวเพื่อต่อยอดสู่ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร(Gastronomy Tourism)

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร ลงมิชลินไกด์ ปี 66

นำไปสู่ การกระจายรายได้ สู่ผู้ประกอบการในพื้นที่ เห็นได้จากรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ของจังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และ อุดรธานี รวมกันประมาณ 30,511.47 ล้านบาท

โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติใช้ไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มรวมกันประมาณ 7,442.19 ล้านบาท

สูงเป็น อันดับหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายหมวดอื่น ๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าของที่ระลึก และค่าคมนาคมขนส่ง เป็นต้น”

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร ลงมิชลินไกด์ ปี 66

  • สัมผัสความเป็นไทย ผ่านวัฒนธรรมอาหาร

ผู้ว่าฯการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ในการจัดงานวันนี้ได้รับความร่วมมือจากโรงแรมและผู้ประกอบการเป็นอย่างดี รังสรรค์เมนูอาหารจากวัตถุดิบในพื้นที่แต่ละเมนู

“ผ่าน Soft Power of Thailand ตามแนวทาง 6F : 4M คือ Food Film Fashion Festival Fight Friendship Music Museum Master และ Meta

เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่จุดหมายปลายทาง การท่องเที่ยวเชิงอาหารระดับโลก (World Gastronomy Destination) 

ภายในงาน ททท. ได้รับเกียรติจาก เชฟบอย วุฒินันท์ วิชัย จากโรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ราชาออคิด

และ เชฟเฟิร์ส วัชรีภร อรุณพันธ์ ผู้แทนจากสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ สร้างสรรค์เมนูอาหารจากการผสมผสานวัตถุดิบท้องถิ่น 7 เมนู ได้แก่  ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร ลงมิชลินไกด์ ปี 66

จานที่ 1 Deep Fried Salmon Croquette Isaan Style ลาบแซลมอนทอด ชิ้นพอดีคำที่กรอบนอกนุ่มในปรุงรสด้วยเครื่องปรุงแบบอีสานและนำมาเสียบไม้

พร้อมเครื่องเคียง ดักแด้ พริกแห้ง ใบมะกรูดทอดกรอบ รับประทานคู่กับซอสมะขาม และ ข้าวพอง เสิร์ฟพร้อมกับเครื่องดื่ม Caviar Lime Shandy แซนดี้มะนาวคาร์เวีย

เป็นการผสมผสานระหว่าง โครแนนเฮลเบียร์ ที่ผลิตโดย โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ราชาออคิด

นำมาผสมกับ น้ำขิง เพิ่มความสดชื่น เสิร์ฟพร้อมกับ มะนาวคาร์เวีย ผลไม้ท้องถิ่นของประเทศออสเตรเลียที่มีการปลูกในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 

จานที่ 2 Pumpkin Soup with an Isaan touch  ซุปฟักทองปรุงรสอีสาน ด้วยส่วนผสม น้ำปลาร้า และ ใบแมงลัก (ผักอีตู่) โรยด้วย ปลาแห้ง

รับประทานแล้วจะรู้สึกถึงความเข้มข้นของซุปฟักทองแบบตะวันตกแต่มีกลิ่นหอมแบบแกงอ่อมอีสาน

จานที่ 3 สัปปะรด นายูง จังหวัดอุดรธานี ปลูกในพื้นที่ อ.นายูง และ อ.น้ำโสม เป็นสับปะรดที่มีกลิ่นหอม รสชาติหวาน เนื้อแน่น ฉ่ำ ไม่กัดลิ้น 

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร ลงมิชลินไกด์ ปี 66

จานที่ 4 Grilled Beef Tenderloin with Spicy Toasted Rice Dip เนื้อสันในหมักเครื่องเทศแบบอีสาน นำไปเสียบไม้ย่างพร้อม พริกแดง สอดไส้ สับปะรด แบบเคบับ

รับประทานคู่กับน้ำจิ้มแจ่วและผักสด เสิร์ฟพร้อมกับเครื่องดื่ม Dunkel Mulberry เบียร์ดำผสมกับน้ำมัลเบอรี่ (หม่อน)

จานที่ 5 Thai Sour Curry with Durian and Local Fish (Kang Som) แกงส้มทุเรียน วัตถุดิบจากทุเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

จานที่ 6 Boiled Sticky Rice with Banana served with Grated Coconut , Sesame and Caramel Sauce ข้าวต้มหัวหงอก

ขนมพื้นเมืองของอีสานทำมาจาก ข้าวเหนียว สอดไส้ด้วย กล้วย รับประทานคู่กับมะพร้าวและน้ำตาล เสิร์ฟพร้อมกับ ซอสคาราเมล และ ไวท์ชอคโกแลต 

จานที่ 7 Avocado Gnocchi in Coconut Milk (Krong-Krang)  ครองแครง อโวคาโด้ น้ำกะทิ  

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร ลงมิชลินไกด์ ปี 66 ททท. พร้อมเดินหน้ากระตุ้นส่งเสริมการท่องเที่ยว สอดรับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ

โดยจัดกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เพื่อให้เกิดแรงส่งไปถึงฤดูการท่องเที่ยวช่วงปลายปีต่อเนื่องไปถึงต้นปีหน้า

ซึ่งการขยายขอบเขตการคัดสรรร้านอาหารครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย คู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ประจำปี 2566 จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป”