บทสวดมนต์ เสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเอง 'วันมาฆบูชา 2567’
บทสวดมนต์ เสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตใน "วันมาฆบูชา 2567" วันสำคัญทางศาสนา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระภิกษุจำนวน 1,250 รูป
"วันมาฆบูชา 2567" ตรงกับวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสี่ (4) เป็นวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "จาตุรงคสันนิบาต" ที่แปลความได้ว่า การประชุมด้วยองค์ 4 เกิดขึ้น ได้แก่
1. เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผู้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุกๆ องค์
4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ
"วันมาฆบูชา" มีความสำคัญ คือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถแสดงธรรมที่เรียกว่า "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งถือกันว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ในที่ประชุมสงฆ์ โดยย่อ ได้แก่ การไม่ทำบาปทั้งปวง ,การทำกุศลให้ถึงพร้อม ,การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ซึ่งทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงได้รวบรวมคาถา บทสวดมนต์ ที่สามารถสวดด้วยตนเองที่บ้านมาแนะนำ ดังนี้
บทที่ 1 คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามิ
บทที่ 2 บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
บทที่ 3 นมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)
บทที่ 4 บทสวดไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
บทที่ 5 บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย (ให้อานิสงส์ในทุกๆ เรื่อง)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (พุทธคุณ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (อ่านว่า วิญญูฮีติ) (ธรรมคุณ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (สังฆคุณ)
บทที่ 6 บทพุทธชัยมงคลคาถา (ชนะอุปสรรคทั้งปวง)
พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
นาฬาคิริง คะชะวะรังอะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง (อ่านว่า พรัมมัง) วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โยวาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะ เนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
(* หากสวดให้ผู้อื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต)
บทที่ 7 บทสวดมนต์ วันมาฆบูชา
(หันทะ มะยัง มาฆะปะณามะคาถาโย ภะณามะเสฯ)
มาฏะนักขัตตะยุตตายะ ปุณณายะปุณณะมายัง โย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา โคตะโมหะโย
สุทธานันตะทะยาญาโณ สัตถา โลเก อะนุตตโร
วิหะรันโต ราชะคะเห มาฆะทานัง ศีริพภะเย
วิหาเร เวฬุวะนัมหิ กะลันทะกะนิวาปิเย
สังฆัสสะ สันนิปาตัมหิ อุตตะเม จะตุรังคิเก
อัฑฒะเตระสะสะหัสเสหิ ภิกขูหิ ปริวาริโต
ตีหิ คาถาหิ สังขิปปัง สัพพัง พุทธานะสาสะนัง
สะโมสาเรหิ โอวาทัง ปาฏิโมกขัง อนุตตะรัง
สะเมวัมภูตะสัมพุทธัง สักขีณาสะวะสาวะกัง
จิระการะมะตี ตัมปิ ปสาเทนะ อนุตตะรัง
อยัมปิ ปะริสา สัพพา ปสันนา ธัมมะคามินี
สัมปัตตาตาทิสักการัง สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
ทีปะฑูปาทิสักกาเร อะภิสัชชิ ยะถาผะลัง
เตหิ ปูเชตะเวหัตถะ ตุฏฐา อิธะ สะมาคะตา
อภิวันทะติ ปุเชติ ภะคะวันตัง สะสาวะกัง
กาเลนะ สัมมุขีภูตัง อตีตารัมมะนัตตะนา
โอสาเรนตัง ปาฏิโมกขัง วิสุทธักขะมุโปสะเถ
อิโตชะเน สุปุญเญนะ โสตถี โหนตุ สะทาปิ โน
สาสะนัง สัตถุ อัมหากัง จีรัง ติฏฐตุ ตาทิโน....ติ
บทที่ 8 คาถาโพธิบาท
บูระพารัส๎มิง พระพุทธะคุณัง
บูระพารัส๎มิง พระธัมเมตัง
บูระพารัส๎มิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
หมายเหตุ เที่ยวต่อไปเปลี่ยนที่ตัวหนาเป็น.. อาคะเนยรัส๎มิง - ทักษิณรัส๎มิง - หรดีรัส๎มิง -
ปัจจิมรัส๎มิง - พายัพรัส๎มิง - อุดรรัส๎มิง - อิสานรัส๎มิง - อากาสรัส๎มิง - ปะฐะวีรัส๎มิง นอกนั้นเหมือนกันหมด
