"แทน- ธารณ ลิปตพัลลภ" จากความชอบในเพลง สู่ธุรกิจค่าย Kicks Records

"แทน- ธารณ ลิปตพัลลภ" จากความชอบในเพลง สู่ธุรกิจค่าย Kicks Records

ถอดความคิดธุรกิจ แทน- "ธารณ ลิปตพัลลภ" หรือ "แทน ลิปตา" ถึงค่ายเพลง Kicks Records ซึ่งต่อยอดความชอบทางดนตรี และการอยากเริ่มต้นธุรกิจ

ทักครัช baby (what’s up) น่าจะเป็นเนื้อเพลงที่คุ้นหูใครต่อใคร เพราะในโซเชียลมีเดีย เช่น ใน Tiktok เพลงนี้เป็นไวรัลที่ถูกใช้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แถมยังมียอดเข้าชมผ่านทาง youtube สูงถึง 80 ล้านวิว ภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น

เจ้าของผลงานเพลงนี่ก็คือ "วงลิปตา" ศิลปินดูโอซึ่งมีสมาชิกประกอบไปด้วย คัทโตะ - อารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุล  และ แทน- ธารณ ลิปตพัลลภ ซึ่งทั้งสองก็ฝากผลงานมากมาย ในแนวเพลงสไตล์ poppy love แบบเนื้อหาที่มีกลิ่นอายของการแอบรัก 

 

สำหรับ แทน ธารณ นอกจากเจ้าตัวจะประสบความสำเร็จกับเพลงที่ทำออกมาแล้ว เขายังมีเรื่องราวที่น่าสนใจในเรื่องการทำธุรกิจ และเมื่อไม่นานมานี้เขาก็ได้ร่วม เสวนาใน หัวข้อ “เมื่อศิลปินเปลี่ยนมาเป็นเจ้าของกิจการค่ายเพลง” จากเวที CMMU Management Talk: From artist to entrepreneur ซึ่งแทน- ธารณ ก็ได้ได้แชร์ประสบการณ์ในเรื่องของการทำธุรกิจค่ายเพลงอย่างน่าสนใจ และ "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ขอบันทึกความคิดนี้ไว้ 

  • ทำไมถึงอยากทำค่ายเพลง ?

ผมคิดว่ามันเป็นความฝันของนักร้องทุกคนที่อยากจะมีค่ายเพลงเป็นของตัวเอง มันก็เหมือนกับกุ๊กที่อยากมีร้านอาหาร  ทุกอาหารที่เราเสิร์ฟเป็นเหมือนอาหารหลักของเรา เมื่อเรามาพูดถึงเรื่องการทำธุรกิจ ธุรกิจร้านอาหารไม่ได้มีเพียงการทำอาหารเพียงอย่างเดียว มีทั้งในเรื่องการจัดร้าน การทำ โปรโมชั่น  มีเรื่องของการตกแต่งร้านอาหาร

เฉกเช่นเดียวกับการทำธุรกิจค่ายเพลงโดยสิ่งแรกที่ต้องทำคือ การทำ music videoโดยเริ่มจากการหาผู้กำกับ โดยเราต้องรู้ว่าเป็นผู้กำกับ สไตล์ไหน รวมไปถึงคนทำปก คนถ่ายรูป ว่าคนไหนที่เหมาะกับเรา เหตุผลก็คือ เราอยากจะให้มันเข้ากับสไตล์เพลงของเรามากที่สุด

อีกสิ่งที่สำคัญเลยก็คือ passion  ธุรกิจที่เราทำอยู่เราชอบมันมากๆแค่นั้นเลย ปัญหาเดียวของผมเลยคือถ้าวันหนึ่งผมหมด passion หรือหมดไฟมีอะไรมากระทบจิตใจที่ทำให้เราไม่อยากทำตรงนี้ด้วยใจมันก็เป็นเรื่องยากที่จะทำได้ แต่ถ้าเราได้ทำสิ่งที่เรารักมันก็ไม่ได้เหนื่อยกับตรงนี้มากแต่ถ้าเราไม่ได้รักทำอะไรเล็กๆน้อยๆเราก็รู้สึกเหนื่อยกับมันได้เหมือนกันครับ

