ดราม่า กรุงเทพฯกลางแปลง ใช้งบ 160 ล. ย้อนประวัติ หนังกลางแปลง มีตั้งแต่สมัยใด

ดราม่า กรุงเทพฯกลางแปลง ใช้งบ 160 ล. ย้อนประวัติ หนังกลางแปลง มีตั้งแต่สมัยใด

ดราม่า "กรุงเทพฯกลางแปลง" เจอแฉค่าใช้จ่าย 160 ล้าน ผู้กำกับหนังชื่อดังฉะคนโพสต์อย่าสร้างความแตกแยก เช็กเลยโปรแกรมฉายหนังตลอดเดือนกรกฎาคม 2565 พร้อมย้อนประวัติความเป็นมา "หนังกลางแปลง" เริ่มมีตั้งแต่สมัยใด?

หลังจากที่เทศกาล "กรุงเทพกลางแปลง" เจอแซะใช้เงิน 160 ล้านบาท ในการฉาย "หนังกลางแปลง" ให้ประชาชนดูฟรี ล่าสุด "บัณฑิต ทองดี" ผู้กำกับหนัง ได้ออกมาเปิดเผยถึงข้อมูลค่าใช้จ่ายของการจัดงานที่แท้จริงว่า ในการฉายหนัง 25 ครั้งนั้นมีค่าใช้จ่ายเพียง 150,000 บาท โดย กทม.ไม่เสียค่าเช่าจอสักบาท

 

 

ซึ่งภายหลังมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้ออกมาโพสต์ข้อความพาดพิงถึงเทศกาล "กรุงเทพกลางแปลง" ที่มีการฉายหนังกลางแปลง โดยระบุว่ามีการใช้เงินสูงถึง 160 ล้านบาทนั้น ซึ่งข้อความดังกล่าวระบุว่า

 

"ข่าวส่งมาถึงผมแจ้งมาว่าราคาจัดจ้าง คือ จอละ 8 ล้านบาท ราคาห่างดันราวห้ากับนรก ช่วงที่อดีตผู้ว่าอัศวินจัดฉายแถวคลองผดุงกรุงเกษม #งานนี้ชัชช่าผู้มากับความบันเทิงต้องใช้เงินเท่าไหร่ ตลอดงานทั้งหมดใช้ 20 จอ เท่ากับ 160 ล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายจริงๆ ผมไม่ทราบเลยนะครับ เพราะพรรคพวกผมเคยจ้างเมื่อเร็วๆด้วยระบบเดียวกัน หนังโคตรมันถึง 3 เรื่องด้วยเงินค่าจ้างไม่กี่หมื่นบาท"

 

ดราม่า กรุงเทพฯกลางแปลง ใช้งบ 160 ล. ย้อนประวัติ หนังกลางแปลง มีตั้งแต่สมัยใด

 

ล่าสุด "บัณฑิต ทองดี" ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง อดีตนายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ได้ออกมาพูดถึงกรณีดังกล่าวว่า

 

"ผมไม่ได้เป็นโต้โผจัดงานนะครับ นายกสมาคมผู้กำกับ กับทีมทำงานย่อย เป็นโต้โผ แต่ผมให้คำปรึกษาทีมจัดงานมาตลอด รู้ข้อมูลทุกอย่าง รวมไปถึงเรื่องค่าใช้จ่าย งานนี้ กทม.ไม่เสียเงินค่าเช่าจอสักบาทครับ

 

กทม.ประสานงานเรื่องการอนุเคราะห์สถานที่เป็นหลัก หอภาพยนตร์เป็นเจ้าภาพเรื่องการฉาย โดยสมาคมหนังกลางแปลงคิดราคาให้เหลือแค่ 150,000 บาท ในการฉาย 25 ครั้ง เป็นแค่ค่าแรงทีมงานฉายหนังเท่านั้นครับ เท่ากับจุดละประมาณ 6,000 เองครับ อย่าสร้างความแตกแยกด้วยความเข้าใจผิดเลยครับ"

 

ดราม่า กรุงเทพฯกลางแปลง ใช้งบ 160 ล. ย้อนประวัติ หนังกลางแปลง มีตั้งแต่สมัยใด

 

 

ประวัติความเป็นมาหนังกลางแปลงในประเทศไทยมีขึ้นตั้งแต่เมื่อใด?

