ซอฟท์พาวเวอร์ไทย ด้วยผลงานศิลปะ workshop เยาวชน จากการรวมพลศิลปินแห่งชาติ
Thai Soft Power ซอฟท์พาวเวอร์ไทย ด้วยผลงานศิลปะ workshop เยาวชน จากการรวมพลศิลปินแห่งชาติ "การเรียนทำให้เด็กไม่เกเร ซึ่งจะถูกการขัดเกลาจิตใจ ไม่เป็นอันธพาล คือเขามีอะไรก็จะระบายออกมาทางศิลปะ"
อาจาร์ยกมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี 2540 จัดโครงการศิลปินแห่งชาติ สืบสานศิลป์ สร้างคุณค่าวิถีไทย ณ บ้านศิลปินแห่งชาติ หอศิลป์ “กมล ทัศนาญชลี” โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ อารี สุทธิพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี 2555 วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) ปี 2552 วรรณี ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) ปี 2564 อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปี 2559 ชรินทร์ นันทนาคร ศิลปินแห่งชาติ ปี2541 เรียกว่า “รวมพลศิลปินแห่งชาติ” ร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565
อ.กมล กล่าวว่า โครงการนี้เราเริ่มต้นกันที่จังหวัดเชียงรายกับอาจารย์ประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินแห่งชาติ สาขาสาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) ปี 2541 ซึ่งทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลาเกือบ 16-17 ปี จนมาถึงช่วงโควิด 2-3 ปี ผมอยู่อเมริกาก็ไม่มีใครทำ ซึ่งโครงการนี้เราจะเอาเด็กนักเรียนในเขตและท้องถิ่น ซึ่งครูอาจารย์ ได้พาเด็กๆ มาร่วมกัน และอีกโครงการคือเอาเด็กมาคัดเด็ก 70 คนจากทั่วประเทศมาที่หออัครศิลปิน 7 วัน มาทำ workshop และก็คัดเด็ก 10 คนไปอเมริกา เพื่อไปต่อยอดที่อเมริกา ซึ่งเป็นงานที่ทำต่อเนื่อง 10 กว่าปี
“ศิลปะในเมืองไทย มีน้อย แต่การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ยังยาก คงคิดว่า เด็กจบไปแล้วจะไปหากินอย่างไร ศิลปะมันอยู่ยาก เขาไม่อยากให้ลูกหลานไปเรียนมาก แต่ตอนนี้เรามีฮีโร่ กีฬา ก็ทำให้มีกำลังใจกันขึ้น ศิลปะ “ซอฟท์พาวเวอร์” ผมมองว่า การเรียนทำให้เด็กไม่เกเร ซึ่งจะถูกการขัดเกลาจิตใจ ไม่เป็นอันธพาล คือ เขามีอะไรก็จะระบายออกมาทางศิลปะ” อ.กมล กล่าว
และย้ำว่า “อยากให้คนไทย มองเรื่องศิลปะ การสนับสนุนส่งเสริม คือ การที่มีสนามการเผยแพร่ แสดง ซึ่งยังมีน้อย ภาครัฐ เรามีการสร้างหอศิลป์แห่งชาติที่กระทรวงวัฒนธรรม ใหญ่โต แต่ยังไม่เปิดทางการ เดือนหนึ่งมีค่าไฟฟ้า เป็นล้านแล้วจะอยู่อย่างไร ซึ่งน่าจะมีนวัตกรรม มีการใช้โซล่าเซลล์ เพื่อใช้ลดค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้าเดือนหนึ่งเกือบ 1 ล้าน จะเอาที่ไหนมาซัพพอต ตลาดศิลปะ ทางต่างประเทศ มีมากกว่า แต่ที่ไทยเหมือนบังคับให้ชม ดูฟรี ยังไม่ไป ที่ต่างประเทศเค้าต่อแถวเพื่อเข้าชมเหมือนที่ประเทศญี่ปุ่น ทำได้ มิวเซียมหนึ่งเค้าจะแบ่งแสดงเป็น 3 ส่วน ตั๋ว 3 ใบ”
อ.กมล กล่าวว่า ถ้าเราสร้างคน แต่รัฐบาลไม่มีที่รองรับ เราทำไปก็ไม่ได้อะไร รัฐบาลสมัยท่านชวน หลีกภัย ให้งบประมาณ มาทำที่หอศิลป์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, เกาะยอ จ.ปัตตานี เพื่อเป็นจุดหมุนเวียนที่จัดแสดง ซึ่งประสบความสำเร็จ ขึ้นหนึ่ง แต่มาวันนี้สิ่งที่สร้าง ก็กลายเป็นที่แสดงศิลปะการแสดงแล้ว ไม่มีการจัดแสดงศิลปะเลย ซึ่งหอศิลป์ตรงนั้น สมเด็จพระเทพฯ มาเปิด
อ.กมล บอกว่าวันนี้ ก็อยากจัดโครงการศิลปินแห่งชาติ สืบสานศิลป์ สร้างคุณค่าวิถีไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้สร้างสรรค์ศิลปะต่อไป ก็ได้เชิญศิลปินแห่งชาติหลากหลายสาขามาให้ความรู้กับเยาวชน โดยแบ่งเป็น 4 ฐานศิลปะ คือ 1.สร้างสรรค์จิตกรรม 2.สร้างสรรค์ภาพพิมพ์ 3.สร้างสรรค์ เซรามิค 4.สร้างสรรค์วรรณศิลป์ โดยจะมีการอบรมสร้างสรรค์งานศิลปะกับศิลปินแห่งชาติและศิลปินต้นแบบด้านศิลปะ จากนั้นสรุปผลงานและมอบเกียรติบัตร
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศในงานคึกคักไปด้วยเหล่าศิลปินมากมาย เริ่มจาก อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2559 มาเป่าขลุ่ย ขับกล่อมกับบทเพลงจาก “ชรินทร์ นันทนาคร” ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2541 เรียกว่า รวมพลศิลปินแห่งชาติ ในขณะที่เยาวชนนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากทั้งจากโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเยาวชนจากต่างจังหวัด อาทิ ภูเก็ต,สตู,ตรัง ต่างสนใจงานศิลปะทั้ง 4 ฐาน สร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้งดงามมาก เป็นอีกหนึ่ง “ซอฟท์พาวเวอร์” เมือไทยที่กำลังมาแรง