  • Passionในเรื่องของเพลงจนนำมาสู่การทำธุรกิจค่ายเพลงเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

มันเริ่มจากตอนที่เราเรียนมามันมีวิชาที่เรียนมาแล้วเราทำได้ดีอยู่ 2 วิชาเท่านั้นเองจริงๆ คือ ดนตรีกับกีฬา ผมรู้เรื่องพวกนี้ตั้งแต่เด็กเลยครับ ว่าเราเป็นคนที่เรียนไม่เก่งเลย แต่เราเก่งอยู่ 2 เรื่องคือดนตรีกับกีฬาเราเป็นคนที่ไม่เก่งเลขไม่เก่งวิชาการ แต่เมื่อมองความเป็นได้ของ 2 ทางนี้แล้วการที่เราจะทำงานเพื่อเลี้ยงชีพผมมองว่าเรื่องดนตรีผมสามารถทำได้ดีกว่าการเล่นกีฬา

\"แทน- ธารณ ลิปตพัลลภ\" จากความชอบในเพลง สู่ธุรกิจค่าย Kicks Records ภาพจาก Kicks records 

  • จุดเริ่มต้นของการมาเปิดธุรกิจค่ายเพลงคืออะไร?

จริงๆแล้ว คัทโตะ ได้ชวนผมทำค่ายมาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว แต่ผมยังไม่มั่นใจในความสามารถตัวเอง

หลังจากที่ผมได้เรียนรู้มาจนชำนาญแล้ว เมื่อปีที่แล้วเราได้ตระเวณคุยกับหลายๆที่ ว่าเราจะเป็นเครือของค่ายใหญ่ เพื่อที่ว่าจะให้ ความเสี่ยงที่ต้องแบกรับน้อยหน่อย หรือ หาโมเดลอะไรบางอย่างเพื่อให้เราจะได้ไม่ต้องแบกรับทุกอย่างเอง แต่สุดท้ายก็ได้ข้อสรุปเมื่อได้คุยกับ คัทโตะ ว่า ในตอนที่เราเริ่มเราอาจไม่ได้ต้องการอะไรมาก เพราะ ปกติแล้วเราก็ทำอะไรกันเองอยู่แล้ว บวกกับตอนนั้นเป็นช่วงที่โควิดระบาดหนักอยู่แล้วทำให้เราว่างกันมาก ก็เลยรู้สึกว่าเราต้องเริ่มได้แล้ว เพราะ หากรอให้ในวันที่ธุรกิจกลับมาผมไม่มีเวลาแน่นอน ในตอนนั้นได้คุยกับ คัทโตะ ว่าถ้าจะเริ่มขอให้ เจอศิลปินเบอร์แรกก่อน แล้วเราจะเริ่มกันอย่างเต็มที่ มันก็เลยกลายเป็นชื่อค่ายเพลง ชื่อว่า “Kick record”

 ทำไมถึงชื่อ Kick record ?

หลังจากที่เรามีศิลปินคนแรกชื่อ จีเนียส ในตอนนั้นเรายังไม่มีชื่อค่ายกันเลยเราเลยมานั่งคิดกันว่าจะชื่ออะไรดี ก็คุยกัน ผมเป็นคนที่บ้าน Bakery music ส่วนจีเนียสก็พูดขึ้นว่า “พี่ชื่อ Kitchen record” ดิ ผมก็พูดแบบตลกๆ เหมือน Bakery กับ kitchen อะไรอย่างนี้ Kitchen แบบมีตัว c กับ t อยู่ตรงกลางชื่อซึ่งเป็น แทนกับคัทโตะ อะไรอย่างนี้ ผมเลยพูดขึ้นมาว่า “Kitchen มันตลก  เอาคิด แล้วกัน (think)”  คิดเมื่อสะกดเป็นภาษาอังกฤษก็จะเป็น Kid record เหมือนเราเป็นค่ายเพลงแห่งการคิด เวลาเราเขียนเพลง เราใช้ความคิด คัตโตะบอกว่า “คำว่า kid มันดูเด็กไป” คำว่าคิดที่แปลว่าความคิด กับ คำว่า คิด kid ที่แปลว่าเด้ก มันสะกดเหมือนกัน มันก็เลยกลายเป็น kick ที่เหมือน kick start แตะพุ่งไปข้างหน้าจนเกิดเป็น Kicks records

  • อะไรที่ทำให้มั่นใจขึ้นที่กล้าออกมาเปิดค่ายเอง?