บทที่ 9 คาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ
อิมัส๎มิง มงคลจักรวาฬ ทั้งแปดทิศ
ประสิทธิ จงมาเป็น กำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกัน
ห้อมล้อมรอบครอบ ทั่วอนัตตา ราชะเสมานาเขตเต สะมันตา
สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ พุทธะ ชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
หมายเหตุ เที่ยวต่อไปเปลี่ยนที่ตัวหนาเป็น.. ธัมมะ - ปัจเจกะพุทธะ - สังฆะ นอกนั้นเหมือนกันหมด
บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
คำแผ่เมตตาบทใหญ่
อิทัง โน ปุญญะภาคัง ราชาทีนัญเจวะ อิสสะรานัง มาตาปิตุอาทีนัญจะ ปิยะชะนานัง สัพพะสัตตานัญจะ นิยยาเทมะฯ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย,ขอน้อมกุศลถวาย,เป็นพระราชกุศล,แด่อิสระชน,บุคคลผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย,มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ,ผู้เป็นพระประมุขของชาติ ,สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี,พระบรมวงศานุวงศ์,สมเด็จพระสังฆราช,ผู้เป็นประมุขของคณะสงฆ์ พร้อมทั้งคณะรัฐบาล ผู้บริหารประเทศเป็นต้น
ขอแผ่ส่วนบุญกุศลนี้ ให้แก่ปิยชน บุคคลผู้เป็นที่รักทั้งหลาย มีบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ ท่านผู้มีบุญคุณทุกๆ ท่าน เจ้ากรรมนายเวร ภูตผีปีศาจทั้งหลาย เปรตทั้งหลาย เทพบุตรเทพธิดาทุกๆ องค์ พระภิกษุสามเณรทุกๆ รูป และท่านผู้ปฏิบัติธรรมทุกๆ คน ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกถ้วยหน้าทุกตัวตน ทุกชาติชั้นวรรณะ ทุกศาสนาทุกภาษา ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมแห่งโลก ทั้งเป็นประมาณและไม่เป็นประมาณ ที่เกิดในชลาพุชะก็ดี อัณฑชะก็ดี สังเสทชะก็ดี โอปปาติกะก็ดี ที่อยู่ในทิศบูรพา ทิศอาคเนย์ ทิศทักษิณ ทิศหรดี ทิศปัจฉิม ทิศพายัพ ทิศอุดร ทิศอีสาน ทิศเบื้องบน ตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมาก็ดี ทิศเบื้องล่าง ตั้งแต่โลกันตมหานรกขึ้นมาก็ดี โดยส่วนสุดรอบ สุดขอบจักวาล มีอนันตจักรวาลเป็นที่สุด
สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคิโน โหนตุฯ ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีส่วน และอนุโมทนาบุญ ร่วมกับข้าพเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายที่ท่านถึงทุกข์ขอให้พ้นจากความทุกข์ ที่ถึงสุขอยู่แล้ว ขอให้มีความสุขยิ่งๆขึ้นไป
ด้วยกุศลจริยา สัมมาปฏิบัติ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้วนี้ จงมารวมกันเป็นตะบะ เป็นเดชะ เป็นพลวะปัจจัย เป็นอุปนิสัยตามส่ง ให้ข้าพเจ้าเกิดสติปัญญาญาณ ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพานเทอญฯ
คำนำถวายดอกไม้ธูปเทียน “วันมาฆบูชา”
อัชชายัง มาฆะปุณณะมี สัมปัตตา มาฆะนักขัตเตนะ ปุณณะจันโท ยุตโต ยัตถะ ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ จาตุรังคิเก สาวะกะสันนิปาเต โอวาทะปาติโมกขัง อุททิสิ ตะทา หิ อัทฒะเตระสานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง สัพเพ เต เอหิภิกขุกา สัพเพปิ เต อะนามันติตาวะ ภะคะวะโต สันติกัง อาคะตา เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป มาฆะปุณณะมิยัง วัฑฒะมานะกัจฉายายะ ตัสมิญจะ สันนิปาเต ภะคะวา วิสุทธุโปสะถัง อะกาสิ อะยัง อัมหากัง ภะคะวะโต เอโกเยวะ สาวะกะสันนิปาโต อะโหสิ จาตุรังคิโก อัฑฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง มะยันทานิ อิมัง มาฆะปุณณะมี นักขัตตะสะมะยัง ตักกาละสะทิสัง สัมปัตตา จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะระมานา อิมัสมิง ตัสสะ ภะคะวะโต สักขิภูเต เจติเย อิเมหิ ทีปะธูปะปุปผาทิสักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง ตานิ จะ อัฑฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ อะภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สะสาวะกะสังโฆ สุจิระปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโน อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