 

"หนังกลางแปลง" หรือการฉายภาพยนตร์เริ่มเข้ามาในประเทศไทย หรือ สยาม ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี

 

แต่ด้วยความนิยมการชมภาพยนตร์ที่เพิ่มมากขึ้น บวกกับข้อจำกัดในเรื่องการฉายภาพยนตร์ที่ต้องฉายในสถานที่ปิด เช่น โรงมหรสพ โรงแรม โรงละคร ทำให้คณะหนังเร่เริ่มปรับตัวและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการฉายภาพยนตร์ (ฉายหนัง) เพื่อให้คนดูเข้าถึงได้มากขึ้น จากนั้นจึงกลายเป็นที่มาของการฉาย "หนังกลางแปลง" มหรสพบันเทิงยามค่ำคืนของชาวสยาม

 

ทั้งนี้ "หนังกลางแปลง" หรือที่คนสมัยนั้นรู้จักกันในชื่อของ "หนังขายยา" โดยเป็นการฉายภาพยนตร์ให้ชมฟรี สลับกับการขายสินค้า ซึ่งยุคเฟื่องฟูของหนังกลางแปลงอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2521 - 2535 กระทั่งยุคหลัง พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เนื่องจากมีแผ่น วีซีดี , ดีวีดี โรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ (โรงหนังที่ทันสมัย) หรือแม้แต่การดูหนังผ่านช่องทางออนไลน์ อาทิ เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) จึงทำให้มีการว่าจ้างฉายหนังกลางแปลงลดน้อยลงไปจนหลายเจ้าต้องปิดตัวลง

 

เทศกาล "กรุงเทพฯกลางแปลง" เป็นการจัดฉายหนังกลางแปลงกระจายไปหลายพื้นที่รอบเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตลอดเดือนกรกฎาคม 2565 นี้ ซึ่งสถานจัดฉายหนังได้แก่ ลานคนเมือง , สยามสแควร์ , สวนเบญจกิติ , ตลาดสวนบางแคภิรมย์ , สวนรถไฟ , สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยในแต่ละสัปดาห์ตลอดเดือนกรกฎาคมจะมีการฉายหนังกลางแปลงให้ชมฟรี 2 จุด แต่ละจุดจะฉายหนังเพียงวันละ 1 เรื่องเท่านั้น

 

สำหรับโปรแกรมฉายหนัง "กรุงเทพฯกลางแปลง" มีดังนี้

 

วันที่ 7-9 กรกฎาคม 2565

  • สถานที่ : ลานคนเมือง
  • ภาพยนตร์ : 2499 อันธพาลครองเมือง , เวลาในขวดแก้ว , แพรดำ

 

  • สถานที่ : TDPK
  • ภาพยนตร์ : รถไฟฟ้ามาหานะเธอ , 36 , แม่นาคพระโขนง (2502)

 

วันที่ 14-16 กรกฎาคม 2565

 

  • สถานที่ : ศูนย์เยาวชนคลองเตย
  • ภาพยนตร์ : RRR , มนต์รักทรานซิสเตอร์ , บุญชูผู้น่ารัก

 

  • สถานที่ : สวนรถไฟ
  • ภาพยนตร์ : 4Kings , Portrait of a Lady on Fire , One for the Road วันสุดท้ายก่อนบายเธอ

 

วันที่ 21-23 กรกฎาคม 2565

 

  • สถานที่ : สวนเบญจกิติ
  • ภาพยนตร์ : มหานคร , อนธการ , Wheel of Fortune and Fantasy

 

  • สถานที่ : ตลาดสวนบางแคภิรมย์
  • ภาพยนตร์ : Fast and Furious , ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ , เพื่อนสนิท

 

วันที่ 28-30 กรกฎาคม 2565

 

  • สถานที่ : Block I สยามสแควร์
  • ภาพยนตร์ : รักแห่งสยาม , Season Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย , สยามสแควร์

 

  • สถานที่ : สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
  • ภาพยนตร์ : คู่กรรม , พี่นาค , มือปืน

 

วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 (วันสุดท้าย)

 

  • สถานที่ : สวนครูองุ่น
  • ภาพยนตร์ : School Town King

 

  • สถานที่ : สุขุมวิท 31
  • ภาพยนตร์ : One for the Road วันสุดท้ายก่อนบายเธอ

 

ดราม่า กรุงเทพฯกลางแปลง ใช้งบ 160 ล. ย้อนประวัติ หนังกลางแปลง มีตั้งแต่สมัยใด