ต้องเล่าก่อนว่า  ตั้งแต่ 17-18 ปี เราทำงานที่ค่ายก็จริงแต่เราทำเพลงกันเองทุกขั้นตอน โดยมีพี่บอย โกสิยพงศ์ เป็นคนช่วยดูแลชี้แนะบางอย่าง จนเกิดเป็นการสะสมประสบการณ์  10 ปีแรกเมื่อเราทำเพลงตัวเองได้ดีแล้ว ผ่านไป 10 ปี ก็รับงานเบื้องหลังเยอะขึ้น โดย เริ่มจากการเป็น producer เป็นคนเขียนเพลงเบื้องหลังให้กับคนอื่นในวันนั้นเราได้ไปทำกับ อิ้ง วรันธร ซึ่งวันนั้นคนไม่ได้ รู้จักอิ้งกันมาก ในตอนนั้นอิ้งมีเพลงดังประมาณ 1-2 เพลง และอยู่กับ อิ้ง 4 ปี จนอิ้ง success มากๆ เราก็เลยโอเคมั่นใจขึ้น  จนเราได้รู้ว่าสามารถทำให้คนอื่นประสบความสำเร็จได้ เหมือนเราได้เจอจุดอะไรบางอย่าง เหมือนเป็นลายเซ็นต์ของเรา หลังจากนั้นก็ได้ทำงานร่วมกับศิลปินมากขึ้น หลังจากนั้นทุกคนก็ได้เห็น ไสตล์การทำเพลงของเราที่ชัดเจน ความเป็นตัว เรา ความเป็น lipta  ก็ไม่ได้ต่างกันมาก Branding marketing ชัดเจนว่าถ้าให้ผมทำเพลงมันจะเป็นอย่างไร 

  • ได้ยินว่าเปิดค่ายเพลงกับคัทโตะ 2 คน การทำธุรกิจกับเพื่อนคิดว่าเป็นอย่างไรบ้าง?

ผมขอพูดเลย คือ จริงๆมันก็เป็นโชคของผม ในเรื่องของ partner ธุรกิจเพราะว่า ลิปตาเนี่ย chapter ของมันคือ 18 ปี นั่นก็คือ chapter แรก และ  chapter ถัดไปที่เราจะทำค่ายเพลง ความโชคดีคือ ผมทำงานกับคัทโตะแล้ว ไม่ได้มีปัญหาอะไรกัน และ ยังพร้อมที่จะทำไปด้วยกันคัทโตะมีสิ่งที่ผมขาด และ ผมมีสิ่งที่คัทโตะขาดเหมือนกัน มันทำให้เราทำงานด้วยกันได้และมันไม่ค่อยมีปัญหากันเท่าไรคุยกันเยอะ ทะเลาะกันเยอะ อันนี้สำคัญมากในเรื่องของการทำธุรกิจนะครับ

ผมโชคดีมากที่ในที่ประชุมเคาะกัน 2 คน หมายความว่า ถ้ามีเรื่องอะไรที่ต้องตัดสินใจ เราสามารถยกหู คุยกันภายใน 5 นาทีจบได้เลย ดังนั้นผมจึงชอบ Workflow ที่เกิดขึ้นมากๆ

ธุรกิจค่ายเพลงสร้างรายได้ให้กับเราได้อย่างไร?

ค่ายเพลงสิ่งที่ simple ทีุ่สดก็คือ ทำผลงานเพลง ถามว่ารายได้ค่ายเพลงเกิดจากอะไรบ้าง มันก็เกิดจาก 4 ข้อ ข้อแรก คือ การปล่อยเพลงจากศิลปินในค่ายไปในแต่ละแพลทฟอร์ม เช่น Youtube Joox Apple Music หรือ Spotify ส่วนข้อที่สอง คือ การเล่นคอนเสิร์ตของศิลปินในค่าย โดยเราได้มีการหักเป็นเปอร์เซ็นต์จากการไปเล่นคอนเสิร์ตในแต่ละครั้ง ข้อที่สามคือ พรีเซ็นเตอร์ สินค้า ส่วนข้อสุดท้ายคือค่าลิขสิทธิ์ผลงานเพลง

  • ในมุมมองการทำธุรกิจคิดว่าเพลงทักครับ ประสบความสำเร็จได้อย่างไร

ดนตรีกับ แฟชั่น เป็นสิ่งที่คล้ายกันมาก ความเป็นเทรน ตอนนี้อะไรกำลังเป็นที่นิยม คำถามคือ การที่เราจะปล่อยเพลงเรื่อง Marketing สำคัญมากครับ เพราะว่าตอนนี้ทุกสิ่งทุกอย่างหมุนเร็วมาก เพลงแบบเราทำแบบนี้เวิร์คปีต่อมาเราทำผลลัพธ์อาจออกมาไม่เหมือนกัน คราวนี้เรื่องแนวเพลง branding หรือ ความเชื่อของศิลปิน ความเชื่อของศิลปินคือ สมมุติปีนี้เพลงแนวนี้ฮิตมากๆ  มันต้องดังแน่ๆ ตอนนี้ Tiktok ผมให้เป็น platform อันดับหนึ่ง ในเรื่องของ music marketing คราวนี้เพลงแนว Tiktok

อย่างเช่น ลิปตาเราทำเพลงแบบpopy love มาเป็นเวลา 10 ปีกว่าอยู่แล้วเพราะฉนั้นในวันที่เพลงแนวนี้กำลังติดเทรนเราทำเพลงแบบนี้ ซึ่งมันค่อนข้างเหมาะกับ Tiktok มันเหมือนเทรนที่มันมาเข้ากันทันทีเพลงทักครับมันก็เลยเกิดเป็นไวรัลมันก็เลยเกิดเป็นเพลงฮิต

ผมไม่ได้เปลี่ยนตัวเองผมทำเหมือนเดิม Marketing ไม่มีอะไรอย่างเดียวที่ผมเปลี่ยนคือ ต้องเต้น ผมเป็นคนเต้นห่วยแตกมากผมเลยจ่ายเงินค่าคิดท่าเต้นผมจ้างนักคิดท่าเต้น โดยมีคอนเซ็ปต์ว่าทำท่าเต้นอย่างไรก็ได้ที่ทำให้คนที่เต้นห่วยๆอย่างผมกับคัทโตะสามารถเต้นได้อันนี้คือสิ่งที่บังคับ เพราะฉนั้นทุกอย่างคล้ายกันคือ Branding marketing ความเชื่อศิลปินของสินค้านั้น สินค้านั้นก็คือ ลิปตา ก็เลยประจวบเหมาะและมันพอดีกับสิ่งที่เป็นอยู่มันก็เลยกลายเป็นเพลงฮิตครับ

อยากจะฝากอะไรถึงผู้ที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจบ้าง?

จะทำธุรกิจอะไรก็ได้ไม่มีปัญหาเลย อย่างแรกเลยเราจะต้องรู้ 0 ถึง 10 ของธุรกิจนั้นๆก่อนอย่างแรก อยากจะให้รู้เยอะที่สุดเท่าที่รู้ได้ มันเหมือนเราเอาหัวใจไปอยู่ตรงนั้นสิ่งดีสิ่งไม่ดี เราต้องอยู่กับมันการที่เราจะอยู่กับมันได้เราก็ต้องอินกับมัน การทำธุรกิจมันก็เหมือนการทำชีวิตคู่นั่นแหละครับ มีทั้งเรื่อง Happy แล้วก็ปวดหัว เป็นธรรมดาครับ

การที่เห็นคนอื่นทำโน่นทำนี่แล้วประสบความสำเร็จแล้วเราทำตามแต่ยังไม่ได้ศึกษามันก็ไม่ดีครับ ถ้าอยากทำอะไรก็อยากให้มีความรู้ให้เยอะที่สุดก่อนผมว่านะจะลดความเสี่ยงได้ดีที่สุดครับ สุดท้ายก็พยายามแบ่งเวลาให้ดีครับ งานคือทุกอย่างแต่ก็ไม่ใช่ทุกอย่างเหมือนกันครับ

ที่มา : CMMU Management Talk: From artist to entrepreneur